สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

       Kaizen (ไคเซ็น)

       ไคเซ็น มาจากภาษาญี่ปุ่น ??(Kaizen) โดย Kai มีความหมายว่าต่อเนื่อง และ Zen มีความหมายว่าการปรับปรุงหรือการทำให้ดีขึ้น ดังนั้นเมื่อนำคำทั้งสองมารวมกัน จะได้เป็น Continuous Improvement คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

       ไค เซ็น เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ หัวใจสำคัญอยู่ที่ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด (Continuous Improvement)

 

       สำหรับบริษัทโตโยต้านั้น ไคเซ็นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของวิถีของโตโยต้า ซึ่งจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโตโยต้า ดังรูปข้างล่าง นั่นคือ ไคเซ็นจะเป็นการต่อขั้นบันไดมาตรฐานคุณภาพให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด และในการปรับปรุงแต่ละครั้ง จะต้องมีการตรวจสอบจนมั่นใจ จนยอมรับเป็นมาตรฐานได้ (standardization) หลังจากนั้น ก็ปรับปรุงรอบต่อไป (ด้วยวง PDCA) เพื่อยกระดับของมาตรฐานนั้นขึ้นไปอีก และทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสที่จะค้นพบนวัตกรรมใหม่

 

image_284

 

       อีกจุดหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ในการไคเซ็นของโตโยต้าคือ การถ่ายทอดความรู้ และ เผยแพร่แนวความคิดดี ๆ ไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ขององค์กรหรือที่เรียกว่า Yokoten

 

       ส่วนบริษัทที่ยังไม่ได้เริ่มทำไคเซ็น หรือ ไม่รู้จะหาหัวข้อไคเซ็นจากไหน สามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการค้นหาสิ่งผิดปกติจากความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นรอบ ๆ บริเวณที่ตัวเราเองคุ้นเคยในชีวิตประจำวันซึ่งเรารู้สึกได้เองนั่นคือ กำจัด 3MU ประกอบไปด้วย MUDA (ความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ), MURA (ความไม่แน่นอนหรือความไม่สม่ำเสมอ) และ MURI (เกินกำลัง) ซึ่งจะส่งผลให้
         1. เพิ่มยอดขายและความพึงพอใจให้กับลูกค้า
         2. ต้นทุนการผลิตต่ำจากการทำงานลดลงของการทำงานซ้ำและเกิน งานสูญเปล่าลดของเสีย ลดพลังงาน
         3. การปรับปรุงหรือคงรักษาระดับคุณภาพ
         4. การทำงานเข้าใจง่ายทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานและปลอดภัย
         5. พนักงานมีโอกาสได้แสดงความสามารถของตนเอง

 

       แหล่งที่มา : เทคโนโลยีการผลิต / สถาบันยานยนต์

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th