สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

         China's light-vehicle exports continue to rise on demand from developing countries and jumped 30 percent to around 70,000 in June.  Roughly 374,000 vehicles were shipped overseas in the first half, a surge of 37 percent from a year earlier, according to the China Association of Automobile Manufacturers.  In the first six months, Chery, China’s largest car exporter, delivered 67,459 vehicles overseas, a rise of 24 percent from the same period last year. The company didn’t release export figures for June.  The main export destinations for Chinese automakers are all developing countries, including Russia, and markets in the Middle East and South America. To date, BYD Co. is the only Chinese automaker that has gained a toehold in mature markets such as Western Europe and North America with its electric buses.

ที่มา : www.autonews.com วันที่ 31 กรกฎาคม 2561

 

          อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยผ่านมาครึ่งปี (ม.ค.-มิ.ย.61) มีแนวโน้มสดใส ทั้งยอดผลิตรถยนต์ 1,056,569 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 11.1% ส่วนยอดขายรถในประเทศ 489,261 คัน โต 19.3% นำโดย โตโยต้า  141,989 คัน อีซูซุ 86,363 คัน ฮอนด้า 59,838 คัน มิตซูบิชิ 41,101 คัน และมาสด้า 33,593 คัน   โดยค่ายที่มีอัตราเติบโตสูงต้องยกให้มาสด้าขายเพิ่มขึ้นถึง 40%  รวมถึงเอ็มจี ที่โตกว่า 100% ด้วยยอดขายรวม 12,028 คัน ขณะที่ค่ายใหญ่อื่นๆ ก็เป็นบวกกันถ้วนหน้า แต่มีหลุดไปเล็กน้อยคือฮอนด้า ที่ขายลดลง 2.6%   แม้จะมีผลกระทบจากราคาสินค้าการเกษตร และหนี้ภาคครัวเรือนสูง แต่ในภาพรวมของตลาดรถยนต์ยังมีกำลังซื้ออยู่พอสมควร สังเกตได้จากรถทุกเซ็กเมนต์ เช่นปิกอัพ ที่มียอดขาย  207,371 คัน เพิ่มขึ้น 20.2% เบอร์ 1 คืออีซูซุ ดีแมคซ์ ตามมาติดๆคือโตโยต้า ไฮลักซ์รีโว่ และฟอร์ด เรนเจอร์ ส่วนอันดับอื่นๆที่ตามมาก็ถือว่ายอดขายเติบโตทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็นมิตซูบิชิ ไทรทัน ,นิสสัน นาวารา ,เชฟโรเลต โคโลราโด และมาสด้า บีที -50  ด้านพีพีวี หรือ ปิกอัพดัดแปลงมียอดขายรวม 30,061 คัน เพิ่มขึ้น 5.3% ส่วนกลุ่มเอสยูวี หรือรถอเนกประสงค์ มียอดขายรวม 38,814 คัน เพิ่มขึ้น 57.1% และเมื่อรวมทั้ง 2 เซ็ก เมนต์พบว่ายอดขายมีทั้งสิ้น 68,875 คัน เพิ่มขึ้น 29.3%   ในกลุ่มบี-เอสยูวี ที่พัฒนาบนพื้นฐานรถยนต์นั่งถือว่าแข่งขันกันรุนแรง ทั้งโตโยต้า ซี-เอชอาร์ ใหม่ การไมเนอร์เชนจ์ของฮอนด้า เอชอาร์วี และมาสด้า ซีเอ็กซ์-3 รุ่นที่ขายมากที่สุดเป็นของ เอ็มจี แซดเอส 7,565 คัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์  ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561

 

             นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาอนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 4 โครงการมูลค่ารวมกว่า 29,631 ล้านบาท ช่วยผลักดันการใช้วัตถุดิบในประเทศรวมมูลค่ากว่า 19,480.8 ล้านบาทต่อปี  2 ค่ายรถยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่นลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมและแบตเตอรี่  สำหรับโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.บริษัท มาร์ส เพ็ทแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขยายกิจการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง เงินลงทุนทั้งสิ้น 3,600 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ชลบุรีซึ่งโรงงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในฐานการผลิตของบริษัทที่มีโรงงานกระจายอยู่ทั่วโลกมากกว่า 80 แห่ง โดยการลงทุนครั้งนี้บริษัทได้มีการลงทุนที่มุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศไทย รวมถึงมีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มีการใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่า794ล้านบาท2.บริษัทนิสสันมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขยายกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (Hybrid Electric Vehicles-HEV) และแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เงินลงทุนทั้งสิ้น 10,960 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ที่ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ โดยบริษัทมีแผนที่จะใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่ากว่า 15,920 ล้านบาทต่อปี เป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมรุ่น e-Powerซึ่งเดิมมีฐานการผลิตเพียงแห่งเดียวที่ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นเทคโนโลยีหลักในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยียานยนต์จากระบบเครื่องยนต์ในปัจจุบันไปสู่ระบบไฟฟ้า  3.บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ขยายกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (Hybrid Electric Vehicles-HEV) และแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเงินลงทุนทั้งสิ้น 5,821 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ที่บริษัทสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.อยุธยา และจ.ปราจีนบุรี โดยบริษัทมีแผนใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น ล้อรถยนต์ ชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ กันชนหน้า/หลัง ชุดสายไฟ เป็นต้นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,766.8 ล้านบาท รวมทั้งยังมีแผนในการผลิตชิ้นส่วนอื่นภายในประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าในอนาคตอีกด้วย
ที่มา: หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่  25 กรกฎาคม 2561