สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

       การขึ้นเรือน (Mounting)
       การทำเรือนหุ้มชิ้นงานด้วยเรซิ่น มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อความสะดวกในการจับถือ และการเตรียมชิ้นงานในขั้นตอนต่างๆก็จะสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
จะขึ้นเรือนร้อนหรือเย็นดี

 

       1. การขึ้นเรือนแบบร้อน (Hot mounting) เรซิ่นจะถูกอัดด้วยแรงกดสูง และความร้อน จนแข็งรอบตัวชิ้นงานเรซิ่นที่ใช้มีอยู่ 2 ประเภทคือ
          1. เทอร์โมเซทติ้งเรซิ่น (Thermosetting resins) เป็นเรซิ่นที่หลอมตัวภายใต้ความดันและอุณหภูมิ ที่สูงขึ้น บางครั้งเราเรียกว่า Duroplastics
          2. เทอร์โมพลาสติกเรซิ่น (Thermoplastic resins) เป็นเรซิ่นที่หลอมตัวภายใต้อุณหภูมิที่สูงและจะ แข็งตัวเมื่อเย็นลง ถึงแม้เทอร์โมเซทติ้งเรซิ่นจะสามารถเอาออกมาจากเครื่อง mount ที่อุณหภูมิสูง ได้ก็ตาม แต่ก็ควรรอให้เย็นลงจนถึงอุณหภูมิห้องเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการหดตัวน้อยที่สุดและ คงสภาพระหว่างเรซิ่นกับชิ้นงานเอาใว้



       2. การขึ้นเรือนแบบเย็น (Cold mounting) ชิ้นงานจะถูกวางในแบบหล่อ แล้วจึงเทเรซิ่นซึ่งจะผสมสาร 2-3 ชนิดตามอัตราส่วนน้ำหนักหรือ ปริมาณที่กำหนดกวนจนเป็นเนื้อเดียวกันจากนั้นค่อยเทใส่แบบ Cold mounting มีอยู่ 3 ชนิดคือ
          1. อีป๊อกซี (Epoxy) มีการหดตัวต่ำสุดระยะเวลาในการเซทตัวนาน แต่มีแรงยึดเกาะระหว่างชิ้นงาน กับเรซิ่นดีมาก สามารถใช้กับระบบสูญญากาศได้ เมื่อแข็งตัวแล้วจะเป็น Duroplastic
          2. อะครีลิค (Acrylic) มีความสะดวกในการใช้งานเวลาในการเซทตัวและหดตัวน้อย จะแข็งตัวโดย การเติมสารทำให้แข็งตัว และเมื่อแข็งตัวแล้วจะเป็น Thermoplastic และทนสารเคมี
          3. โพลีเอสเตอร์ (Polyester) มีลักษณะคล้ายๆอะครีลิค แต่เวลาในการแข็งตัวน้อยเมื่อแข็งตัวแล้วจะ เป็น Duroplastic

 

       การเลือกเทคนิคในการขึ้นเรือน
       1. Hot mounting เหมาะกับงานที่มีจำนวนมากและต้องการคุณภาพสูง ขนาดและรูปร่างแน่นอน อีกทั้งใช้เวลาในการ mount สั้นอีกด้วย
       2. Cold mounting เหมาะกับชิ้นงานที่มีรูพรุน มีความอ่อนมากๆ ชิ้นงานที่ไม่ทนต่อความร้อน ไม่ทนต่อแรงดัน อีกทั้งชิ้นงานจะไม่เป็นอันตรายอันเนื่องจากสารเคมี
       3. โพลีเอสเตอร์ (Polyester) มีลักษณะคล้ายๆอะครีลิค แต่เวลาในการแข็งตัวน้อย เมื่อแข็งตัวแล้วจะ เป็น Duroplastic

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th