สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

       Forging Machines แบ่งออกได้เป็นสองชนิดคือ Forging Hammer และ Forging Press

 

       Forging Hammer เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานโลหะประเภท steel โดยใช้แรงกระแทกของค้อน ซึ่งชิ้นงานจะถูกขึ้นรูปและมีคุณสมบัติตามที่ต้องการด้วยการปรับจำนวนและแรงกระแทก การใช้ Forging Hammer มีข้อดีคือ ใช้เวลาในกรขึ้นรูปน้อย ทำให้ผลิตชิ้นงานได้เร็ว และอุณหภูมิของชิ้นงานในระหว่างการ Forge ลดลงไม่มากอย่างไรก็ตามการใช้ Forging Hammer จะมีเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนและการกระแทกดังมาก

 

       Forging Press เป็นเครื่องที่ใช้แรงอัดในการแปรรูปชิ้นงานมีสองชนิดคือ Hydraulic press และ Mechanical Press แต่เนื่องจาก Hydraulic Press มีความเร็วในการทำงานช้า ซึ่งอาจเกิดปัญหาการเย็นตัวของชิ้นงานได้ โดยเฉพาะในขบวนการผลิตแบบ Hot Forging ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ Mechanical Press

 

       เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ในขบวนการ Forging โดยเฉพาะชนิด Forging Hammer จะ ต้องการอาศัยน้ำหนักกระแทกที่มาก เครื่องจักรจะมีลักษณะเป็นการสร้างเหล็กตันเพื่อให้มีน้ำหนักมาก ทำให้เครื่องพวกนี้มีโครงสร้างที่แข็งแรงและมีอายุการใช้งานนานมาก ดังนั้นผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยจึงนิยมซื้อเครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศซึ่ง มีอายุมากแล้ว มาปรับปรุงสภาพและใช้ผลิตในประเทศ แต่การใช้งานเครื่องจักรเก่า ทำให้ลักษณะการผลิตทุบขึ้นรูปเป็นไปตามเทคโนโลยีของเครื่องจักรนั้นด้วย และเนื่องจากเครื่องจักรเก่าจึงทำให้ปัญหาการเสียของเครื่องจักรจึงมีสูงไป ด้วยและประสิทธิภาพในการผลิตของเครื่องจักรไม่ดีพอ

 

       นอกเหนือจากเครื่องจักรดังกล่าวแล้ว ในโรงงาน Forging ยังจำเป็นต้องมีเครื่องจักรอื่นๆในงานตัด งาน Trim และการให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน จึงจำเป็นต้องมีเครื่อง Shearing Machine, Trimming Press และ Heating furnace นอกจากนี้แล้ว ภายหลังงาน Forge ชิ้นงานจะต้องมีการอบชุบด้วยความร้อนเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ โรงงานอาจจะมี Heat-Treat shop เองหรืออาจนำชิ้นงานไปจ้างอุบชุบโรงงานอื่น

 

573

 

       สำหรับการปรับปรุงคุณสมบัติโดยกระบวนการทางความร้อน (Heat Treatment) ซึ่งจะมีหลากหลายวิธีการแตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นการอบอ่อน (Annealing) การอบปกติ (Normalizing) การอบชุบ (Quenching) การอบคืนไฟ (Tampering) การอบคลายความเครียด (Stress Relieve) เป็นต้น สำหรับขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการปรับปรุงคุณภาพผิวด้วยยิงด้วยลูกเหล็กขนาดเล็กหรือกระบวนการยิงทราย

 

       นอกจากกระบวนการขึ้นรูปร้อน (Hot Forging) ยังมีการขึ้นรูปชนิด Warm Forming อีกด้วย โดยอุณหภูมิของชิ้นงานที่จะขึ้นรูปอยู่ที่ประมาณ 800 องศาเซลเซียส ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิของแม่พิมพ์ และต้องใช้แรงในการขึ้นรูปที่สูงกว่าวิธีขึ้นรูปร้อนมาก ซึ่งจะให้คุณสมบัติเชิงกลที่แข็งแรงกว่าการขึ้นรูปร้อน ประเทศพึ่งได้เริ่มการผลิตชิ้นงานด้วยวิธีการนี้ไม่นานนัก ในปัจจุบันมีผู้ผลิตเพียงหนึ่งรายเท่านั้น

 

       ชิ้นรถยนต์ที่ใช้การผลิตโดยกระบวนการทุบขึ้นรูปร้อน ได้แก่ Crank Shaft, Connecting Rod , Intake Valve, Exhaust Valve, Cam Shaft, Knuckle, Axle, CV Joint, Torsion Bar, Pedals, Pedal Kick Starter Arm, Handle Level เป็นต้น

 

       บทความโดย...สุวิชชา บุญยะรัตเวช
       แผนกศึกษาวิเคราะห์ สถาบันยานยนต์

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th