สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก
กฎระเบียบและข้อกำหนดยานยนต์
กฎระเบียบและข้อกำหนดล่าสุด

ค้นหาข้อมูล

       โช้กอัพ สปริง ระบบช่วงล่างของรถยนต์ทั่วไป ส่วนใหญ่ออกแบบสำหรับการใช้งานทั่วไป เน้นความนุ่มนวลเป็นหลัก มีการทรงตัวที่ดีในช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง ด้วนสปริงที่มีค่าความแข็งไม่มากนัก และโช้กอัพที่นุ่มนวล เมื่อใช้ความเร็วสูงจึงมักเกิดอาการโคลง

 

 

       การเพิ่มประสิทธิภาพด้านนี้ มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ใช้ความเร็วสำหรับผู้ที่ใช้ความเร็วสูงเป็นประจำ หรือเพิ่มความแรงให้เครื่องยนต์ จนช่วงล่างเดิม ไม่สามารถให้ความมั่นใจได้เต็มที่ โดยมักเลือกเปลี่ยนสปริง และโช้กอัพ แต่เน้นว่าต้องเก็บของเดิมกลับมาด้วย เผื่อการเปลี่ยนกลับในกรณีเบื่อหรือต้องการขาย

 

image-170-1

 

       สปริง

       ทำหน้าที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือน และเป็นตัวกำหนดความสูงของตัวรถยนต์ สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนเป็นสปริงที่มีค่าความแข็งเพิ่มขึ้น (แต่ไม่ใช่แข็งที่สุดแล้วจะดี) แต่ต้องยอมรับความกระด้างในช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง ที่เพิ่มขึ้นด้วย

 

       สปริง ชุดแต่งแต่ละยี่ห้อ ยังแบ่งย่อยเป็นหลายรุ่นตามค่าความแข็ง ไม่ใช่ถามว่าเลือกยี่ห้อไหนดีเท่านั้น เพราะยังต้องเลือกในรุ่นย่อยออกไปอีก เช่น สตรีท เรซิ่ง หรือเซอร์กิต ซึ่งอาจมีความแข็งและความสูงแตกต่างกันด้วย

 

       ตัดสปริง เป็นวิธีที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะเกิดความกระด้าง เนื่องจากการยืดหยุ่นตัวของสปริงจะทำงานไม่สมบูรณ์ และปลายของสปริงด้านที่ถูกตัดจะไม่แนบสนิทกับเบ้ารับสปริง ทำให้เกิดการกระดกหรือดิ้นเมื่อสปริงมีการยุบหรือยืดตัว

 

       สปริงเทียบ นอกจากสปริงชุดแต่งแล้ว อาจเทียบใช้สปริงจากรถยนต์ตัวถังเดียวกันแต่รุ่นสูงกว่า หรือจากรถยนต์รุ่นอื่น ๆ เป็นแบบมือสองก็ได้ ซึ่งมีความแข็งไม่มากเกินไป เพราะเป็นรถยนต์ที่ผลิตเพื่อการใช้งานทั่วไป แต่ก็ไม่เตี้ยมากจนสะใจ

 

       สำหรับรถยนต์ที่ไม่มีสปริงชุดแต่งจำหน่าย ต้องใช้วิธีเทียบใช้จากรถยนต์รุ่นอื่น โดยถอดสปริงเดิมไปเทียบค่าความแข็งสามารถเดาได้จากขนาดความอ้วนจของเส้ย สปริง และจำนวนข้อของสปริง
เส้น สปริงขนาดใหญ่มักมีความแข็งกว่าเส้นสปริงที่มีขนาดเล็ก และสปริงที่มีจำนวนวงเยอะ มักมีความแข็งมากกว่าสปริงวงน้อยที่มีความสูงรวมเท่ากัน พิสูจน์ด้วยการสมมติว่านำสปริงมายืดเป็นเส้นตรง แล้วบิดให้เป็นเกลียว สปริงเส้นที่มีขนาดใหญ่ และสั้นจะบิดได้ยากกว่าสปริงที่มีขนาดเล็ก และยาว

 

image-170-2

 

       ค่าความแข็งของสปริง ต้องมีระบุไว้บนสปริงหรือกล่อง แต่ถ้าไม่ทราบ ก็สามารถวัดได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยนำสปริงวางบนตาชั่งน้ำหนักไว้บนแท่นอัดไฮดรอลิก แล้ววางแผ่นเหล็กทับด้านบน และกดแผ่นเหล็กลงเล็กน้อย เพื่อให้สปริงแนบสนิทกับตาชั่ง และแผ่นเหล็ก แล้วจดค่าบนเครื่องชั่งน้ำหนัก และวัดความสูงของสปริงไว้ จากนั้นกดสปริงให้ความสูงลดลง 1 เซนติเมตร แล้วนำน้ำหนักที่ได้มาลบกัน มีหน่วยเป็นกิโลกรัม/เซนติเมตร

 

       เช่น สปริงสูง 20 เซนติเมตร กดครั้งแรกวัดน้ำหนักได้ 5 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 กดลงไป 1 เซนติเมตร วัดน้ำหนักได้ 8 กิโลกรัม แสดงว่าสปริงเส้นนี้มีค่าความแข็ง 3 กิโลกรัม/เซนติเมตร

 

       สปริงหลอด คือ สปริงวงเล็กที่มีขนาดเท่ากันตลอดเส้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องดีกว่าสปริงวงใหญ่ มีความจำเป็นก็ต่อเมื่อใส่สปริงแบบธรรมดาแล้วติดขัดกับช่วงล่าง หรือทำสตรัตแบบกลึงเกลียว

 

       สตรัตปรับเกลียว ทำเกลียวรอบกระบอกโช้กอัพ เพื่อให้สามารถปรับความสูงของเบ้ารับสปริงด้านล่างได้ ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการทรงตัว เพราะต้องขึ้นอยู่กับสปริง และโช้กอัพไม่ใช่ที่ตัวเกลียว และจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อมีการปรับความสูงขึ้นลงบ่อย

 

       ปิกอัพลดความสูง ด้านหน้าใช้การปรับทอร์ชันบาร์ได้ ด้านหลังควรใช้วิธีรองเหล็ก และเปลี่ยนหูยึดแหนบ หลีกเลี่ยงการตัดแหนบเพราะจะทำให้กระด้าง เนื่องจากแหนบสูญเสียความยืดหยุ่น

 

       โช้กอัพ

       ส่วนใหญ่มักเลือกที่มีความหนึบมากขึ้น และควรเลือกแบบปรับระดับความหนืดได้ เพราะถ้าปรับไม่ได้ ก็ได้แค่เดาตอนซื้อ เมื่อใส่ไปแล้วไม่ตรงกับความต้องการ จะถอดคืนก็ไม่ได้ และเพื่อความสะดวกควรเลือกแบบที่ปรับได้โดยไม่ต้องถอดโช้กอัพออกจากรถยนต์

 

       สำหรับรถยนต์ที่ลดความสูงลงมาก ๆ อาจต้องใช้โช้กอัพแกน และกระบอกสั้น เพื่อไม่ให้แกนโช้กอัพยันเมื่อมีการยุบตัวมาก ๆ

 

       แค่เลือกโช้กอัพที่สามารถปรับความหนืดได้ยังไม่พอ ยังต้องคำนึงถึงช่วงความหนืดที่ปรับได้ด้วย เช่น โช้กอัพรุ่นหนึ่งปรับระดับความหนืดไว้สูงสุดแล้ว แต่ก็ยังไม่แข็งพอ หรือปรับความหนืดไว้ต่ำสุดแล้ว แต่ก็ยังแข็งเกินไป

 

       เปลี่ยนสปริงโหลดต้องเปลี่ยนโช้กอัพใหม่หรือไม่ สปริงโหลดส่วนใหญ่มักมีความแข็งเพิ่มขึ้น การเต้นของสปริงย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย หากโช้กอัพเดิมมีความหนืดมากพอ ก็ยังสามารถหยุดการเต้นของสปริงได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นโช้กอัพที่มีความหนืดเพิ่มขึ้นควบคู่กันไปก็ยิ่งดี เหมือนสองแรงแข็งขัน
โช้กอัพมือสอง เทียบใช้จากรถยต์ตัวถังเดียวกันในรุ่นสูงกว่า เน้นที่กระบอกโช้กอัพไม่มีคราบน้ำมัน แกนโช้กอัพต้องเป็นเงา ไม่มีรอยตามดหรือสนิม ยางรองหัวโช้กอัพต้องไม่แข็งกระด้างหรือแตกลายงา
แก๊ส & น้ำมัน ไม่ใช่ตัวบอกประสิทธิภาพของโช้กอัพ และไม่สามารถเจาะจงตายตัวว่า โช้กอัพแก๊สต้องมีความหนืดมากกว่าหรือดีกว่าโช้กอัพน้ำมันเสมอไป ต้องแยกเป็นรุ่น ๆ ไปในแต่ละยี่ห้อ

 

       THAIDRIVER
        ที่มา : http://automobile.mweb.co.th/news/

 

ศูนย์สารสนเทศยานยนต์

ติดต่อ ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ สถาบันยานยนต์

อาคารสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (สพข.) ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถ.พระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 0-2712-2414 ต่อ 6443
email : aiu@thaiauto.or.th