หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
นักวิจัย | สมบุญ เจริญวิไลศิริ / พยูร เกตุกราย / อภิชาติ อิริยาภิชาติ |
ผู้ให้ทุน | ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ |
ระยะเวลาวิจัย | 20 มีนาคม 2545 ถึง 19 มีนาคม 2546 |
บทคัดย่อ |
|
โครงงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาถึงกรรมวิธีการผลิตเหล็กหล่อกราไฟท์ตัวหนอน (Compacted Graphite Iron) ในประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะหาแนวทางและวิธีการผลิตเหล็กหล่อกรา ไฟท์ตัวหนอนขึ้นเองในประเทศ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมหล่อเหล็กและเพื่อรองรับ อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ เนื่องจากตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมาเหล็กหล่อชนิดนี้กลับมาได้รับความสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน อุตสาหกรรม การผลิตเครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากคุณสมบัติที่เด่นของเหล็กหล่อชนิดนี้ทั้งทางด้านคุณสมบัติและราคา เมื่อเปรียบเทียบกับโลหะอลูมิเนียมผสม ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาและออกแบบชิ้น ส่วนของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ด้วยเหล็กหล่อประเภทนี้ แต่กรรมวิธีและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตกลับไม่ได้รับการเปิดเผยมากนักอัน เนื่องมาจากเหตุผลทางธุรกิจและการค้า เหล็กหล่อกราไฟต์ตัวหนอนถูกค้นพบขึ้น และถูกจัดให้เป็นเหล็กหล่ออีกประเภทตามมาตรฐาน American Society for Testing and Materials (ASTM) A-247 ในปี ค.ศ. 1965 แต่เนื่องจากความไม่แน่นอนในการผลิตและเทคโนโลยีที่ไม่เพียงพอทำให้เหล็ก หล่อชนิดนี้ไม่ได้รับความสนใจและไม่มีการพัฒนามากนักในช่วงต้น แต่เนื่องจากคุณสมบุติที่เด่นของเหล็กหล่อกราไฟท์ตัวหนอนนี้เองทำให้ อุตสาหกรรมยานยนต์ได้หันกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง ทางคณะผู้วิจัยจะทำการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตเหล็กหล่อกราไฟ ต์ตัวหนอน รวมไปถึงอิทธิพลของธาตุผสมทางเคมีที่เกี่ยวข้อง โดยจะนำชิ้นทดสอบมาตรฐานที่ผลิตได้จากการทดลองนี้ไปผ่านการวิเคราะห์ทดสอบ คุณสมบัติทางกลและโครงสร้างทางจุลภาค เพื่อที่จะหาปัจจัยที่เหมาะสมในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กหล่อชนิดนี้ ขึ้นใช้เองในประเทศไทย งานวิจัยครั้งนี้ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมหล่อเหล็กในประเทศ โดยใช้ความรู้ทางโลหะวิทยาและกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ |