สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

       Material & Information Flow Chart: MIFC

       เป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการผลิตโดยศึกษาการไหลของวัตถุดิบและ ข้อมูลในระบบการผลิต เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงระบบการผลิตให้เป็นการผลิตแบบดึงซึ่งเป็นระบบที่ ผลิตสินค้าที่ต้องการ ตามจำนวนที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ เป็นระบบการผลิตที่ป้องกันการผลิตมากเกินไป ซึ่งมีข้อดีในเรื่องของการลดความสูญเปล่าในเรื่องของการผลิตมากเกินไป ซึ่งนำไปสู่การเก็บสินค้าคงคลังที่มากเกินไป และความสูญเปล่าตัวอื่น ๆ

 

       การปรับปรุงระบบการผลิตให้เป็นการผลิตแบบดึงจะทำให้ Total Lead time ซึ่งรวมเอาเวลาของข้อมูล เวลาในการผลิต เวลาในการจัดเก็บสินค้าสั้นลง เนื่องจากการนำ Kanban มาใช้สื่อสารความต้องการของลูกค้าไปยังสายการผลิตได้โดยตรง มีการปรับปรุงลด Lead Time ในการผลิตด้วยการทำกระบวนการผลิตให้ไหลอย่างต่อเนื่อง และมีการคำนวณระดับคลังสินค้าที่เหมาะสมและผลิตแบบเติมเต็มซึ่งจะผลิตเฉพาะ สินค้าที่ถูกดึงไปเท่านั้นส่งผลให้ Lead Time รวมลดลงในที่สุด

 

       การเขียน MIFC เริ่มจากการศึกษาการไหลของข้อมูล (แสดงโดยเส้นประ) โดยเริ่มพิจารณาจากข้อมูลที่ลูกค้าส่งมาให้ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ความถี่ในการส่ง รูปแบบที่ส่งเป็นอย่างไร โดยจะแสดงด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้ผู้ที่อ่าน MIFC สามารถเข้าใจได้ตรงกัน จากข้อมูลของลูกค้าจะพิจารณาต่อว่าหน่วยงานใดในองค์กรเป็นผู้รับข้อมูล แล้วมีกระบวนการแปลงข้อมูลนั้นเป็นเอกสารที่ใช้ภายในอย่างไร มีเอกสารกี่ประเภท ระยะเวลาที่ใช้ในการแปลงข้อมูล

 

       จากนั้นจะพิจารณาเส้นทางของข้อมูลว่าถูกส่งไปยังหน่วยงานใดบ้างและแต่ละหน่วย งานมีกระบวนการอย่างไร ใช้ระยะเวลาเท่าไรจนกระทั่งข้อมูลลูกค้าถูกแปลงเป็นคำสั่งในการผลิตและคำ สั่งในการจัดส่ง

 

       หลังจากนั้นจะเป็นช่วงของการไหลของวัตถุดิบซึ่งแสดงด้วยเส้นทึบ เมื่อได้รับคำสั่งในการจัดส่ง และคำสั่งผลิตจะมีการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบผ่านกระบวนการต่าง ๆ จนไปสิ้นสุดที่การส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าในกรณีที่เป็นข้อมูลคำสั่งในการจัด ส่ง และสิ้นสุดที่สโตร์ในกรณีที่เป็นข้อมูลคำสั่งผลิต

 

       ในการเขียน MIFC วิเคราะห์สภาพปัจจุบันจะพบจุดที่เกิดการหยุดนิ่ง (Stagnation Point) ของข้อมูลและวัตถุดิบซึ่งจุดเหล่านี้ส่งผลให้ Lead time รวมยาวนาน ดังนั้นในการปรับปรุงจะต้องหาวิธีการสื่อสารข้อมูล การผลิต และการจัดเก็บที่เหมาะสมเพื่อลดจุดหยุดนิ่งเหล่านี้ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลด Lead time รวมได้ในที่สุด

image_282-2

 

       ระบบการผลิตของโรงงานโดยทั่วไปเป็นระบบการผลิตแบบผลัก กล่าวคือมีการสั่งการผลิตประจำวันโดยใช้แผนการผลิต ซึ่งทุกหน่วยงานจะได้รับข้อมูลแตกต่างกันไป แต่ละหน่วยงานจะทำการผลิตโดยยึดตามแผนแต่จะไม่สนใจว่ากระบวนการถัดไปซึ่งก็ คือลูกค้ามีความต้องการชิ้นงานนั้นจริงหรือไม่ เมื่อผลิตได้ตามแผนก็จะผลักงานเหล่านั้นไปให้กระบวนการถัดไป ซึ่งการผลิตลักษณะนี้มีความเสี่ยงต่อการผลิตมากเกินไป เพราะไม่ได้คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

 

       ในทางกลับกันระบบการผลิตแบบดึงซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันการผลิตมากเกินไปจะนำเอา Kanban ซึ่งเป็น Visual Tool ตัวหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลในการดึงสินค้า หรือสั่งผลิต การไหลของข้อมูลจะเริ่มจากการดึงสินค้าออกจากสโตร์เพื่อนำไปส่งมอบให้ลูกค้า ตามความต้องการจริง เมื่อสินค้าถูกดึงไป Kanban ที่ติดอยู่กับสินค้าจะถูกปลดออกแล้วนำย้อนกลับไปดึงสินค้าจากสโตร์ท้าย line ของกระบวนการก่อนหน้าตาม Kanban ที่หลุดออกมา เมื่อสินค้าถูกดึงจากสโตร์ท้าย line ก็จะมี Kanban หลุดออก ย้อนกลับไปสั่งให้กระบวนการทำการผลิตสินค้าตามรุ่นที่ถูกดึงไป ในจำนวนที่ถูกดึงไปมาเติมให้เต็มในสโตร์ดังเดิม ลักษณะนี้เรียกว่าระบบการผลิตแบบดึง

 

       แนวทางในการปรับปรุง ทำได้โดยการนำ Kanban มาช่วยในการสื่อสารข้อมูลภายในระยะเวลาที่สั้นและมีความสะดวกเพื่อลด Lead time ในเรื่องของการแปลงข้อมูลความต้องการลูกค้าเป็นแผนการผลิต ซึ่ง Kanban ที่นำมาใช้ต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์อย่าง Waiting post, Lot making post, Pattern post และ Chuter เป็นต้น ทั้งนี้การเลือกใช้ post แบบใดก็ขึ้นกับสถานการณ์ของสายการผลิตนั้น ๆ ซึ่งเมื่อร่าง MIFC เป้าหมายที่จะทำการปรับปรุงได้แล้ว ก็เริ่มสร้างอุปกรณ์สำหรับใช้ควบคู่กับ Kanban และอาจทำการตรวจสอบโดยการจำลองสายการผลิตมาอยู่ในห้องประชุมแล้วพิจารณาการ ไหลเวียนของ Kanban

 

image_282-1

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th