สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

       หัวข้อการปรับปรุง
       การวางแผนการผลิต (Production Plan)

 

       แรงจูงใจและสาเหตุที่ต้องทำการปรับปรุง
       เนื่องจากเกือบทุกโรงงานๆที่ได้มีโอกาสเข้าไปติดตามผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นในการ ให้คำปรึกษานั้น ไม่ได้มีการวางแผนในการผลิตที่ถูกวิธี จึงทำให้ภายหลังจากการวางแผนการผลิตแล้วยังเกิดปัญหาตามมาอีกได้แก่ จำนวนสต็อกที่มากมายจนแทบไม่มีที่ให้ทำงานหรือบางครั้งที่สต็อกเป็นศูนย์จะ ทำให้ผลิตไม่ทันส่ง ซึ่งผลสืบเนื่องต่อมาคือ ทำให้ไม่สามารถเช็คความสามารถในการผลิตได้ รวมไปถึงไม่สามารถเช็คจำนวนพนักงานที่จะใช้ในการผลิตได้ ดังนั้นการมีการวางแผนการผลิตที่ดีจะสามารถทำให้เราสามารถรู้ได้ว่างานที่ทำ การผลิตนั้นนั้นจะเริ่มและเสร็จสิ้นเมื่อไหร่, มีการเปรียบเทียบผลแผนการผลิตและผลที่ได้, และมีการควบคุมปริมาณสต็อกได้ตามที่กำหนดโดยไม่เกิดการผลิตเผื่อเป็นจำนวนมากหรือผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า

 

       ข้อมูลพื้นฐานของโรงงาน
       เนื่องจากการวางแผนการผลิตจำเป็นต้องมีการใช้ข้อมูลย้อนหลังของชิ้นงานนั้นๆอาจจะ เป็นระยะเวลา 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 1 ปี นับตั้งแต่เริ่มทำดำเนินการผลิต (Mass Production) ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเช็คจำนวนสต็อกของชิ้นงานทุกๆรุ่นทั้งหมดในโรงงานได้แก่สต็อกในระหว่างกระบวนการการผลิต (Work in Process) และสต็อกของชิ้นงานสำเร็จรูป (Finish Good Stock) ดังตารางข้างล่าง จากนั้นก็จะเป็นการคาดการณ์ (Forecast) การผลิตในเดือนที่กำลังจะมาถึงโดยทำการกำหนด stock standard ของชิ้นงานทุกๆรุ่นซึ่งจะทำให้เราสามารถวางแผนการผลิตในแต่ละเดือนได้

 

image_653-1

 

       แนวคิดที่เอามาใช้ในการปรับปรุง
       ปัญหาที่เกิดจากการวางแผนการผลิตที่ไม่ดีทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายได้แก่ มีสินค้าระหว่างการกระบวนการผลิต (Work in Process Stock) และชิ้นงานสำเร็จรูป (Finish Good Stock) ค้าง เป็นจำนวนมากและการผลิตที่เป็นจำนวนมากก็ทำให้ความสามารถของเครื่องจักรไม่ เพียงพอ หรือในบางครั้งก็ไม่เหลือชิ้นงานสำเร็จรูปเก็บสำรองเพียงพอทำให้ส่งสินค้า ไม่ทัน ดังนั้นการกำหนด Standard Stock ที่ดีแล้วก็จะทำให้การผลิตในแต่ละเดือนมีความสม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งการมี Stock Standard มาจากแนวคิดพื้นฐานดังนี้

 

       1. การวางแผนการผลิตต้องขึ้นอยู่กับ Standard Stockซึ่งการกำหนดค่ามาตราฐานของสต็อกนี้ขึ้นอยู่กับแนวโน้มการส่งสินค้า (Customer Forecast) ด้วย ไม่ควรวางแผนโดยขึ้นอยู่กับการคาดการณ์แนวโน้มการส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว

 

       2. Stock Standard ทำให้เกิดการใช้สต็อกอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้การผลิตมีความเสถียรยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตามการกำหนด Standard Stock จำเป็นต้องคำนึงถึง ช่วงเวลานำการผลิต (Production lead time), ความเร็วในการตั้งเครื่องหรือเปลี่ยนแม่พิมพ์ (Set up time) และการจัดวางเครื่องจักรในพี้นที่ทำงาน (Layout) ด้วยจึงทำให้การกำหนด Standard Stockมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

       รายละเอียดวิธีการปรับปรุง


image_653-2

 

       จัดเก็บข้อมูลตามตารางการวางแผนการผลิตข้างบน โดยใช้ข้อมูลของชิ้นงานทั้งหมดที่ทำการผลิตในโรงงาน แล้วทำการจัดแยกกลุ่มตามจำนวนยอดสั่งซื้อ เช่น

          · ถ้ายอดสั่งซื้อมากกว่า 30,000 ชิ้นต่อเดือนตั้ง Stock Standard ที่ 5 วัน
          · ถ้ายอดสั่งซื้อระหว่าง 10,000 ชิ้น ถึง 30,000 ชิ้น ตั้ง Stock Standard ที่ 10 วัน
          · ถ้ายอดสั่งซื้อระหว่าง 5,000 ชิ้น ถึง 10,000 ชิ้น ตั้ง Stock Standard ที่ 15 วัน
          · ถ้ายอดสั่งซื้อระหว่าง 1,000 ชิ้น ถึง 5,000 ชิ้น ตั้ง Stock Standard ที่ 30 วัน
          · ถ้ายอดสั่งซื้อระหว่าง 0 ชิ้น ถึง 1,000 ชิ้น ตั้ง Stock Standard ที่ 60 วัน ตามลำดับ

 

       จากตารางด้านบนจะเห็นว่าภายหลังจากมีการวางแผนการผลิตแล้วโดยการเซท Standard Stock เป็นจำนวนวันขึ้นอยู่กับชิ้นงานนั้นๆและลูกค้านั้นๆโดยไม่ให้เกิดปํญหาการส่งสินค้าไม่ทัน จะทำให้เราทำการผลิตจากเดิม 1,029,402 ชิ้น เป็นผลิต 826,444 ชิ้น ปรับลดลงจากเดิม 20% แต่ถ้าหากว่ามีการเซท Stock standard ของทุกชิ้นงานให้อยู่ที่15 วันแล้วจะมีการผลิตชิ้นงานเพียง 333,508 ชิ้น ซึ่งจำนวนการผลิตจะลดลงประมาณ 68% ทำให้จำนวนการผลิตมีความเสถียร (Stable) มากขึ้น

 

       ผลจากการปรับปรุง


image_653-3

 

       การวางแผนการผลิตในเริ่มแรกเพื่อทำการวางเครื่องจักรให้เป็น Line การผลิตนั้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับของชิ้นงานในตาราง Microsoft Excel เพราะเนื่องจากการจัดวางเครื่องจักรจำเป็นต้องทำ Process Flow Chart ดังนั้นตำแหน่งของชิ้นงานใน Production Plan ต้องตรงกันกับ Machine Flow Chart ซึ่งจะทำให้ข้อมูลของจำนวนการผลิต (Production volume)  สามารถเชื่อมต่อกันได้ทันทีโดยไม่ต้องป้อนข้อมูลอีกครั้ง ซึ่งมีผลทำให้ทุกๆเดือนภายหลังจากการวางแผนการผลิตแล้ว ยังสามารถเช็คความสามารถของ Line การผลิตแต่ละ Line ได้ทันทีว่ามีความสามารถเพียงพอกับความต้องการตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วหรือไม่

 

       การวางแผนการผลิตที่ได้กำหนดไว้ตาม Standard Stock ของชิ้นงานแต่ละชิ้นนั้นทำให้จำนวน WIP และ Finish good stock ลดลงตามลำดับ แต่จำเป็นต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือนในการลดจำนวนสต็อกทั้งหมดให้ได้ตามที่กำหนด เพราะเนื่องจากชิ้นงานบางส่วนมียอดการสั่งทุกๆ 3 หรือ 6 เดือน ทำให้จำนวนสต็อกไม่ลดลงในทันทีภายหลังจากการวางแผนการผลิตแล้ว

 

       Standard Stock สามารถ ปรับขั้นลดได้ตามจำนวนวันลดลงได้ถ้าหากว่าไม่เกิดปัญหาการขาดส่ง หรือ ปรับจำนวนวันขึ้นได้ถ้าหากคาดว่าจะเกิดปัญหาส่งงานไม่ทัน ไม่จำเป็นต้องตั้งเป็นค่าคงที่ตลอดเวลา

 

       คำศัพท์เทคนิค
           Production plan:  การวางแผนการผลิต
           Process flow chart:  ตารางแสดงขั้นตอนการทำงานของเครื่องตามขั้นตอนการผลิตของทุกๆชิ้นงานที่ทำการผลิตในโรงงาน
           Standard Stock: ค่ามาตราฐานของสินค้าคงคลังที่ใช้ในการกำหนดการวางแผนการผลิตของชิ้นงานแต่ละชิ้น
           Work in Process Stock:   ชิ้นงานระหว่างการผลิต
           Finish good stock: ชิ้นงานสำเร็จรูปที่รอส่งให้ลูกค้า
           Mass production: การผลิตที่เป็นจำนวนมาก

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th