สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
หน่วยงาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
นักวิจัย ภาวดี เมธะคานนท์ / วรธรรม อุ่นจิตติชัย
ผู้ให้ทุน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ระยะเวลาวิจัย 2 ตุลาคม 2549 ถึง 2 พฤษภาคม 2551
บทคัดย่อ

          ปัจจุบัน อุตสาหกรรมยานยนต์ มีการแข่งขันในด้านการตลาดที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องผลิตรถยนต์ให้มีคุณภาพที่ดีกว่า เด่นกว่าคู่แข่ง โดยพยายามให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แนวทางการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จึงเน้นไปที่การนำวัสดุใช้แล้วมาใช้ซ้ำ (รีไซเคิล) หรือใช้เส้นใยธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมเพื่อเสริมแรงและทดแทนเส้นใยสังเคราะห์ เรียกผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นว่า ไบโอคอมโพสิท นอกจากเส้นใยเสริมแรงแล้ว วัสดุคอมโพสิทยังประกอบด้วยเรซิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของวัสดุคอมโพสิท ทำหน้าที่เป็นเมตริกซ์ โดยเรซินที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันสำหรับงานวัสดุคอมโพสิท ได้แก่ โพลิโพรพิลีน ฟีนอลิกเรซิน โพลิเอสเทอร์ และโพลิยูริเทน เป็นต้น ซึ่งเรซินเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากน้ำมันปิโตรเลียม ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับความต้องการใช้งานของยานยนต์ในอนาคต ผนวกกับการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปิโตรเลียม และปัญหาสิ่งแวดล้อม งานวิจัย พัฒนาวัสดุจากธรรมชาติสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ จึงได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการวิจัย พัฒนา ที่นำเสนอบริษัท เอ็น เอช เค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้ชื่อ “โครงการ พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมจากวัสดุธรรมชาติ วัสดุหมุนเวียนในไทย สำหรับประยุกต์ใช้กับชิ้นงานส่วนยานยนต์” โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเรซินจากวัสดุธรรมชาติภายในประเทศไทย แนวทางการพัฒนาจะเริ่มจากการพัฒนาสูตรเรซินที่มีแป้ง ซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรของไทยที่มีราคาถูก และลิกนินซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับฟีนอล และเป็นของเสียจากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ผสมกับฟีนอลิกเรซินในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อลดปริมาณฟีนอลิกเรซินลง และพัฒนาเรซินใหม่ที่มีวัสดุธรรมชาติดังกล่าวมาแล้วเป็นองค์ประกอบ โดยเรซินที่ได้จากการพัฒนาทั้งสองวิธีการจะมีคุณสมบัติเป็นพลาสติกแบบ เทอร์โมเซต (เช่นเดียวกับฟีนอลิกเรซินที่บริษัทฯ ใช้อยู่ในปัจจุบัน) เรซินที่ได้จะถูกวิเคราะห์/ทดสอบ โดยการผสมกับเส้นใยธรรมชาติ ขึ้นรูปเป็นแผ่นไฟเบอร์บอร์ด และประเมินคุณสมบัติของแผ่นชิ้นงานตามวิธีและมาตรฐานที่บริษัทฯ กำหนด

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th