หน่วยงาน | ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
นักวิจัย | นาย สุธี ผู้เจริญชนะชัย |
ผู้ให้ทุน | |
ระยะเวลาวิจัย | 20/05/2548 ถึง 19/05/2550 |
บทคัดย่อ | |
โครงการพัฒนาระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์และห้องทดสอบ NECTEC พัฒนา ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์และห้องทดสอบสำหรับชุดดัดแปลงก๊าซธรรมชาติ สำหรับชุดดัดแปลงก๊าซธรรมชาติ มีภาระกิจตอบสนองยุทธศาสตร์ในสอง ระดับคือ ยุทธศาสตร ์เร่งด่วนของชาติ เพื่อการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น แบบนำไปสู่การผลิต( Production) ลดการนำ เข้าสินค้าจากต่างประเทศตามเป้าหมายของมติคณะรัฐมนตรีที่จะผลักดัน ให้แท็กซี่ในกรุงเทพ เปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ 10,000 คัน ใน 1 ปี โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีซอฟท์แวร์และสมองกล ฝังตัวเดิมที่มีอยู่บูรณาการความรู้ร่วมกับพันธมิตรที่สำคัญ ยุทธศาสตร์ระยะยาวเป็นการสะสมและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์เชื้อเพลิงทดแทนของ ประเทศเพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงของยานยนต์ไปสู่พลังงานทดแทนในอนาคตอันใกล้ เช่น ยานยนต์เชื้อเพลิงชีวภาพยานยนต์เชื้อเพลิง ไฮโดรเจน ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือยานยนต์ไฮบริดจ์ มีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการเปลี่ยนตำแหน่งของประเทศ จากผู้รับเทคโนโลยีเป็นผู้สร้างเทคโนโลยี กลยุทธ์หลักที่เลือกใช้ คือ การเปลี่ยนองค์ความรู้(Knowledge) ของนัก วิจัยและผู้เกี่ยวข้องไปเป็นซอฟท์แวร์ โดยเฉพาะการจำลองสถานะการณ์ (simulation) ต่างๆ ของเครื่องยนต์ ร่วมกับ ความสามารถของห้องทดสอบเพื่อตอบคำถามต่างๆให้กับอุตสาหรรมยานยนต์ของประเทศ โดยมีพันธมิตรที่สำคัญ คือ สถาบันยานยนต์ และเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศ MTEC การ ออกแบบชุดแปลงระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดสำหรับเครื่องยนต์ก๊าซโซลีน จากปัญหาทางด้านพลังงานของประเทศโดยประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบเป็นจำนวนสูง ถึง 2 แสนล้านบาทต่อปี (ที่มา ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร) ซึ่งมีแนว โน้มสูงขึ้นในทุกปี จึงมีนโยบายให้ใช้พลังงานที่ผลิตได้ภายในประเทศ ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ซึ่งก๊าซธรรมชาติ เป็นก๊าซที่สามารถผลิตได้ ภายในประเทศ และยังเป็นเชื้อเพลิงสะอาดช่วยลดมลพิษทางอากาศที่ เกิดจากเผาไหม้ของเครื่องยนต์ แต่เนื่องจากการที่จะเปลี่ยนรถยนต์ให้ใช ้ ก๊าซธรรมชาติได้นั้น ต้องเสียค่าอุปกรณ์แปลงระบบเชื้อเพลิง ซึ่งมีราคาสูง และยังต้องนำเข้า อีกทั้งอุปกรณ์ที่นำเข้ามีการออกแบบไม่เหมาะสม กับ ก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องดำเนิน การออกแบบและสร้างชุดแปลง ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดให้เหมาะ สมกับการใช้งานในประเทศ งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งสร้างชุดแปลงระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดสำหรับ เครื่องยนต์ก๊าซโซลีนต้นแบบโดยทำ การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรม เพื่อจัดหาออกแบบ ผลิต และทดสอบเพื่อให้ได้อุปกรณ์แปลงระบบเชื้อ เพลิงที่มีคุณภาพดี ราคาถูก เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศ โดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีการผลิตภายใน ประเทศ ชิ้นส่วนที่จะทำการออกแบบและผลิตคือ ชุดวาล์วนิรภัย ชุดวาล์วเติม ชุดควบคุมแรงดัน ชุดกรอง และชุด จ่ายก๊าซซีเอ็นจีเข้าสู่ห้องเผาไหม้ สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งถ้าชุดแปลงระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอัดต้นแบบที่สร้างขึ้นมา ประสบความสำเร็จสามารถใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์ ก็จะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับผู้ประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศต่อไป เป็นการนำ ผลงานวิจัยมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ และลดการนำเข้าชุดแปลงระบบจากต่างประเทศ MTEC+KU การศึกษาการออกแบบและการผลิต ถัง CNG ใน ภาวะปัจจุบันที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาเพิ่มสูงขึ้นส่งผล ให้หลายๆ ประเทศหันมาสนใจหาพลังงานอื่นมาทดแทน ประเทศไทยก็ เป็นอีกประเทศหนึ่งที่กำลังจะผลักดันการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) โดย เฉพาะอย่างยิ่งการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้กับรถ ยนต์จากการสนับสนุนโดยรัฐบาล สามารถคาดการณ์ได้ว่าปริมาณรถยนต์ ที่ใช้พลังงานจากก๊าซ ธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นถึง 10% ของจำนวนรถยนต์ ทั้งหมดภายในประเทศไทย ชุด Conversion Kit และถังก๊าซธรรม- ชาติ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ในการใช้ NGV Technology แต่อย่างไรก็ ตามอุปกรณ์เหล่านี้ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย แต่เป็นการนำเข้า จากต่างประเทศ 100% เพื่อที่จะให้ NGV Technology ถูก ใช้ได้ อย่างยั่งยืนภายในประเทศไทย จึงมีความ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาการออกแบบและการผลิต ของอุปกรณ์เหล่านี้ภายในประเทศ ดังนั้นโครงการวิจัย อันนี้จึงมุ่งศึกษา ความเป็นไปได้ในการออกแบบ และการผลิตถังก๊าซธรรมชาติภายใน ประเทศไทย |