1. หัวข้อการปรับปรุง
นวัตกรรมการทำสีบนโลหะ (EDP Innovation)
2. สาเหตุที่ต้องทำการปรับปรุง
2.1 พิจารณาทางด้านต้นทุน
ปัจจุบัน กระบวนการทำสีนิยมใช้วิธีการพ่นกันอย่างแพร่หลาย เพราะทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ในความเป็นจริงละอองสีที่พ่นออกไปนั้น คิดเป็นเพียง 50 % ที่ได้ใช้จริง ก็คือส่วนที่เคลือบอยู่บนชิ้นงาน ส่วนอีก 50 % ที่เหลือนั้นมักจะตกอยู่ที่พื้น ดังนั้นจึงมองว่าเป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นค่อนข้างมากของปริมาณการใช้ วัตถุดิบสี เพราะไม่สามารถทำการ Recycle ได้เหมือนกับสีฝุ่น ถึงแม้ในบางที่ได้มีการนำเอาปืนพ่นชนิด Electrostatic เข้ามาใช้เพื่อลด Over spray ลงบ้างก็ตาม นั่นเป็นวิธีการลดความสูญเสียหรือการประหยัดปริมาณการใช้สีที่ดีทางหนึ่ง แต่ยังคงไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงต้องค้นหาวิธีการปรับปรุงเพื่อลดต้นทุนของการสูญเสียนี้ต่อไปอีก
2.2 พิจารณาทางด้านคุณภาพ
การ ผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดขึ้นอยู่กับคุณภาพเป็นหลัก ดังนั้นวิธีการพ่นที่ซึ่งต้องใช้คนเป็นผู้พ่น จึงกลับมาเป็นปัญหา เพราะไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้อย่างตรงไปตรงมาหรืออย่างสม่ำเสมอ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าในแต่ละคนก็มีทักษะที่แตกต่างกัน ทำให้การควบคุมคุณภาพทำได้ยาก ส่วนในกรณีของการพ่นแบบอัตโนมัติที่ไม่ได้ใช้คนเป็นผู้พ่นนั้น ก็ยังคงประสบกับปัญหาชิ้นงานที่มีลักษณะปิด คือมีทั้งพื้นที่ด้านนอกและด้านใน หรือชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผ่านการประกอบมาแล้ว กล่าวคือ ด้วยวิธีการพ่นสี สามารถครอบคลุมเพียงพื้นที่ส่วนนอกเท่านั้น แต่พื้นที่ส่วนในไม่สามารถเข้าถึงได้ ส่งผลให้ชิ้นงานมีอายุการใช้งานที่สั้นลงอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยในกรณีนี้ก็คือ ภาวะการเกิดสนิมในภายหลัง เริ่มมาจากพื้นที่ด้านในนั่นเอง ดังนั้นแล้ว ทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ นั่นคือสิ่งที่ต้องค้นหาและกระทำในหัวข้อถัดไป
3. แนวคิดที่นำมาใช้ในการปรับปรุง
ปัจจุบัน มีวิธีการทำสีชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งอาศัยกลไกทางไฟฟ้าเพื่อช่วยให้การยึดเกาะสีบนผิวของชิ้นงานเป็นไป อย่างราบเรียบและครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกจุด ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีและคงอยู่อย่างถาวร นั่นคือระบบ EDP (Electro Deposition Painting) ซึ่ง ด้วยวิธีนี้จะสามารถขจัดปัญหาดังที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด รวมถึงการประกันคุณภาพและความน่าเชื่อถือหรือความมั่นใจของลูกค้าต่อ ผลิตภัณฑ์ได้ในระยะยาวอีกด้วย ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้วิธีนี้กันแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์
ข้อได้เปรียบของระบบ EDP เมื่อเทียบกับการพ่นสี
· ความคุ้มค่าในการใช้วัตถุดิบสี
ความคุ้มค่าในการใช้วัตถุดิบสีมากขึ้น หรือความสิ้นเปลืองในการใช้สีลดลง เนื่องจากระบบ EDP จะไม่เกิดการฟุ้งกระจายของสี และยังสามารถเคลือบสีได้หลายครั้งและหลายชิ้นงานพร้อมกัน ในขณะที่ปริมาณการใช้สีไม่แตกต่างกันมากนัก
ชนิดของการทำสี | ความคุ้มค่าปริมาณการใช้สี | ความสิ้นเปลืองการใช้สี |
การพ่นสี | 50-60% | 40-50% |
EDP | 90-95% | 5-10% |
· ความสามารถในการยึดเกาะครอบคลุมทั้งด้านนอกและด้านใน
สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาถึงภาวะการครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ ก็คือการกัดกร่อนที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลังการใช้งาน หากสีไม่ครอบคลุมทุกจุด ทำให้อายุการใช้งานสั้น หรือความคงทนต่ำกว่าปกติได้
ชนิดของการทำสี | การเคลือบสีด้านนอก | การเคลือบสีด้านใน |
การพ่นสี | 100% | 0% |
EDP | 100% | 100% |
* ในการพ่นด้านนอกได้อย่างทั่วถึงทุกจุดนั้น ขึ้นอยู่กับความถี่ถ้วนของผู้พ่นเป็นหลัก
· ความหนาชั้นสีที่มีความสม่ำเสมอเท่ากันทุกจุดและทุกชิ้นงาน
เนื่องจากกระบวนการเคลือบสีนั้นดำเนินไปในช่วงเวลาเดียวกัน ด้วยอัตราการยึดเกาะที่เท่ากัน ทำให้เกิดความสม่ำเสมอของสีทุกจุดบนชิ้นงานเป็นอย่างดี ส่วนความหนาชั้นสีสามารถควบคุมได้ด้วยการกำหนดช่วงเวลาในการเคลือบสีนั้น ๆ
ชนิดของการทำสี | ความสม่ำเสมอของความหนาชั้นสี |
การพ่นสี | ขึ้นอยู่กับผู้พ่น |
EDP | 100% |
· ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานต่อการสูดดมสารเคมีเป็นเวลานาน
เนื่องด้วยระบบ EDP เป็นระบบอัตโนมัติที่ใช้ราง Conveyor เป็นตัวลำเลียงชิ้นงานเข้าไป และกลับออกมาเอง ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงทำหน้าที่เพียงในส่วนของการ load และ unload ชิ้น งานเท่านั้น จึงแทบจะไม่ได้รับอันตรายจากการสูดดมเลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นระบบที่ใช้สารเคมีได้อย่างปลอดภัยในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
ชนิดของการทำสี | อันตรายจากการสูดดมสารเคมี |
การพ่นสี | มาก |
EDP | น้อย |
· ความปลอดภัยในเรื่องอัคคีภัย
ด้วยรูปแบบการทำงานของ EDP ตามปกติแล้ว สารเคมีที่ใช้จะอยู่ในรูปของการละลายกับน้ำ และกระบวนการก่อนหลังก็ประกอบไปด้วยระบบที่ใช้น้ำแทบทั้งสิ้น ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะเกิดอันตรายจากประกายไฟ แต่สำหรับวิธีการพ่นนั้น สารเคมีหลักที่ใช้ส่วนใหญ่คือ ทินเนอร์ผสมกับวัตถุดิบสี ซึ่งเป็นสารระเหยที่ไวต่อประกายไฟ ทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่านั่นเอง
ชนิดของการทำสี | ความเสี่ยงเมื่อเกิดประกายไฟ |
การพ่นสี | สูง |
EDP | ต่ำ |
· ความสามารถในการรองรับการผลิตเชิงปริมาณ หรือ Mass Production
เนื่องด้วยการผลิตเชิงปริมาณนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ ความมีคุณภาพ ต้องให้สูงไว้ก่อน ไม่ต้องการ Rework และคุณภาพเท่ากันทุกชิ้น, ต้น ทุนความสิ้นเปลืองการใช้สีและพลังงาน ต้องประหยัดที่สุด และสุดท้ายคือการส่งมอบที่ทันเวลา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า หากลองพิจารณาดูจะเห็นได้ว่า ปัจจัยเหล่านี้มีความสอดคล้องกันกับระบบ EDP ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ชนิดของการทำสี | การรองรับ Mass Production |
การพ่นสี | ไม่ดีเท่าที่ควร |
EDP | มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง |
4. รายละเอียดในการปรับปรุง
4.1 หัวใจหลักของระบบ
รูปที่ 3. ลักษณะการทำงานของถัง ED
จากรูป แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามขั้วไฟฟ้า คือ Anode และ Cathode ส่วนแรกคือ ถังสีที่ติดตั้งแผงนำไฟฟ้าไว้ภายใน เพื่อทำให้น้ำสีมีศักย์ไฟฟ้าหนึ่ง ส่วนที่สองคือ Jig แขวน ชิ้นงานที่ต่อไว้กับไฟฟ้าที่มีศักย์ตรงข้ามกัน จากนั้นเมื่อชิ้นงานถูกหย่อนลงไปในถังแล้ว ความต่างศักย์ไฟฟ้านั่นเองจะเป็นพาหะในการดึงดูดสีให้เกาะติดกับชิ้นงานทุก พื้นที่ เป็นไปในอัตราเดียวกันตลอดทั้งชิ้น กระทั่งชิ้นงานถูกดึงขึ้นไป
4.2 กระบวนการทำงานพื้นฐานของ EDP
หลักสำคัญในการดำเนินงาน EDP อย่าง มีคุณภาพและสมบูรณ์แบบ ก็คือขั้นตอนการทำความสะอาดผิวชิ้นงานให้ปราศจากสิ่งสกปรกคราบไขมันต่าง ๆ จนหมดสิ้นเป็นอันดับแรก ซึ่งก็คือกระบวนการ Pretreatment ถัดมาต้องทำการอุ่นชิ้นงานให้แห้ง เพื่อป้องกันสารเคมีปะปนไปยังห้อง EDP เมื่อชิ้นงานเคลือบสีที่ห้อง EDP แล้ว ต้องส่งเข้าเตาอบแห้งอุณหภูมิสูง เพื่อให้เกิดการ set ตัวของสี สุดท้ายจึงทำการตรวจเบื้องต้น และตรวจสอบคุณสมบัติชั้นฟิล์มสีตามมาตรฐานต่อไป
4.3 ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของห้อง EDP
4.4 กระบวนการชำระล้างที่สำคัญยิ่ง
4.5 สิ่งสำคัญสำหรับการอบแห้ง
เมื่อชิ้นงานผ่านกระบวนการ Pretreatment มา แล้ว ชิ้นงานจะเปียกและมีหยดน้ำเกาะอยู่มากมาย ถึงแม้ว่าสิ่งสกปรกได้ถูกกำจัดออกจากผิวชิ้นงานแล้วก็ตาม แต่ส่วนหนึ่งอาจยังหลงเหลือปะปนอยู่กับหยดน้ำเหล่านั้นได้ เมื่อเข้ากระบวนการอบแห้ง ทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอ ละทิ้งคราบสกปรกเหล่านั้นไว้บนผิวของชิ้นงาน ก่อให้เกิดความไม่บริสุทธิ์ขึ้น แล้วกลายเป็นปัญหาด้านคุณภาพต่อไปหลังจากผ่านกระบวน EDP เช่น ความแข็งของเนื้อสี, ความทนทานต่อการหลุดลอกของสี จะไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงควรเพิ่มขั้นตอนการใช้ลมเป่าไล่หยดน้ำออกจากชิ้นงานให้หมดเสีย ก่อนที่จะทำการอบต่อไป
5. ผลจากการปรับปรุง
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่กระบวนการแรก คือการ load แล้วไปที่ Pretreatment จากนั้นเข้ากระบวนการ EDP แล้วส่งต่อไปยังเตาอบ จนกระทั่งเสร็จสิ้นสมบูรณ์ออกมาที่บริเวณ unload นั้น ล้วนเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งสิ้น ซึ่งมีความต่อเนื่องในการทำงานและคล่องตัวสูง ส่งผลให้การผลิตเชิงปริมาณมุ่งเน้นทางด้านคุณภาพ สามารถดำเนินไปได้อย่างลงตัว สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
6. คำแนะนำเพิ่มเติม
- ควรทำการผสมสารเคมีในแต่ละชนิดเสียก่อนที่จะเทลงไปในถัง ED เพื่อให้เกิดการเข้ากันของเนื้อสีก่อนที่จะสัมผัสกับชิ้นงาน
- ต้องติดตั้งเครื่องกวนอัตโนมัติภายในถัง ED ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการกวนอยู่ตลอดเวลา เป็นการป้องกันการตกตะกอนของสี
- ต้องระมัดระวังเรื่องไฟฟ้าดูด โดยจัดทำป้ายเตือนอันตรายไว้ทุกจุด และมองเห็นได้ชัดเจน
- ต้องระมัดระวังอย่าให้คราบน้ำมันต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มากจากราง Conveyor ตกลงไปในถัง ED โดยอาจทำเป็นรางปิดครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง
- ในส่วนของ Baking oven ควรปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้น เนื่องจากการ set ตัวของสีต้องใช้เวลานานกว่าสีที่ใช้สำหรับพ่นเล็กน้อย
- ควรเอาใจใส่ในเรื่องการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาคุณภาพให้ดีอยู่ตลอดเวลา
7. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
Anode : ขั้วที่จ่ายไอออนประจุลบ
Baking oven : เตาอบสีให้แห้งใช้อุณภูมิสูง
Cathode : ขั้วที่จ่ายไอออนประจุบวก
Deionized water : น้ำบริสุทธิ์ที่ปราศจากไอออน
ED tank : บ่อบรรจุสีสำหรับกระบวนการเคลือบ
Electrode solution tank : บ่อกำเนิดศักย์ไฟฟ้า
Electrostatic gun : ปืนพ่นสีชนิดไฟฟ้าสถิตย์
Flash oven : เตาอุ่นชิ้นงานก่อนเข้ากระบวนการ EDP
Over spray : ละอองสีที่ฟุ้งกระจายมากเกินความจำเป็น
Pretreatment booth : กระบวนการชำระล้างสิ่งสกปรกบนชิ้นงาน
Reverse osmosis : การปรับ/แปรสภาพน้ำ
Tap water : แหล่งจ่ายน้ำ
Ultra filtration : ระบบการกรองส่วนที่ล้น