สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
กฎระเบียบและข้อกำหนดยานยนต์
กฎระเบียบและข้อกำหนดล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

Blow Off Valve ในระบบเทอร์โบ

ทำไมต้องใส่ Blow Off Valve

เพราะต้องการให้การประจุอากาศมีความต่อเนื่องมากขึ้น และป้องกันแกนเทอร์โบขาดในช่วงที่เทอร์โบบูสท์อยู่แล้วถอนคันเร่งกระทันหัน ในช่วงเปลี่ยนเกียร์หรือในช่วงที่ถอนคันเร่งแล้วจะเหยียบคันเร่งต่อ

 

 

เมื่อมีการถอนคันเร่งโดยฉับพลัน ลิ้นปีกผีเสื้อจะปิดในทันที ระบบอัดอากาศที่เคยประจุไอดีเข้าสู่ปริมาตร และถูกลิ้นปีกผีเสื้อปิดกั้น ไม่ให้อากาศอัดผ่านในทันที แรงอัดของไอดีจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หน่วงการหมุนของแกนเทอร์โบที่กำลังหมุนรอบจัดอยู่ ทั้งนี้เพราะลิ้นปีกผีเสื้อได้ลดปริมาตรที่จะอัดไอดีอย่างกระทันหัน จึงเกิดแรงดันย้อนกลับ ณ ลิ้นปีกผีเสื้อ รอบการหมุนของแกนเทอร์โบจะช้าลงในทันที โดยที่เสี้ยววินาทีนั้นยังมีไอเสียมาปั่นกังหันไอเสียให้หมุนรอบจัดอยู่

 

กังหันไอดีลดรอบอย่างรวดเร็ว แต่กังหันไอเสียยังหมุนต่ออีกหน่อย แกนเทอร์โบอาจจะขาดได้ ถึงแม้ว่าแกนเทอร์โบจะไม่ขาดแต่รอบการหมุนของเทอร์โบก็จะลดลง ถ้าจะเหยียบคันเร่งซ้ำ กว่าจะบูสท์อีกครั้งก็ต้องไล่รอบกันใหม่อีกหลายวินาที และนอกจากการถอนคันเร่งอย่างกระทันหัน ในช่วงการเปลี่ยนเกียร์ก็มีอาการใกล้เคียงกัน

 

ประโยชน์

Blow Off Valve คือ อุปกรณ์ช่วยระบายแรงดันส่วนเกินหน้าลิ้นปีกผีเสื้อ ในขณะที่ถอนคันเร่งกระทันหัน หรือในช่วงเปลี่ยนเกียร์เพื่อมิให้กังหันไอดีของเทอร์โบถูกจำกัดปริมาตรการอัดอากาศ จนแกนเทอร์โบลดรอบการหมุนอย่างรวดเร็ว ป้องกันมิให้แกนเทอร์โบขาด ไล่รอบ และบูสท์ได้ต่อเนื่อง

 

ปัญหาการลดรอบการหมุนของเทอร์โบหลังการถอนคันเร่งอย่างกระทันหัน จะมีผลต่อความรื่นรมย์ในการขับขี่เป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่จะป้องกันแกนเทอร์โบขาด ยังเป็นการรักษารอบการหมุนของแกนเทอร์โบไว้เพื่อการกดคันเร่งซ้ำ เพราะอาจจะต้องใช้เวลา 1-3 วินาที กว่าเทอร์โบจะบูสท์อีกครั้ง ช่วงเปลี่ยนเกียร์บูสท์ได้ต่อเนื่องกว่า

 

 

 

การทำงาน

Blow Off Valve ส่วนใหญ่จะมีการควบคุมการยกวาล์วเพื่อระบายแรงดันด้วยไดอะเฟรมซึ่งจะออกแบบให้วาล์วยกเมื่อมีการถอนคันเร่ง แรงดูดสุญญากาศจะเพิ่มขึ้นจากปกติ 16-20 นิ้วปรอท เป็น 20-22 นิ้วปรอทขึ้นไป

 

ในรอบเดินเบา Blow Off Valve จะยังไม่เปิดหรือยกตัว แต่จะยกตัวเมื่อมีแรงดูดสุญญากาศ 20-22 นิ้วปรอทขึ้นไปในทุก ๆ ครั้ง นอกจากนี้ ยังมี Blow Off Valve บางแบบใช้ระบบไฟฟ้าในการควบคุมการยกตัวของวาล์ว โดยรับสัญญาณมาจากขาคันเร่งบริเวณลิ้นปีกผีเสื้อ แต่ Blow Off Valve ชนิดนี้มีความยุ่งยากในการดัดแปลง

 

ลักษณะ

Blow Off Valve มีรูปร่างหลายแบบ แต่ที่สำคัญคือจะมีกระเปาะไดอะเฟรม ท่อทางเดินอากาศขนาดใหญ่ 4-6 หุน 2 ช่อง บางแบบด้านหนึ่งเป็นหน้าแปลน อีกด้านหนึ่งเป็นท่อขนาด 4-6 หุน แถว ๆ กระเปาะไดอะเฟรมจะมีท่อขนาดเล็กสำหรับเสียบสาย Vacuum ต่อไปยังท่อร่วมไอดี รวมแล้วทุกแบบมี 2 ท่อใหญ่ 1 ท่อเล็ก

 

การติดตั้ง

ท่อใหญ่ด้านหนึ่งจะต่อเข้ากับท่อระหว่างท่อเทอร์โบกับลิ้นปีกผีเสื้อ ส่วนท่อใหญ่สำหรับระบายต่อไปเข้าหม้อกรองหรือท่อดูดด้านปากเทอร์โบ เพื่อให้เสียงเงียบ แต่บางคนชอบเสียงระบายแบบแตก ๆ ก็จะไม่ต่อท่อระบายวน จะปล่อยทิ้งเลย Blow Off Valve บางแบบไม่ได้มีท่อระบายต่อไปยังด้านดูดของเทอร์โบ แต่ทำเป็นปากคล้าย ๆ แตร เพื่อให้เกิดเสียงแปลก ๆ เวลาวาล์วระบายแรงดันเปิด

 

THAIDRIVER

ที่มา : http://automobile.mweb.co.th/technology/

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th