Pull System (ระบบดึง)
Pull System หรือ ระบบดึง เป็นระบบการผลิตที่จะผลิตเฉพาะสินค้าที่ถูกกระบวนการถัดไปหรือลูกค้าดึงไปเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะส่งผลต่อความสูญเปล่าที่สำคัญที่สุด คือ ความสูญเปล่าเนื่องจากการผลิตมากเกินความจำเป็น โดยจะเน้นผลิตเฉพาะสินค้าที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น ในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ และภายในเวลาที่ลูกค้ากำหนด
เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ระบบสามารถเดินได้อย่างราบรื่น คือ Kanban ซึ่งจะเป็นเหมือนป้ายที่ใช้ในการ visualize สินค้าที่อยู่ในภาชนะบรรจุ และปริมาณของชิ้นงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งสินค้าผิดประเภทและไม่ครบตามจำนวน ไปให้กับลูกค้า
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. วิเคราะห์การไหลของงานและข้อมูลด้วย Material & Information Flow Chart (MIFC)
2. เรียบเรียงปัญหาที่พบด้วย Stagnation List
3. วิเคราะห์ขั้นตอนทำ Staging และ Shipping ด้วย Shipping Diagram
4. จัดทำ Waiting Post & Delivery Control Board
- Waiting Post เป็นเครื่องมือที่ทำให้ข้อมูลของ SHIPPING และการปฏิบัติงาน SHIPPING รอจนถึงเวลาที่เหมาะสม กล่าวคือเพื่อจำกัดการส่งข้อมูลที่เร็วกว่าปกติและ VISUALIZE ให้เห็นความคืบหน้าล่าช้าของการปฏิบัติงาน STAGING และ SHIPPING ได้
5. จัดทำ Lot Making Post หรือ Pattern Post หรือ Progressive Post
- Lot Making Post เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการสั่งผลิต โดยจะทำการสั่งผลิตเมื่อมีปริมาณคัมบังครบตามจำนวนที่กำหนด
- Pattern Post เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการสั่งผลิต โดยจะทำการสั่งผลิตเมื่อได้เวลาตามที่กำหนดไว้
- Progressive Post เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการสั่งผลิต ซึ่งจะสามารถติดตามผลได้ว่าการผลิตมีความล่าช้าหรือไม่
รูปด้านบน แสดงรูปตัวอย่างระบบดึง นั่นคือ เวลาที่ลูกค้าจัดส่งความต้องการสินค้ามายังบริษัทผู้ผลิต สินค้าจะถูกจัดส่งไปให้ลูกค้า และ จะเกิดการไหลของข้อมูลการสั่งซื้อด้วย ระบบ Kanban ซึ่งจะทำให้กระบวนการก่อนหน้าจะทำการผลิตตามจำนวนที่ระบุใน Kanban ที่ถูกดึงไปเท่านั้น
ผลที่ได้รับจากการสร้างระบบดึง
• ลดความสูญเปล่าในการผลิตมากเกินความจำเป็น
• กำจัดความล่าช้าในการจัดส่งสินค้าให้ทันตามเวลาที่กำหนด
• ลดจำนวน Stock (Finished Goods และ Work In Process)
• ลดพื้นที่ในการจัดเก็บ Stock
แหล่งที่มา : เทคโนโลยีการผลิต / สถาบันยานยนต์