ในสายการผลิต คำว่าเวลามีความหมายที่หลากหลาย หลายท่านคงจะคุ้นเคยกับความหมายของเวลาประเภทต่าง ๆ เช่น Cycle Time, Standard Time ซึ่งอธิบายถึงเวลาในการทำงานในรอบหนึ่ง ๆ Lead Time ที่บอกถึงความเร็วในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า Set up Time และ Break Down Time ที่ หมายถึงเวลาที่ต้องหยุดเครื่องเพื่อทำการเปลี่ยนรุ่น และซ่อมเครื่องจักร จะเห็นได้ว่าคำศัพท์ที่แสดงความหมายของเวลาประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในโรงงานมีอยู่มากมายและคำว่า “Takt Time” ก็เป็นความหมายของเวลาอีกประเภทหนึ่งซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การผลิตแบบ Just In Time ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของระบบการผลิตแบบลีน (Lean Production System: LPS)
Takt เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า จังหวะในเพลง Takt Time ในความหมายของ LPS คือ จังหวะหรือความเร็วของการขายสินค้าให้กับลูกค้า (Customer Speed) ในการคำนวณ Takt Time จะคำนวณโดยการนำเวลาที่ผู้ผลิตทำงานตามปกติ หารด้วยปริมาณสินค้าที่ลูกค้าต้องการ
Customer needed amount
ตัวอย่าง กรณีสายการผลิตเดียวกันมี 3 ผลิตภัณฑ์ที่จะต้องทำการผลิต คือ A B และ C ซึ่งมีปริมาณความต้องการในแต่ละเดือนดังนี้
A 6000 ชิ้น
B 3000 ชิ้น
C 1000 ชิ้น
ตามแนวคิดของ LPS ซึ่งเน้นในเรื่องของ Level production หรือ การปรับเรียบการผลิต ที่มุ่งเน้นให้เกิดความสม่ำเสมอของกิจกรรมการผลิตในแต่ละวัน ขณะเดียวกันในแต่ละวันก็จะต้องมีโอกาสที่จะผลิตชิ้นงานทั้ง 3 ชนิด เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้า ดังนั้นหากบริษัทมีวันทำงานปกติอยู่ที่เดือนละ 25 วัน ปริมาณชิ้นงานที่จะต้องผลิตต่อวัน คือ
A 240 ชิ้น
B 120 ชิ้น
C 40 ชิ้น
การคำนวณ Takt Time ก็คือการนำเวลาทำงานปกติของสายการผลิตนี้ 7.5 ชั่วโมง หารด้วยปริมาณสินค้าที่ลูกค้าต้องการต่อวัน คือ 400 ชิ้น
Takt Time = 7.5 x 60 x 60 = 67.5 วินาที