สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
กฎระเบียบและข้อกำหนดยานยนต์
กฎระเบียบและข้อกำหนดล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

รถ ยนต์ในปัจจุบันนอกจากปิกอัพ รถยนต์ยุโรปรุ่นใหญ่ และรถสปอร์ตราคาแพง ส่วนใหญ่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้ากันเกือบหมดแล้วเพราะมีข้อดี คือ ต้นทุนการผลิตต่ำ, ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และห้องโดยสารกว้างขวาง

 

 

เพลา ขับในระบบขับเคลื่อนล้อหน้าต้องทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนและต้องเลี้ยวได้ แม้การพัฒนาด้านเทคโนโลยี ได้ทำให้เพลาขับเคลื่อนล้อหน้ามีความทนทานมากขึ้น แต่การใช้งานอย่างถูกวิธี ก็สำคัญในการยืดอายุการใช้งาน

 

รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้าส่วนใหญ่มีตำแหน่งการวางของเครื่องยนต์แบบวางขวาง ทั้งบล็อก 4 สูบเรียง หรือบล็อกวี ต่างจากรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังที่มักวางเครื่องยนต์ตามยาวอย่างไรก็ตาม มีรถยนต์บางยี่ห้อ เช่น ออดี้ ซูบารุ ฯลฯ ที่เป็นรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า แต่วางเครื่องยนต์ตามยาว สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อบางรุ่น เช่น โตโยต้า ราฟ4, ฮอนด้า ซีอาร์-วี หรือ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน แม้เป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ แต่จากการที่พัฒนามาจากรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า ทำให้ตำแหน่งการวางของเครื่องยนต์ ยังเป็นแบบวางขวาง

 

ทำไมถึงต้องเปลี่ยนแปลง

สาเหตุ หลักที่ทำให้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าได้รับความนิยมจากผู้ผลิตรถยนต์ มีหลายสาเหตุหลัก คือลดการสูญเสียกำลังที่ถ่ายทอดออกจากเครื่องยนต์ เพราะระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ต้องมีเพลากลางท่อนยาว ในขณะที่ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าไม่ต้องมีเพลากลาง จึงทำให้มีการส่งกำลังอย่างฉับไว และช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

 

ลด ต้นทุนการผลิต เพราะในรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า มีชิ้นส่วนไม่มากเท่ากับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง จึงไม่ใช่แค่ลดต้นทุนได้แค่เพลากลาง แต่ยังมีอีกหลายชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถลดต้นทุนลงได้

 

สามารถ เพิ่มขนาดของห้องโดยสาร แม้รถยนต์แบบขับเคลื่อนล้อหน้า ส่วนใหญ่จะยังมีอุโมงค์กลาง เพราะเป็นตัวช่วยเพิ่มความแข็งแรงของตัวถัง หรือเป็นที่ติดตั้งท่อไอเสีย แต่อุโมงค์กลางก็ไม่จำเป็นต้องกว้าง-สูง เหมือนกับรถยนต์แบบขับเคลื่อนล้อหลังพื้นที่บริเวณใต้-หลังเบาะหลัง ก็ไม่ต้องนูนขึ้นมาเผื่อไว้สำหรับเพลาท้ายและเฟืองท้าย

 

เพลาขับไม่ทนจริงหรือ

เพลา ขับเป็นประเด็นหลักในความกังวลเรื่องความทนทาน เพราะต้องทำหน้าที่ทั้งขับเคลื่อนและเลี้ยวตาม เพลาขับในยุคแรกมักไม่ทนทาน จนเกิดความเชื่อที่ไม่ดีต่อเนื่องกันมา แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทำให้เพลาขับมีอายุการใช้งานมาก ขึ้นกว่า 100,000 กิโลเมตรแล้ว

 

หากมีการดูแลรักษาที่ถูกต้องและใช้งานอย่างถูกวิธี เพลาขับมีอายุการใช้งานเฉลี่ยเกิน 100,000 กิโลเมตรแน่นอน และรถสปอร์ตในระดับ 200 แรงม้าที่จำหน่ายในตลาดหลายรุ่นก็ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า เช่น ฮอนด้า พรีลูด หรือ โตโยต้า เซลิกาย่อมแสดงให้เห็นถึงความทนทานของเพลาขับหน้า

 

ตรวจสอบเพื่อความมั่นใจ

ภายในข้อต่ออ่อนตรงหัวเพลา 2 จุดต่อเพลา 1 แท่ง มีส่วนประกอบของลูกปืน, เสื้อเพลา และเพลา โดยถูกหล่อลื่นด้วยจาระบี และถูกห่อหุ้ม เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้าด้วยยางหุ้มเพลา ซึ่งจุดนี้จำเป็นต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ

 

ในสภาพการใช้งานปกติ ยางหุ้มเพลามีอายุการใช้งานเฉลี่ย 50,000-100,000 กิโลเมตร และถ้าไม่พบการฉีกขาดควรถอดเพลาออกมาทำความสะอาดทุก 100,000 กิโลเมตร เปลี่ยนจาระบีชนิดเฉพาะและใช้ยางหุ้มเพลาคุณภาพสูง

 

หาก มีการฉีกขาดของยางหุ้มเพลา โดยเฉพาะตัวนอกที่จะต้องเลี้ยวตามล้อบ่อยๆ ต้องซ่อมแซมทันที หากปล่อยทิ้งไว้ความเสียหายอาจลุกลาม จนต้องเปลี่ยนเพลาขับทั้งแท่ง ตามที่ได้ยินเสียงดังก๊อกๆ ขณะเลี้ยวราคาของเพลาขับเคลื่อนล้อหน้า ถ้าเป็นของแท้-ใหม่ประมาณแท่งละ 8,000-15,000 บาท แต่สำหรับรถยนต์ญี่ปุ่นยังมีทางเลือกของเพลาขับมือสองจากเชียงกงในราคาไม่แพงเพียง 1,500-3,000 บาท

 

ดูแลถูกต้องลดค่าใช้จ่าย

วิธี ปฏิบัติเพื่อยืดอายุเพลาขับเคลื่อนล้อหน้า คือ ออกตัวเมื่อล้อตั้งตรงและขับด้วยความนุ่มนวล แล้วจึงค่อยเพิ่มความเร็วการออกตัวด้วยความรุนแรงทำให้เพลาขับมีอายุการใช้ งานสั้นลง

 

ถ้า ใช้ระบบเกียร์อัตโนมัติ ควรเหยียบเบรกก่อนเข้าเกียร์เดินหน้า หรือถอยหลังทุกครั้ง เพื่อลดแรงกระตุกหรือกระชากของเครื่องยนต์ที่ส่งไปยังเพลาขับ ระหว่างการขับเมื่อผิวถนนไม่เรียบ ควรลดความเร็วลงอย่างช้าๆ เพราะการเบรกที่รุนแรงมีส่วนทำให้เพลาขับมีอายุการใช้งานสั้นลงการเลี้ยวมุม แคบและกลับรถควรใช้ความเร็วต่ำที่สุด และหลีกเลี่ยงการขับเคลื่อนพร้อมการเลี้ยวเป็นมุมแคบอย่างต่อเนื่องเพื่อลด ภาระของเพลาขับ

 

การ เข้า-ออกจากที่จอดรถริมทางเดินเท้า ไม่ควรขับในขณะที่หมุนพวงมาลัยสุดเพราะเมื่อเพลาขับหมุนพร้อมกับหักเลี้ยว สุด จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง ถ้ารู้ตัวว่าหมุนสุด ให้คืนพวงมาลัยเล็กน้อย แล้วค่อยเลี้ยวและขับต่อไปด้วยความนุ่มนวล

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th