สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
กฎระเบียบและข้อกำหนดยานยนต์
กฎระเบียบและข้อกำหนดล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

การเลือกขนาดของเทอร์โบ

ปริมาตรความจุกระบอกสูบเป็นองค์ประกอบหลักในการเลือกขนาดของเทอร์โบ ตามหลักการนั้น การเลือกขนาดเทอร์โบ จะต้องเลือกให้เหมาะสมทั้งด้านกังหันไอดีหรือคอมเพรเซอร์ และกังหันไอเสียหรือเทอร์ไบน์

 

 

กังหันด้านไอดีจะต้องสามารถประจุไอดีเพียงพอต่อความต้องการของเครื่องยนต์ เทอร์โบที่มีขนาดเล็กเกินไปจะมีแต่แรงดันเสริม มวลของอากาศน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเครื่องยนต์ ขณะที่กังหันไอเสีย ก็จะต้องมีขนาดพอเหมาะ ถ้าเล็กเกินไป ถึงจะหมุนได้เร็ว บูสท์มาเร็ว แต่จะไปขัดขวางการไหลของไอเสีย ทำให้เกิดแรงดันย้อนกลับในระบบไอเสีย

 

กังหันไอเสียที่ใหญ่เกินไป ไอเสียจะปั่นกังหันไอเสียได้รอบการหมุนต่ำ กังหันไอดีก็จะหมุนช้าตามไปด้วย ทำให้สร้างแรงดันเสริมหรือบูสท์ได้ช้า และน้อย กังหันไอเสียที่มีขนาดเท่ากัน สามารถกำหนดอัตรารอบการหมุนให้ช้าหรือเร็วได้ ถึงแม้ว่าไอเสียจะมีมวลเท่าเดิม และกังหันไอเสียเท่าเดิม แต่สามารถปรับเปลี่ยนรอบการหมุนของกังหันไอเสียได้ด้วย A/R Ratio

 

image_112A/R Ratio คือ อัตราส่วนของคอคอดภายในโข่งไอเสีย ส่วนที่แคบที่สุดด้านในของโข่งไอเสียบริเวณทางเข้าของไอเสีย หารด้วยระยะตั้งแต่จุดศูนย์กลางของกังหันจนถึงจุดศูนย์กลางของทางเดินไอเสีย

 

A/R Ratio จะเป็นตัวกำหนดความเร็วรอบการหมุนของกังหันไอเสีย ซึ่งจะมีผลต่อการตอบสนองของบูสท์ด้วย บูสท์จะมาช้าหรือเร็ว ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ A/R Ratio นี้ด้วย

 

A/R Ratio จะกำหนดรอบการหมุนของกังหัน โดยการควบคุมความเร็วการไหลของไอเสีย ที่จะเข้าไปปั่นกังหันไอเสีย ในเมื่อกังหันไอเสียมีขนาดเท่าเดิม และไอเสียมีปริมาณเท่าเดิม การเปลี่ยนขนาดคอคอดหรือ A/R Ratio ก่อนที่ไอเสียจะเข้าไปปั่นกังหัน จะทำให้ไอเสียมีความเร็วแตกต่างกันตามขนาดของคอคอด ถ้าคอคอดใหญ่ กังหันไอเสียก็จะหมุนช้าตามไปด้วย ขนาดของคอคอดบริเวณทางเข้าภายในโข่งไอเสียมีขีดจำกัดอยู่ที่ แรงดันย้อนกลับ ยิ่งเล็กเท่าไรยิ่งมีแรงดันย้อนกลับมากขึ้น

 

ถ้า A/R Ratio สูงเกินไป คอคอดใหญ่ การตอบสนองต่ออัตราการเร่งของบูสท์เทอร์โบจะช้า แต่ความร้อนสะสมในตัวเทอร์โบจะน้อย การระบายของไอเสียจะไม่เกิดแรงดันย้อนกลับมาก การสร้างแรงดันเสริมหรือบูสท์จะช้า จะบูสท์ที่รอบสูง เรียกว่ามีการรอรอบมาก

 

คอคอดเล็ก A/R Ratio ต่ำเกินไป ถึงแม้ว่าไอเสียที่เข้าไปปั่นกังหันไอเสียจะมีความเร็วสูง มีการตอบสนองต่ออัตราเร่งของบูสท์รวดเร็ว แต่ความร้อนสะสมในตัวเทอร์โบจะสูง และเกิดแรงดันย้อนกลับในระบบไอเสียมาก

 

ยิ่ง A/R Ratio น้อยเท่าไร ยิ่งเกิดแรงดันย้อนกลับมากขึ้น ถึงแม้จะมีการตอบสนองดี เครื่องยนต์จะกำลังตกในรอบสูง กำลังสูงสุดของเครื่องยนต์จะอยู่ที่รอบต่ำเท่านั้น

 

การคำนวณหาขนาดของเทอร์โบ และA/R Ratio ที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ตามทฤษฎีนั้นมีความละเอียดอ่อนมาก และถึงที่สุดเมื่อคำนวณตัวเลขออกมาก็ไม่สามารถหาเทอร์โบได้ตามขนาดที่คำนวณได้ ถึงสุดท้ายก็ต้องเทียบต้องดัดแปลงเลือกใช้กันตามมีตามเกิดเท่าที่มีให้เลือก พลิกแพลงไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังอ้างทฤษฎีมาใช้กันได้บ้าง

 

ถ้าเป็นเทอร์โบใหม่ 100% ก็อาจจะเลือกขนาดของเทอร์โบตามที่คำนวณไว้ แต่เทอร์โบใหม่ 100% มีราคาแพง ราคาที่พอหาซื้อได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท แต่เทอร์โบใหม่ที่กระจายขายกันอยู่ในร้านเล็ก ๆ ในเชียงกง อาจจะหาซื้อได้ในราคาตัวละไม่กี่พันบาทไล่ไปจนถึง 10,000 บาท ส่วนใหญ่จะเป็นเทอร์โบที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ คือ คุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด เพราะดูกันในแง่ของความเป็นไปได้ในเรื่องของราคา ขนาดไปซื้อที่เมืองนอกเอง ก็ไม่เห็นว่าจะมีเทอร์โบใหม่คุณภาพดี จะมีราคาต่ำกว่าหมื่นบาทสักตัว (ยังไม่รวมภาษีและค่าขนส่งกำไร) การซื้อเทอร์โบที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพนั้น อาจจะนำมาใช้ได้ก็จริง แต่ต้องแล้วแต่ดวง ถ้ามีคุณภาพสัก 60-70% ก็อาจจะใช้งานได้ดีกว่าเทอร์โบเก่าตามเชียงกง บางครั้งเทอร์โบใช้แล้วที่ยังไม่ผ่านการใช้งานมามากนัก ก็อาจจะใช้งานได้ดีกว่าเทอร์โบนี้เสียอีก

 

เทอร์โบที่น่าเลือกใช้ที่สุด (ในงบประมาณที่ไม่สูงนัก) ก็เป็นเทอร์โบเก่าตามตลาดเชียงกง มีให้เลือกกันพอสมควร เทอร์โบเก่าจะมีราคาหนึ่งพันไล่ไปจนถึงกว่าห้าพันบาทตามแต่สภาพ และความต้องการของตลาด รวมถึงการตกแต่งด้วย การเลือกซื้อต้องเดินดูให้ทั่วก่อน อย่าลืมหาราคาต่ำสุดของแต่ละร้านก่อน ถ้าวนกลับมาซื้อในรอบสอง จะต่อราคาไม่ได้อีกแล้ว เพราะแสดงถึงความต้องการจะซื้อ

 

เล่นเทอร์โบเก่าเลือกอย่างไรให้เหมาะ

เลือกตามขนาดความจุกระบอกสูบ (ซีซี) ของเครื่องยนต์ที่เทอร์โบตัวนั้นเคยติดอยู่ เพราะนั่นหมายถึงว่า ทางโรงงานได้คำนวณความเหมาะสมระหว่างเทอร์โบกับขนาดของเครื่องยนต์ไว้แล้ว

 

ถ้าเลือกเทอร์โบที่เคยติดตั้งกับเครื่องยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบน้อยกว่าเครื่องยนต์ที่นำเทอร์โบมาติด หรืออัตราการตอบสนองต่ออัตราเร่งจะดี บูสท์เร็ว อาการ “รอบรอบ” (Turbo Lag) จะน้อย เร่ง 2,000-3,000 รอบเทอร์โบก็บูสท์แล้ว แต่ความร้อนสะสมมาก มีแรงดันย้อนกลับในระบบไอเสียมาก ถ้าขับทางไกลหรือใช้รอบสูงจะไม่ค่อยดี ไอดีมี “มวล” น้อยเพราะกังหันไอดีเล็ก ไม่แรงเท่าที่ควร
ทางที่ดีควรเลือกเทอร์โบที่เคยใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความจุเท่ากันจะดีกว่า แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ถ้าหาเทอร์โบในขนาดที่เหมาะสมไม่ได้ ก็สามารถเลือกเทอร์โบขนาดเล็กกว่าความเหมาะสมมาใช้ได้ การใช้งานในเมืองนั้นดี ไม่รอรอบมาก แต่พอออกต่างจังหวัดก็อย่าลากยาว หรือแช่ รอบสูงนาน ๆ แต่มีข้อแม้ว่า ไม่ควรเลือกเทอร์โบที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่เล็กกว่าเครื่องยนต์ที่จะนำเทอร์โบมาติดเกินกว่า 200-300 ซีซี

 

ถ้าเลือกเทอร์โบที่เคยใช้กับเครื่องยนต์ที่มีขนาดความจุมากกว่าเครื่องยนต์ที่จะนำเทอร์โบมาติดสักเล็กน้อย เช่น เทอร์โบ 1800 ซีซีมาใส่เครื่องยนต์ 1,600 ซีซี อัตราการตอบสนองจะไม่ดีนัก มีอาการรอบรอบมาก กว่าบูสท์จะมาก็ต้องเร่งรอบสูงเกิน 3,000 รอบขึ้นไป ขับในเมืองไม่ค่อยสนุกเหมือนเทอร์โบเล็ก แต่ขับทางไกลดี ความร้อนสะสมน้อย แรงดันย้อนกลับในระบบไอเสียน้อย เวลาบูสท์จะแรงกว่าการใช้เทอร์โบเล็ก เพราะกังหันไอดีใหญ่กว่า เพราะถึงแม้จะควบคุมไว้เท่ากันแต่ “มวล” ของไอดีมากกว่าแรงกว่าที่ใช้เทอร์โบตัวเล็ก อย่าเลือกเทอร์โบที่เคยใช้กับเครื่องยนต์ที่มีความจุมากกว่าเครื่องยนต์ที่จะติดเทอร์โบเกินกว่า 200-400 ซีซี เพราะการตอบสนองจะแย่มาก

 

การเลือกซื้อเทอร์โบเก่า

ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการขายขาด ซื้อแล้วห้ามเปลี่ยน แต่ถ้าหาร้านที่ขายแบบแพงหน่อยแต่เปลี่ยนได้ในระยะ 7-10 วันจะดีกว่า การเลือกซื้อเทอร์โบเก่านั้น จะว่าเสี่ยงดวงก็ได้ เพราะดูได้แค่สภาพภายนอกไม่แตกหักหรือร้าวหมุนแกนดูลื่นหรือไม่ โยกแกนดันแกนกังหันต้องไม่หลวมคลอนตามแนวนอน-แนวตั้งได้มาก ล้วงหรือส่องดูภายในโข่งไอดี-ไอเสียว่ามีคราบน้ำมันเครื่องรั่วจากซีลกันน้ำมันเครื่องจากแกนช่วงกลางที่มีระบบหล่อลื่นหรือไม่

 

การเลือกซื้อเทอร์โบเก่านั้น ควรเลือกเทอร์โบที่ยังไม่ได้รับการล้าง “ย้อมแมว” ให้ดูใหม่ เพราะจะไม่สามารถทราบถึงสภาพที่แท้จริงได้ พยายามเลือกแบบที่ข้างนอกเลอะ ๆ แต่ข้างแจ๋ว ๆ ควรเลือกซื้อแบบที่ยังติดตั้งกับท่อร่วมไอเสียและท่อทิ้ง (หลังจากหังหันไอเสีย) เพราะจะได้ปะเก็นของแท้ ทนทาน ไม่ต้องเสียเงินเสียเวลาสั่งตัดใหม่ ถ้ามีท่อยางเข้า-ออกด้านไอดีมาด้วยจะดีมาก

 

THAIDRIVER

ที่มา : http://automobile.mweb.co.th/technology/

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th