Apparent Efficiency (ประสิทธิผลผิวเผิน)
Apparent Efficiency หมาย ถึง ขีดความสามารถในการผลิตชิ้นงานภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ แต่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของลูกค้าหรือตลาด เพียงแต่ดูขีดความสามารถของตนว่าเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ถึงก็ต้องทำการเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ 100%
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งได้กำหนดนโยบายประจำปีของบริษัท ว่าจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของบริษัทตนเองให้ได้ 20 % ดัง นั้นผู้จัดการฝ่ายผลิตจึงได้กำหนดให้หัวหน้าสายการผลิตแต่ละสายการผลิต รณรงค์เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในหน่วยงานของตน ให้ได้ตามนโยบายของบริษัท วันหนึ่งหัวหน้าสายการผลิตได้เข้ามาแจ้งให้ผู้จัดการฝ่ายผลิตทราบว่า หน่วยงานของตนได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตตามนโยบายของบริษัทคือ เพิ่มขึ้น 20 % จากเดิมที่พนักงาน 10 คน สามารถผลิตชิ้นงานได้วันละ 100 ชิ้น ปรับปรุงให้พนักงาน 5 คน สามารถผลิตชิ้นงานได้วันละ 120 ชิ้น ซึ่งเมื่อดูประสิทธิภาพการผลิตของสายการผลิตนี้จะเห็นได้ว่าสายการผลิตนี้ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ 20 % ซึ่งเป็นไปตามที่นโยบายของบริษัทต้องการ
แต่ถ้านำความต้องการสินค้าของลูกค้าในแต่ละวันมาร่วมพิจารณาด้วย เช่น ในแต่ละวันลูกค้าต้องการสินค้าจำนวน 100 ชิ้น จะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพในการผลิตที่สายการผลิตนั้นเพิ่มขึ้นมาได้ไม่ได้สอด คล้องกับความต้องการของลูกค้าเลย นั่นคือ ถ้าทำการเพิ่มประสิทธิภาพได้ตามที่หัวหน้าสายการผลิตนั่นแจ้งให้ผู้จัดการ ฝ่ายผลิตทราบนั้นจะทำให้ในแต่ละวันจะมีการผลิตเกินความต้องการของลูกค้า จำนวน 20 ชิ้น ซึ่งเปรียบได้กับความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น โดยความสูญเปล่าที่มีการผลิตเกินความต้องการของลูกค้านี้ ถือได้ว่าเป็นความสูญเปล่าตัวสำคัญที่ต้องรีบทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นเพียงประสิทธิภาพผิวเผิน ไม่ได้เป็นประสิทธิภาพอย่างแท้จริงที่บริษัทต้องการ