สำหรับการประกอบรถยนต์แต่ละคันนั้น จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนจำนวนมากมาย และหลากหลายประเภท โดยชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านั้นก็ผลิตขึ้นมาจากวัตถุดิบขั้นพื้นฐาน (Raw Material) เช่น เหล็ก อลูมิเนียม พลาสติก ยาง หนัง และผ้า เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบขั้นพื้นฐานเหล่านี้ จะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อการประกอบและการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ทั้งด้านการออกแบบ การพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิต ต้นทุนสินค้า และการทดสอบมาตรฐานชิ้นส่วนรถยนต์
ทั้งนี้รถยนต์หนึ่งคันจะมีการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก และส่วนประกอบที่มีการใช้งานในส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนบริเวณห้องเครื่อง โดยเฉลี่ย 125 กิโลกรัม (อ้างอิงจากแผนแม่บทรายสาขาอุตสาหกรรมพลาสติกปี 2545) หรือ ประมาณ 12.5% ที่รถยนต์น้ำหนัก 1 ตัน ซึ่งเม็ดพลาสติก (PP PE HIPS >A ฯลฯ) ที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทยปัจจุบันยังคงเป็นพลาสติกที่ได้จากกระบวนการผลิตปิโตรเคมีทั้งสิ้น
ขณะที่การใช้ไบโอพลาสติกสำหรับผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในปัจจุบันที่มีการลงทุนและ ดำเนินการอย่างชัดเจนนั้น มีเพียงโตโยต้ามอเตอร์-ญี่ปุ่นเท่านั้น การศึกษาประวัติการพัฒนาโครงการ Toyota Eco-Plastic ของค่ายผู้ประกอบรถยักษ์ใหญ่รายนี้อาจช่วยให้เราเห็นทิศทางและแนวโน้มการใช้ไบโอพลาสติกชิ้นส่วนรถยนต์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ตาราง การลงทุนโรงงานไบโอพลาสติกของโตโยต้ามอเตอร์ 2004
Proposed site | Within an existing production facility in Japan |
Necessary area Planned start of construction Planned start of trial operation Production capacity Raw material Investment |
Within an existing production facility in Japan Approx 5,000m2 Within 2003 August 2004 1,000 tons per year Approx. 2.3 billion yen |
ประวัติการดำเนินการ (ที่มา www.toyotamotor.co.jp)
ปี | การดำเนินการและแผนงาน |
1996
1998
2001
2003 2004
2007 |
ประธาน Hiroshi Okuda ให้วิสัยทัศน์จัดโครงการลดมลพิษจากโรงงานประกอบรถยนต์ ขั้นแรกมุ่งเน้นลงทุนศึกษาการผลิตแอลกอฮอล์จากมันฝรั่งสำหรับรถ fuel cell และรถพลังงานไฟฟ้า การ พัฒนาไบโอเทคโนโลยีล้ำหน้าขึ้นมาก พนักงานเพิ่มขึ้นจาก 7 คน เป็น 70 (และ300 คน หากรวมบริษัทที่เกี่ยวข้อง) มีการจดสิทธิบัตร 352 รายการ แต่โครงการที่มีความเป็นไปได้และมีอนาคต คือ ไบโอพลาสติก * จัดแสดงรถยนต์แบบ ES 3 ซึ่งใช้ชิ้นส่วนไบโอพลาสติก ซึ่งนำวัตถุดิบจากอินโดนีเซีย * ชิ้นส่วนไบโอพลาสติกที่ผลิต คือ ที่ปูพื้นรถใน Toyota รุ่น Raum ที่ขายในญี่ปุ่น จัดโครงการภายใต้ชื่อ Toyota Eco-Plastic ขยายการใช้ชิ้นส่วนไบโอพลาสติกมากขึ้น จัด ตั้งโรงงานผลิตไบโอพลาสติก โดยใช้วัตถุดิบจากอ้อย รายละเอียดการลงทุนดังตาราง และการขยายธุรกิจมิใช่เฉพาะแค่การนำไปใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ มีแผนสร้างโรงงานผลิตไบโอพลาสติกอีกแห่งที่มีขนาดใหญ่กว่าโดยจะมีกำลังผลิตปีละ 50,000 ตัน |
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า หากมีการใช้ไบโอพลาสติกทดแทนพลาสติกจากปิโตรเคมีในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น จะก่อให้เกิดผลกระทบบางประการ อันได้แก่
ผลกระทบด้านการทดแทนพลาสติกจากปิโตรเคมี กับชิ้นส่วนยานยนต์
จากการศึกษาคาดว่า ในอนาคตการใช้ไบโอพลาสติกในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งด้านการลงทุนและประเภทชิ้นส่วนรถยนต์ที่จะพัฒนามีความหลากหลายขึ้น ในขั้นต้นคาดว่าการใช้ชิ้นส่วนรถยนต์จากไบโอพลาสติกจะเป็นชิ้นส่วนทั่วไปที่ ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์กลไกและมาตรฐานความปลอดภัย
ผลกระทบด้านเทคนิคการผลิตชิ้นส่วน
ดังที่กล่าวข้างต้นไว้ว่าวัตถุดิบพื้นฐานมีผลต่อการประกอบรถยนต์และการผลิตชิ้น ส่วนหลายด้านตลอดจนปัจจุบันการพัฒนาชิ้นส่วนรถจากพลาสติกเพื่อทดแทนชิ้นส่วน ที่ผลิตจากโลหะมีสัดส่วนที่สูงขึ้น ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับน้ำหนักรถ ราคาเหล็กและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ดังนั้นในอนาคตการผลิตและใช้ชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการประกอบเพื่อการประหยัด พลังงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นแนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุน
ผลกระทบด้านการค้าและการส่งออก
เนื่องจากไบโอพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ข้อมูลจากการพัฒนาการวิจัยอยู่ในวงแคบดังเช่นไบโอเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น สินค้า GMO ดัง นั้นจากการติดตามข้อมูลด้านเทคโนโลยีและการผลิตแล้ว ผู้ประกอบการควรติดตามปัญหาการกีดกันทางการค้า การใช้สินค้าไบโอพลาสติกที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกีดกันทางการค้าที่ มิใช่ภาษี ซึ่งชิ้นส่วนรถยนต์เองมีข้อกำหนดมาตรฐานหลายมาตรฐานที่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ เช่น การทดสอบคุณภาพชิ้นส่วนและอุปกรณ์ มาตรฐาน ความปลอดภัย มาตรฐานมลพิษ มาตรฐานสิ่งแวดล้อมและขยะสินค้าอุตสาหกรรม การใช้วัตถุดิบใหม่นี้อาจถูกหยิบมาเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าก็เป็น ได้
บทความโดย...นายภัทร์พงษ์ อังคะหิรัญ
แผนกศึกษาและวิเคราะห์ สถาบันยานยน