สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

       1. หัวข้อการปรับปรุง
       การออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ต้นแบบชนิดใหม่ทดแทนของเก่า

 

       2. แรงจูงใจและสาเหตุที่ต้องทำการปรับปรุง
       จากสภาพการแข่งขันในปัจจุบันที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ดัดแปลง และอุปกรณ์ตกแต่งต่างก็ตื่นตัวต่อสภาพการณ์ดังกล่าว แต่ถ้าหากองค์กรใดยังคงนิ่งเฉยไม่ตระหนักถึงสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปก็คง ไม่แคล้วต้องกลายเป็นองค์กรที่สาบสูญไปในที่สุด หากว่าองค์กรใดตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องกระทำการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง ก็เปรียบเสมือนเป็นก้าวแรกที่ล้ำหน้าองค์กรอื่น และเพื่อไม่ให้องค์กรอื่นใดไล่ตามได้ทันก็จำเป็นต้องมีการวาง

 

       กลยุทธ์ และยุทธวิธีที่ต้องใช้ในการปรับปรุงไม่ว่าจะเป็นทางด้านต้นทุน คุณภาพ และการส่งมอบ โดยอาจมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ และเพื่อให้สามารถพัฒนามาตรฐานการทำงานให้สูงยิ่งขึ้น

 

       สาเหตุที่จำเป็นต้องทำการปรับปรุงนั้นก็เพื่อให้องค์กรสามารถยืนหยัดอยู่ได้ภายใต้ การบีบรัดของสภาพการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งทุกองค์กรควรยึดหลักการที่ว่า “การปรับปรุงไม่มีที่สิ้นสุด (Kaizen)”

 

       3. ข้อมูลพื้นฐานของโรงงาน
       กระบวนการขึ้นรูปพลาสติกโดยการปั๊มนั้นประกอบไปด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

image-652-1

 

รูปที่ 1 กระบวนการขึ้นรูปพลาสติกโดยการปั๊ม


       4. Know How/แนวคิดที่นำมาใช้ในการปรับปรุง
       เนื่องจากในปัจจุบันแม่พิมพ์ที่ทำด้วยเรซิ่นสำหรับผลิตชิ้นงานกันสาด โดยการใช้กระบวนการ Vacuum forming สามารถผลิตได้ประมาณ 60 ชิ้นต่อกะ (8 ชั่วโมง) หรือผลิตได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,500 ชิ้นต่อเดือน แต่เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับการหยุดซ่อมแม่พิมพ์บ่อย กล่าวคือต้องหยุดซ่อมแม่พิมพ์ทุก 8-10 ชิ้นต่อครั้งเนื่องจากแนวของการกดย้ำ (Beat) ผิดรูปไปเนื่องมาจาก Resin ที่ใช้เป็นตัวเคลือบมีอายุการใช้งานสั้น จึงส่งผลให้อัตราของเสียอยู่ในระดับสูง

 

      จากปัญหาดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นจากโครงการ AEDP เข้าไปให้คำแนะนำแบ่งเป็นระยะประกอบด้วย
      ระยะที่ 1 การปรับปรุงปัจจัยและวิธีการทำงานในกระบวนการผลิตเดิม

 

       5. รายละเอียดวิธีการปรับปรุง            
       สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการทำแม่พิมพ์ขึ้นรูปพลาสติกโดยวิธีการปั๊มประกอบด้วย โครงสร้างของแม่พิมพ์ฝั่งตัวผู้ (Core)  และแม่พิมพ์ฝั่งตัวเมีย (Cavity)

 

image-652-2

รูปที่ 2 โครงสร้างของแม่พิมพ์        



          5.1 การทำงานก่อนการปรับปรุง
          ในการออกแบบแม่พิมพ์นั้นควรคำนึงถึงขั้นตอนต่อไปนี้

 

           5.1.1 หลักสำคัญของการออกแบบแม่พิมพ์
            1) ขนาดของแม่พิมพ์, การเขียนแบบร่าง (Draft drawing) ของโครงสร้าง (มิติ) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (ฝ่ายออกแบบ, ขึ้นรูป, ควบคุมคุณภาพและอื่นๆ) มาร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็น
            2) สำหรับประเภทของโลหะที่ใช้ทำแม่พิมพ์นั้น กำหนดจากวัตถุดิบที่ใช้ในการขึ้นรูป, ความแม่นยำที่ต้องการของแม่พิมพ์, จำนวนชิ้นงาน, ความยากง่ายในการออกแบบจัดทำแม่พิมพ์เพราะว่าต้นทุนมากกว่าครึ่งหนึ่งของแม่พิมพ์นั้นมาจากความยากง่ายในการออกแบบจัดทำแม่พิมพ์
            3) สำหรับโครงสร้างของแม่พิมพ์นั้นเจ้าหน้าที่ทุกท่านควรพิจารณาหัวข้อดังต่อไปนี้
              3.1) ตำแหน่งและวิธีการปลดชิ้นงาน
              3.2) โครงสร้างของ Insert
              3.3) ตำแหน่งและขนาดของ Cooling system
              3.4) วิธีการติดตั้งแม่พิมพ์กับแท่นปั๊ม
              3.5) จุดยึดที่สมดุลของแม่พิมพ์
              3.6) สิ่งที่จำเป็นอื่นๆสำหรับการบำรุงรักษา
           4) ควรคำนึงเสมอว่าในขณะที่ทำการฉีด จะต้องไม่ทำให้แม่พิมพ์เสียรูปทรงหรือไม่แนบสนิทจากปัจจัยต่างๆ เช่น  อุณหภูมิวัตถุดิบประมาณ 180 ºC เป็นต้น
           5) เนื่องจากแม่พิมพ์นั้นจะต้องเป็นตัวกลางดูดซับความร้อนจากชิ้นงาน หากแม่พิมพ์นั้นดูดซับความร้อนได้ไม่ดีก็จำเป็นต้องติดตั้งระบบ Cooling System เพิ่มเติม จุดนี้เป็นจุดสำคัญซึ่งควรจะออกแบบระบบหล่อเย็นไว้ตั้งแต่ต้น การออกแบบติดตั้งเพิ่มเติมภายหลังมักไม่เกิดผลดีนัก
           6) ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบแม่พิมพ์เพื่อให้ง่ายต่อการสร้าง โดยเฉพาะชิ้นส่วนประกอบต่างๆรวมถึงการติดตั้งและ การดูแลรักษาภายหลังด้วย

 

         5.1.2 ขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์
          1) รูปทรงของแม่พิมพ์                                   : ขนาดและรูปทรงของพิมพ์เป็นจุดสำคัญ

        หากแม่พิมพ์นั้นเล็กไปก็จะไม่ทนทาน หรือถ้าใหญ่เกินไปก็มีราคาสูงเช่นกัน
          2) โลหะที่ใช้ทำแม่พิมพ์                                 : ขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นงาน, ความแม่นยำของชิ้นงานที่ต้องการ
          3) ขนาดของโลหะที่จำเป็นต้องใช้ทำแม่พิมพ์      : ให้เขียนแบบร่าง (Draft drawing) ของพิมพ์เพื่อกำหนดขนาดที่จำเป็นของโลหะที่ใช้ทำแม่พิมพ์
          4) กำหนดหน้าตัดของชิ้นต่างๆ                         : กำหนดหน้าตัดของชิ้นส่วนต่างๆในพิมพ์

 

        5.2 การปรับปรุง
        เมื่อทราบหลักการและขั้นตอนในการออกแบบแม่พิมพ์จากหัวข้อข้างต้นทำให้สามารถกำหนดลำดับ         

        ขั้นตอนและเวลาการทำงานได้ดังตารางที่ 1

 

 ลำดับขั้นตอน

พย

47

ธค47

มค48

กพ

48

4

1

2

3

4

1

2

3 

4 

1 

 1.การออกแบบแม่พิมพ์ (Concept design)

 


 2.ต้นแบบแม่พิมพ์ (Prototype)

 


 3.ตรวจสอบต้นแบบ (Prototype approve)

 


 4.CAD Process

 


 5.CNC Process

 


 6.ประกอบ (Assembly part)

 


 7.การทดสอบ (Trial)

 


 8.ตรวจสอบ (Data check)

 


 9.ส่งลูกค้าตรวจสอบ (Customer approve)

 


 10.เริ่มการผลิต (Mass production)

 

ตารางที่ 1 ลำดับขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์กันสาด


       6. ผลลัพธ์จากการปรับปรุง
         6.1การทำแม่พิมพ์ขึ้นใหม่จากแบบเดิมที่ใช้วัสดุที่ทำจากเรซิ่นมาเป็นอลูมิเนียมด้วยการถ่ายทอด ความรู้ด้านการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์ให้แก่บุคลากรของโรงงาน

 

image-652-3

 

รูปที่ 5 ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป



           · แม่พิมพ์ชุดใหม่มีอายุการทำงานมากกว่า 500 ชิ้น และมีคุณภาพชิ้นงานที่ดีกว่าของเดิม

 

         6.2 การปรับปรุงผลผลิตด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ขั้นตอนและวิธีการทำงานรวมถึงเงื่อนไขการตั้งค่าทำงานของเครื่องจักรและวัตถุดิบ
          · ปัจจุบันสามารถผลิตชิ้นงานดีได้ 120 ชิ้นต่อกะ (8ชั่วโมง)
          · ผลิตภาพ (Productivity) เพิ่มสูงขึ้นจากการที่อัตราของเสียลดลงและรอบเวลาการผลิต (Cycle time) ต่ำลง

 

       โดยภาพรวมถึงแม้ต้นทุนในการทำแม่พิมพ์ชุดใหม่จะเพิ่มขึ้นจาก 12,000 บาทต่อชุด เป็น 270,000 บาทต่อชุดก็ตาม แต่เมื่อคำนึงถึงผลผลิตและโอกาสการขายที่เพิ่มขึ้นจาก 60 ชิ้นต่อกะ (8ชั่วโมง) เป็น 120 ชิ้นต่อกะ (8ชั่วโมง) สามารถคืนทุนภายใน 2 เดือน และสร้างรายได้ 2,520,000 บาทต่อปีแล้ว ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก

 

       ** อ้างอิงที่ปริมาณการสั่งซื้อ 1,400 ชิ้นต่อเดือน, ราคาขาย 150 บาทต่อชิ้น

 

      การปรับปรุงในขั้นถัดไปที่ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นในโครงการพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการ นั้นประกอบด้วย
        · การขยายผลการปรับปรุงแม่พิมพ์ไปสู่ชิ้นงานรุ่นอื่นๆโดยเริ่มจากการจัดกลุ่มชิ้นงานที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เพื่อออกแบบและจัดสร้างแม่พิมพ์ที่สามารถใช้องค์ประกอบพื้นฐานร่วมกันเพื่อช่วยประหยัดต้นทุน
        · การเปลี่ยนขบวนการผลิตจาก Vacuum Forming เป็น Mold Injection ที่มีประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบที่สูงกว่า
        · การยกระดับกระบวนการผลิตสู่การผลิตแบบ Blow molding เพื่อสามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีเทคโนโลยีการผลิตที่สูงกว่า

 

image-652-4

 

รูปที่ 6 วิวัฒนาการของการปรับปรุง



       7. คำแนะนำเพิ่มเติม
       เมื่อสามารถทำการปรับปรุงได้สำเร็จตามเป้าหมายข้างต้นแล้ว ลำดับถัดมาที่ควรกระทำคือการควบคุมค่าปัจจัยต่างๆ (เช่น Cycle time) ให้คงที่ โดยการศึกษาจาก Time & Motion Study เพื่อใช้ในการลดค่าความสูญเปล่าจากกระบวนการทำงานจากวิธีการนี้จะทำให้สามารถจัดทำมาตรฐานการทำงาน (Work standardization) ได้อีกด้วย ซึ่งเมื่อมีมาตรฐานการทำงานจะทำให้กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงเป็นไปอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น และยังส่งผลให้การวางแผนการผลิตและการควบคุมปริมาณสินค้าสำเร็จรูปมาตรฐานเป็นไปอย่างมีระบบยิ่งขึ้น

 

       8. คำศัพท์เทคนิค
         Cavity                                       แม่พิมพ์ส่วนคาวิตี้ (ฝั่งอยู่กับที่)                         
         Core                                         แม่พิมพ์ส่วนคอร์ (ฝั่งเคลื่อนที่)
         Cycle time                                 รอบเวลาการผลิต
         Draft drawing                            แบบร่าง
         Guide bush                               ปลอกนำร่อง
         Guide pin                                 เข็มนำร่อง
         Plate                                        แผ่นฐานรองแม่พิมพ์
         Productivity                              ผลิตภาพ
         Prototype mold                         แม่พิมพ์ต้นแบบ
         Time & Motion Study                 การศึกษาความสัมพันธ์ของเวลาและการเคลื่อนไหว
         Work standardization                 มาตรฐานการทำงาน

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th