หน่วยงาน | ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ |
นักวิจัย | เรือง เดช ธงศรี / นุชธนา พูลทอง / นันทน์ ถาวรังกูร / ภาณุ เวทยนุกูล / นาตยา ต่อแสงธรรม / มนภาส มรกฎจินดา / อรมณี คูวัฒนาชัย / ธัญพร ยอดแก้ว |
ผู้ให้ทุน | ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ระยะเวลาวิจัย | 8 มิถุนายน 2549 ถึง 8 มิถุนายน 2552 |
บทคัดย่อ |
|
|
|
วัสดุเครื่องมือ (Tooling materials) ใช้ประโยชน์ในการทำเครื่องมือตัด (Cutting tools) สำหรับงานตัดแต่ง (Machining) ทั้งนี้เพราะเครื่องมือตัดมีความแข็งสูง (High hardness) และความทนการต่อการเสียดสีสูง (High wear resistance) ใน การใช้ประโยชน์ของวัสดุเครื่องมือมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ อย่างชัดเจน เพราะชิ้นส่วนโลหะในยานยนต์ส่วนใหญ่ต้องผ่านกระบวนการตัดแต่งด้วยเครื่อง จักรกลที่มีเครื่องมือตัดทำหน้าที่ตัดแต่งชิ้นงานโลหะ เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลาหนึ่งเครื่องมือตัดมักเกิดความเสียหายและต้องมีการ เปลี่ยนเพราะไม่สามารถซ่อมได้ เครื่องมือตัดจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ในปัจจุบันเครื่องมือตัดส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง จึงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ปัจจัยหนึ่งในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์คือ การลดต้นทุนในการผลิต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการวิจัยและพัฒนาที่นำไปสู่การผลิตเครื่องมือตัด ได้ภายในประเทศ อาจก่อให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือตัดขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ลดลงด้วย ในโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการออกแบบและผลิตเครื่องมือตัดด้วย กระบวนการโลหะผงวิทยา (Powder metallurgical processes) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ (1) การศึกษาเพื่อหาปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเครื่องมือตัดที่มีสมบัติทางกายภาพและทางกลที่ดีขึ้น (2) การศึกษาเพื่อควบคุมขนาดและรูปร่างของเครื่องมือตัดในระหว่างกระบวนการผลิต และ (3) การศึกษาเพื่อทดสอบการใช้งานจริงของต้นแบบเครื่องมือตัด |