ขั้นตอนในการทำกิจกรรม TPS
กิจกรรม TPS ที่ได้นำเสนอในกรณีศึกษานี้ถือเป็นก้าวแรกสำหรับโรงงานระดับ SMEs ในการที่จะเตรียมพื้นฐานการทำงานให้พร้อมกับการนำระบบ TPS มาใช้ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการไต่ขั้นบันไดกิจกรรมที่นำเสนอนี้ก็เป็นดังขั้นที่ ศูนย์ ซึ่งเป็นการเตรียมการให้พนักงานในโรงงานมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การนำ ระบบ TPS ไปใช้ในขั้นต่อ ๆ ไป ยิ่งก้าวขึ้นไปเรื่อย ๆ ระดับของความเป็น JIT (Just In Time) ก็จะยิ่งมีหน่วยที่เล็กลงจากวัน เป็นชั่วโมง เป็นนาทีไปจนถึงเป็นวินาทีซึ่งก็จะควบคู่ไปกับผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นของสายการ ผลิต กิจกรรมในขั้นของการเตรียมการระบบ TPS จะเริ่มตั้งแต่กิจกรรม Worksite control ซึ่งเป็นการทำให้สภาพการทำงานสามารถมองเห็น เข้าใจและควบคุมได้ กิจกรรม Continuous flow ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการผลิตที่มีการไหลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ กิจกรรม Standardized work ซึ่งเป็นการทำให้พนักงานทำงานได้คงที่ตามรอบเวลาและเต็มความสามารถภายใต้ Takt time ส่งผลให้การผลิตมีผลิตภาพที่ดีขึ้น และกิจกรรม Pull system ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนจากการผลิตแบบผลักให้กลายเป็นระบบการผลิตแบบดึง ที่เน้นถึงการกำจัดจุดหยุดนิ่งในสายการผลิตออกไป ทำให้การผลิตเป็นไปตามความเร็วที่ขายได้ (ผลิตตามความต้องการของลูกค้า) จะทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการจัดเก็บปริมาณสินค้าคงคลังที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนการเริ่มย่างก้าวเข้าสู่ระบบการผลิตแบบโตโยต้า
ขั้นตอนในการทำกิจกรรม TPS
![271](/images/stories/technology/271.gif)
ภาพขั้นตอนของการทำกิจกรรม TPS
กิจกรรม TPS เป็นกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกฝ่าย เนื่องจากเป็นการปรับปรุงที่เกี่ยวกับระบบการผลิตและส่งมอบของโรงงานซึ่ง เป็นการปรับปรุงแบบองค์รวมทำให้จะต้องมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากจากหลากหลาย แผนกไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายวางแผน ฝ่ายคลังสินค้าและจัดส่ง ฝ่ายผลิต ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายซ่อมบำรุง ฯลฯ ดังนั้นในการจะทำกิจกรรมให้สัมฤทธิ์ผลจะต้องมีการจัดตั้งทีมงานที่มีหน้าที่ ขับเคลื่อนให้กิจกรรมสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ทีมงานดังกล่าวจะต้องมีผู้บริหารระดับสูงอยู่ด้วยเพราะการทำกิจกรรม TPS ให้ประสบความสำเร็จจะต้องอาศัยการผลักดันและการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของผู้บริหาร
แหล่งที่มา : เทคโนโลยีการผลิต / สถาบันยานยนต์