หน่วยของT/Tคือ หน่วยของเวลาต่อชิ้นงาน 1 ชิ้น (วินาที/ชิ้น, นาที/ชิ้น หรือ ชั่วโมง/ชิ้น)
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่ง กำหนดเวลาทำงานปกติไว้ที่ 8 ชั่วโมง เวลาพัก 15 นาที 2 ครั้ง โดยในหนึ่งวันต้องการชิ้นงานจำนวน 600 ชิ้น ดังนั้น Takt time จะเท่ากับ 45 วินาทีต่อชิ้น
จากตัวอย่างข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า พนักงานจะต้องใช้เวลาในการผลิตชิ้นงาน 1 ชิ้นให้เสร็จภายใน 45 วินาที โดยจะนำค่า Takttime ไปเปรียบเทียบรอบเวลาการทำงานของพนักงานแต่ละคนว่า เวลาที่พนักงานใช้เกินกว่า T/T หรือไม่ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเปรียบเทียบนี้เรียกว่า YAMAZUMI CHART
.
พนักงาน | รอบเวลาทำงาน (วินาที) |
A | 30 |
B | 39 |
C | 43 |
D | 45 |
ตัวอย่างการนำ Takt Time ไปใช้ในการเปรียบเทียบเวลาการทำงานของพนักงาน
ถ้าพนักงานใช้เวลาเกินกว่าเวลาที่กำหนดนี้ จะทำให้บริษัทไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าในวันนั้นได้ โดยวิธีใน การแก้ไขปัญหานี้ เราจำเป็นต้องทำการปรับลดเวลาทำงานของพนักงานแต่ะละคนให้อยู่ภายใต้เวลาการทำงานของ Takt time หรือ อีกวิธีหนึ่งถ้าไม่สามารถปรับลดเวลาทำงานของพนักงานได้บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มเวลาการทำงานให้แก่พนักงาน ในช่วงเวลา O.T. ซึ่งเราจำเป็นต้องคำนวณ Takt Time ใหม่ ซึ่งค่า Takt time นี้จะเรียกว่า Actual Takt time