สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

Glass

ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นการรวบรวม และจัดทำของแผนกพัฒนาอุตสาหกรรม  ร่วมกับ ฝ่ายพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน  ศูนย์ทดสอบ วิจัย  พัฒนา  สถาบันยานยนต์ ภายใต้โครงการสารสนเทศยานยนต์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม   กระทรวงอุตสาหกรรม 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ข้อมูลด้านกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์  ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
สถาบันยานยนต์ จึงขอขอบคุณเว็บไซต์ และเจ้าของข้อมูลทุกๆ ข้อมูล ที่ได้นำมาจัดทำ
เป็นข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ ณ ที่นี้ ด้วย

 

  

(2) กระบวนการผลิตกระจกรถยนต์                           

 

กระจกหน้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 3 ชนิด โดยมีคุณภาพและคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้

 

กระจก Tempered โดยทั่วไปที่ใช้ทำกระจกบังลมหน้าจะมีความหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร หรือรถบางรุ่นที่มีเจตนาลดเสียงลมปะทะและเสียงก้องของกระจกหน้า ก็อาจมีการใช้กระจกหนาขึ้นกว่านี้อีกเล็กน้อย กระจกแบบ Tempered จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

 

1. Zone-Tempered คุณสมบัติของกระจกประเภทนี้ คือ เวลาเกิดเรื่องทำให้กระจกหน้าแตกขึ้นมาตรงไหนก็แล้วแต่ มันจะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยลามไปทั้งบาน โดยมีลักษณะการแตกแบ่งเป็นบริเวณต่างกัน แถวตอนล่าง แถวตอนกลางกระจกจะแตกเป็นผลึกหรือเม็ดโตหน่อยพอจะอาศัยมองเส้นทางได้บ้างแม้จะไม่ชัดเจนนัก ส่วนบริเวณแถวขอบกระจกจะแตกออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดย่อม มักนิยมใช้กระจกประเภทนี้ทำเป็นกระจกบังลมหน้า


2. Full-Tempered มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน คือ เวลาแตกมันจะลามไปทั้งบาน โดยมีความแตกต่างกันตรงเวลาแตกแล้วจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ทั่วทั้งแผ่น ซึ่งจะออกแบบมาไม่ให้เม็ดกระจกเหล่านี้มีความแหลมคม เพื่อไม่สร้างอันตรายต่อผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร อย่างไรก็ตาม ไม่ควรประมาท เพราะถึงมันจะไม่แหลมก็จริง แต่ในเรื่องความคมยังพอจะบาดได้เหมือนกันในบางเหลี่ยมมุม

 

กระจกแบบ Laminate โดยทั่วไปแล้วจะมีความหนาประมาณ 6 มิลลิเมตร (กระจกกันกระสุดนั้นไม่เกี่ยว) หนากว่าพวกกระจกแบบ Tempered นิดหน่อย กระจกแบบ Laminated ได้รับการพัฒนามาจากกระจกแบบ Tempered มีกระบวนการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า โดยการรีดกระจกออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วจับเอามาประกบกัน ซึ่งมีแผ่นฟิล์มใสทำจาก "ไวนิล" นอกจากนี้ยามที่เกิดอุบัติเหตุ กระจกจะแตกร้าวเป็นเส้นเฉพาะบริเวณที่เกิดเรื่องเท่านั้น ไม่ร้าวฉานไปทั้งแผ่นแบบกระจก Tempered รวมทั้งจุดที่กระจกแตกยังสามารถป้องกันลมและฝนไม่ให้ซึมเข้ามาภายในได้ จึงยังสามารถใช้งานและขับขี่ต่อไปได้อย่างสบาย โดยทั่วไปกระจกแบบ Laminated จะมีอายุการใช้งานได้ทนทานและยาวนาน อย่างไรก็ตามมันก็มีการเสื่อมหรือเริ่มหมดอายุเหมือนกัน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นฝ้าตามขอบและมุมกระจก

 

กระบวนการผลิต Tempered  Glass

 

 

 


ขั้นตอนที่ คำอธิบายกระบวนการผลิต ขั้นตอนที่ คำอธิบายกระบวนการผลิต

A

Loading of raw glass

นำกระจกแผ่นแก้วเข้า

H

Inspection

ตรวจสอบ

B

Marking up and cutting

ทำการตัด

I

Packing

บรรจุหีบห่อ

C

Beveling

ทำการเจียรให้เข้ารูป

J

Shipment

ขนส่ง

D

Hold Punching

เจาะรู

 

 

E

Washing

ล้างทำความสะอาด

 

 

F

Printing

การพิมพ์ LOGO

   
G

Molding / tempering

อบแทมเปอร์ หรือ อบที่อุณหภูมิ 650

ถึง 700 องศาเซลเซียล เพื่อความ

แข็งแรง

 

 

กระบวนการผลิต Laminated Glass

 

ขั้นตอนที่ คำอธิบายกระบวนการผลิต ขั้นตอนที่ คำอธิบายกระบวนการผลิต

A

Loading of raw glass

นำกระจกแผ่นแก้วเข้า

G

Washing

ล้างทำความสะอาด

B

Marking up and cutting

ทำการตัด

H

Lay Up

ประกบกระจก 2 แผ่นเข้ากับฟิล์ม ดูดอากาศออก

C

Beveling

ทำการเจียรให้เข้ารูป

I

Autoclave

อบด้วยความร้อน

D

Washing

ล้างทำความสะอาด

J

Inspection

ตรวจสอบ

E

Forming (bending furnace)

ขึ้นรูป ดัดโค้งโดยผ่านเตาความร้อน

K

Packing

บรรจุหีบห่อ

F

Printing

การพิมพ์ (Logo)

L

Shipment

ขนส่ง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.agc-automotive.com/

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th