ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีการรีไซเคิลวัสดุจากรถยนต์ถึงประมาณ 80% โดยน้ำหนัก โดยนักวิจัยและผู้ผลิตมีความตั้งใจที่จะรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้น จึงมุ่งความสนใจไปที่ส่วนที่เหลือจากการย่อยเศษเหล็ก shredder residue หรือ fluff ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลาสติกและยาง Argonne National Laboratory (ANL) จึงร่วมกับผู้ผลิตยานยนต์ของสหรัฐ และอุตสาหกรรมพลาสติก ได้พัฒนาแนวคิด End-of-Life Vehicle (ELV) เพื่อให้อย่างน้อย 85% ของวัสดุยานยนต์สามารถใช้ซ้ำหรือ recover ได้ และอย่างน้อย 80% ของวัสดุยานยนต์สามารถรีไซเคิลได้
ที่ห้องทดลอง shredder residue จะถูกนำไปผ่าน 2 กระบวนการ คือ กระบวนการแรกการแยกแบบหยาบ (Bulk Separation) เป็น 4 ประเภทหลัก 1. พลาสติกผสม ซึ่งประกอบด้วย โพลีโพรพิลีน โพลีเอททิลีน เอบีเอส ไนลอน พีวีซี โพลีเอสเตอร์ และพลาสติกอื่น ๆ 2. โพลียูรีเทนโฟมและวัสดุผสมลักษณะเดียวกัน เช่น พีบีดีอี (polybrominated diphenyl ether) และวัสดุทนไฟ ที่เหลือคือ เศษโลหะ และวัสดุซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 0.25 นิ้ว รวมทั้งออกไซด์ ของโลหะ เส้นใย แก้ว และฝุ่น กระบวนการที่ 2 คือ การแยก 6 ขั้นตอนด้วย flotation process เพื่อแยกพลาสติกด้วยสารละลายพิเศษ ซึ่งจะทำให้แยกโพลีเอททิลีน และโพลีโพรพิลีนซึ่งเป็นพลาสติกหลัก ๆ ได้และนำไปเข้าโมลผลิตเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ใหม่ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างแยกพลาสติกอื่น ๆ ออกมาจากพลาสติกผสม
โดยสามารถแยกได้ 2 ตัน/ชั่วโมง สำหรับการแยกเชิงกล และ 1,000 ปอนด์/ชั่วโมง สำหรับ floating system
ปัจจุบันกฎหมายของ U.S.EPA กำหนดให้ shredder residue ฝังกลบในหลุมฝังกลบได้หากมีองค์ประกอบของ PCB น้อยกว่า 50 พีพีเอ็ม หากพลาสติกเหล่านี้สามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้จะต้องมี PCB น้อยกว่า 2 พีพีเอ็ม
ขอขอบคุณที่มาจาก : วารสาร Plastic Focus ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม-สิงหาคม 2551 ISSN 0859-1911