แนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตในกรณีที่ส่วนต่างของ Cycle Time กับ Takt Time มีค่ามาก สามารถทำได้หลายแนวทาง คือ
1. กรณี Cycle Time = 90 วินาที หากพิจารณาว่าปริมาณที่ลูกค้าสั่ง เป็นช่วงที่สูงผิดปกติและจะเกิดในระยะสั้น ๆ เราสามารถเพิ่มเวลา Takt time ได้ ด้วยการเพิ่มเวลาทำงานในแต่ละวัน ซึ่งจะทำให้เวลาทำงานต่อวันมีค่ามากขึ้น หรือกระทั่งเพิ่มวันทำงาน ซึ่งก็จะทำให้ปริมาณที่ลูกค้าต้องการต่อวันลดลง
2. กรณี Cycle time ของพนักงานคนที่ 1 = 60 วินาที และคนที่ 2 = 40 วินาที การปรับปรุงการผลิตเพื่อลด Cycle Time ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้สายการผลิตสามารถทำการผลิตสินค้าได้ภายใน Takt Time และยิ่งหากสามารถลดจำนวนพนักงานในสายการผลิตลงได้ในขณะที่ยังสามารถทำงานได้ภายในเวลา Takt Time และไม่กระทบกับทางด้านคุณภาพ ก็ยิ่งแน่ใจได้ว่าสายการผลิตจะมี Productivity ที่ดียิ่งขึ้น
3. กรณี Cycle Time = 130 วินาที และกำลังการผลิตของเครื่องจักรยังมีเพียงพอ เราสามารถพิจารณาจำนวนคนที่เหมาะสมสำหรับสายการผลิตนี้ได้โดย
จำนวนคนที่เหมาะสม = Cycle Time
Takt Time
= 130 / 67.5
= 1.92 à 2 คน
เมื่อทราบจำนวนคนที่เหมาะสมแล้วจึงทำการแบ่งงานออกเป็นงานย่อย ๆ และจ่ายงานให้พนักงานแต่ละคนให้ใช้เวลาใกล้เคียงกัน โดยงานที่แต่ละคนทำจะต้องใช้เวลาไม่เกิน Takt Time (67.5 วินาที)
4. กรณี Cycle Time = 120 วินาที หากพิจารณาแล้วว่าจำเป็นที่จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตของเครื่องจักร และในระยะยาวการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต มีความคุ้มค่า โดยการเพิ่มสายการผลิตลักษณะเดียวกับแบบเดิมขึ้นอีกหนึ่งสายการผลิต (กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 2 เท่าของกำลังการผลิตเดิม) เพื่อรองรับยอดคำสั่งซื้อที่ใกล้เคียงกับของเดิม ดังนั้น Takt Time ใหม่จะเป็น 2 x 67.5 = 135 วินาที
แต่ในกรณีที่ Cycle Time น้อยกว่า Takt Time มาก หมายความว่าการจ่ายงานให้กับพนักงานในสายการผลิตนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือในทุก ๆ รอบการผลิตตามเวลา Takt Time พนักงานจะมีเวลาหยุดรอซึ่งถือเป็นความสูญเปล่า ตามแนวทางของ LPS หากสามารถแบ่งงานในกระบวนการออกเป็นงานย่อย ๆ ได้ ให้จ่ายงานให้พนักงานแต่ละคนให้มากที่สุดภายในเวลา Takt Time เพื่อให้ Cycle Time ของพนักงาน ใกล้เคียงกับ Takt Time มากที่สุด ซึ่งถือเป็นการใช้งานบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ