สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

               ฮุนได มอเตอร์ กำลังพิจารณาแผนการที่จะระงับการผลิตในโรงงานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน เนื่องจากยอดขายตกและมีขีดความสามารถเกินความต้องการ การเคลื่อนไหวฮุนไดเป็นการย้ำให้เห็นว่าถึงชะตาที่ผลิกผันของอุตสาหกรรมรถยนต์จีน ซึ่งได้หดตัวครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษในปีที่ผ่านมา ฮุนได เกียร์ มอเตอร์ เผชิญความเสี่ยงจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์มาก เนื่องจากต้องแข่งขันกับบริษัทจีนและบริษัทรถยนต์ระดับโลก บริษัทแถลงว่ากำลังทบทวนการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการแข่งขันและกล่าวว่าแผนการนั้น รวมถึง การระงับ ไม่ใช่การปิดโรงงาน 1 ในปักกิ่ง อย่างไรก็ดีบริษัทยังไม่ตัดสินใจว่าเมื่อไหร่ที่จะเริ่มระงับการผลิต แม้หนังสือพิมพ์โคเรีย อีโคโนมิคเดรี่ รายงานว่าอาจเริ่มระงับการผลิตในต้นเดือนหน้า ขณะนี้โรงงานทั้ง 5 แห่งของฮุนไดในประเทศจีน บริหารโดยบริษัทร่วมทุนฮุนไดกับ BAIC Motor Corp พนังงานประมาณ 2,000 คนได้ของเกษียณอายุโดยสมัครใจหรือโอนย้ายไปทำงานโรงงานอื่นๆ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 8 มีนาคม 2562

                    ค่ายรถท้อแบงค์ชาติขยายวงคุมเข้มสินเชื่อรถยนต์หวั่นสะเทือนตลาด ลามถึงยอดขายงนมอเตอร์โชว์ ปลายมีนาคมนี้  เผยสัญญาณชัดอนุมัติล่าช้า เงื่อนไขยุบยับขอเพิ่ม “เงินดาวน์-คนค้ำประกัน” ค่ายรถดิ้นจับมือพันธมิตร “แคปทีฟไฟแนนซ์” ร่วมทำตลาด พลิกเกมเน่นแคมเปญช่วยผ่อนลดภาระลูกค้า แหล่งข่าวในวงการรถยนต์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงภายรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ปี 2562 ว่ายังมีปัจจัยค่อนข้างลบเยอะ แม้ว่าช่วง 1-2 เดือนแรกของปีจะมีตัวเลขยอดขายเป็นบวก รวมถึงในเดือนมีนาคมต่อเนื่องเมษายนจะมีอิเวนต์ใหญ่ขายรถอย่างงานมอเตอร์โชว์ก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า รวมถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศนโยบายคุมเข้มมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ ซึ่งน่าจะมีผลค่อภาวะการขายรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญ และมีความกังวลว่าจะส่งผลต่อภาวะการขายในงานมอเตอร์โชว์ช่วงปลายเดือนนี้ เนื่องจากแบงค์ชาติมองว่ามาตรการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมาของสถาบันการเงินต่างๆ อาจหย่อนยานเกินไป โดยพบว่าปี 2561 ที่ผ่านมาสินเชื่อรถยนต์มีอัตราเติบโตสูงสุดในบรรดาสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยเติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะเดียวกัน หนี้เสียที่ขยับเพิ่มขึ้นด้วยมาอยู่ที่ระดับ 1.66% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 1.60% เพิ่มเงื่อนไขเงินดาวน์-คนค้ำ แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ตอนนี้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรถยนต์อาจต้องลงรายละเอียดลูกค้าแต่ละรายมากขึ้นเนื่องจากยอดขายรถยนต์ใหม่ปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงมากทะลุ 1 ล้านคันไปแล้ว ขณะที่ความเหมาะสมของตลาดและกำลังซื้อปริมาณการขายรถควรอยู่ที่ 9 แสน -1 ล้านคันต่อปี แต่ปัจจุบันทะลุ 1 ล้านคันไปแล้ว ดังนั้น สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือดีมานด์เทียม หรือลูกค้ากู้เงินไปแล้วไม่มีความสามารถผอนชำระที่แท้จริง ขณะที่ผู้บริหารสถาบันการเงินบางรายก็ยอมรับว่า แนวโน้มเอ็มพีแอลสินเชื่อรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายค่ายต้องคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อเพื่อไม่ให้เอ็นพีแอลขยายตัว ทั้งนี้ จากความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว ทำให้ตอนนี้การอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ ช้าลงมาก และจากเดิมที่ซื้อรถอาจไม่ต้องมีคนค่ำประกัน ระยะหลังก็ต้องใช้หรือบีบบังคับให้เพิ่มเงินดาวน์จากเดิมเริ่มต้น 15-20% เพิ่มเป็น 25-30% หรือมีหลักฐานทางการเงินในการขอกู้เพิ่มเติมเพื่อการันตีและรองรับว่าลูกค้ามีศักยภาพในการกู้และสามารถผ่อนชำระได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 มีนาคม 2562

                    ครม.ไฟเขียว รื้อภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะแก้ปัญหาฝุ่นละออง หั่นภาษีรถไฟฟ้าเหลือ 0% 3 ปี ส่วนรถกระบะปรับภาษีลง 0.5-2% นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมาได้เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการภาษีสำหรับยานพาหนะเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5-PM10) ตามที่กรมสรรพสามิตเสนอ โดยทั้งหมดจะส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ไม่เกิน 1,500 ล้านบาท ประกอบด้วย 1)มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า ให้ลดภาษีภายใต้หลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการฯ จากปัจจุบันอัตราภาษี 2% ให้ลดลงเหลืออัตรา 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2565 และใช้ปรับอัตราภาษี 2% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ให้ใช้อัตราภาษี 8% ตามเดิม 2) มาตรการปรับลดอัตราภาษีรถยนต์กระบะและรถยนต์กระบะ 4 ประตู ให้ปรับลดอัตราภาษีรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล โดยอัตราภาษีสรรพสามิตตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ (CO2) และการปล่อยฝุ่น PM หรือการที่เครื่องยนต์สามารถใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของบี 20 ได้แบ่งเป็น 1.รถยนต์กระบะที่มีปล่อย CO2 ไม่เกิน 200 กรัม (n) ต่อกิโลเมตร (กม.) ปรับลดอัตราภาษ๊จากสรรพสามิตจาก 2.5% เหลือ 2% ส่วนที่ปล่อยCO2 ไม่เกิน 200 กรัมต่อกม. ปรับลดภาษีสรรพสามิตจาก 4% เหลือ 3% ที่ปล่อย CO2 เกิน 200 ก.ต่อกม. ปรับลดภาษีสรรพสามิตลงจาก 6% เหลือ 5%

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเพทธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มีนาคม 2562