สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

       ในอดีต การผลิตสินค้าจะให้ความสำคัญต่อการผลิตสินค้าให้ดีเยี่ยม เป็นอันดับต้นๆ โดยเรื่องของต้นทุนจะมีความสำคัญรองลงมา แต่ในปัจจุบัน เมื่อการค้าเชิงพาณิชย์ ได้เกิดขึ้นในระดับสากลมากขึ้น ส่งผลให้การขนส่งไม่ว่าทางเรือ ทางบก และทางอากาศ และรวมถึงสภาพการใช้งาน ต้องเพิ่มความหลากหลายของสภาวะแวดล้อมที่วิกฤติมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเกิดคำถามว่า หากจะปรับปรุงคุณภาพ สมรรถนะ ต้นทุน และความน่าเชื่อถือ และอื่นๆ ภายใต้สภาวะวิกฤติต่อการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เป็นปัญหาที่สำคัญต่อผู้ผลิตอย่างไร

 

       การทดสอบความทนทานต่อสภาวะแวดล้อม จึงมีประเด็นของความเป็นมา และความสำคัญ อย่างยิ่ง เพราะในการประเมินคุณค่าของผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายความถึงเพียงว่า หน้าที่การทำงานและ สมรรถนะของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต้องดีเยี่ยม (Function & Performance) เท่านั้น แต่การขยายหรือการยืดหน้าที่ การทำงานและสมรรถนะ ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อให้สามารถรักษาไว้ซึ่งหน้าที่ การทำงานและสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ ภายใต้สภาวะที่วิกฤติ (เช่น อุณหภูมิร้อนจัด หรือ หนาวจัด เป็นต้น) จากการใช้งานจริง หรือการใช้งานเป็นระยะเวลายาวนานเพื่อรักษาการทำงานและสมรรถนะของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้คงอยู่

 

       ในปัจจุบันการทดสอบความทนทานต่อสภาวะแวดล้อม จึงถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดไม่แพ้การทดสอบในลักษณะอื่นๆ ทั้งนี้เพราะเป็นการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความทนทานต่อการใช้งานของชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ นั้นๆ ต่อสภาวะแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น รังสีความร้อน และอื่นๆ ผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสภาวะแวดล้อมที่ผู้ใช้รับรู้ได้ชัดเจนที่สุด คือผลกระทบทางกายภาพ เช่น การแตกร้าว สีซีดจาง การบวมพอง และการเกิดสนิม เป็นต้น

 

       ดังนั้น ในบทบาทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ การทดสอบความทนทานต่อสภาวะแวดล้อม จึงมีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือ (Upgrade Reliability) ของผลิตภัณฑ์ โดยอาจกล่าวได้ว่า ผู้ผลิตไม่สามารถประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นั้นๆได้เลย หากละเลยการทดสอบทางด้านสภาวะแวดล้อม

 

       เราได้ทราบเหตุผลความจำเป็นที่ต้องมีการทดสอบทางด้านสภาวะแวดล้อมของผลิตภัณฑ์แล้ว  จึงขอนำเสนอวงจรการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และตัวอย่างผลกระทบจากสภาวะแวดล้อม(ดังภาพ)  

 

254-1


:: วงจรการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

254-2


       ตัวอย่าง ผลกระทบจากสภาวะแวดล้อม ทางกายภาพ ทำให้ผลิตภัณฑ์ แตกร้าว สีซีดจาง หรือ เกิดการบวมพอง

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th