สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

         หลังจากรถยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก ล่าสุดทางบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่แห่งหนึ่งในจีนคือ คอนเทมโพรารี แอมเพอเร็กซ์ เทคโนโลยี (Contemporary Amperex echnology Ltd. หรือ CATL) บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ ลิเทียม-อิออนใหญ่ที่สุดในโลกของประเทศจีน ตัดสินใจเตรียมเปิดโรงงานในประเทศเยอรมนี เพื่อผลิตแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า ป้อนให้กับค่าย บีเอ็มดับเบิลยูเป็นหลัก ด้วยข้อตกลงมูลค่ากว่า 155,000 ล้านบาท   การลงทุนเปิดโรงงานขึ้นมาใหม่ในเมืองเออร์เฟิร์ต รัฐทูริงเกีย ประเทศเยอรมนี ถือเป็นโรงงานแรกที่เปิดขึ้นในยุโรป การเซ็นสัญญาครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างการไปเยือนประเทศเยอรมนีของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน และได้เข้าร่วมพบปะกับนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี  สำหรับลูกค้าหลักที่ทำการเซ็นสัญญาสั่งซื้อแบตเตอรี่แล้ว ก็คือค่ายรถยนต์ของเยอรมนีอย่าง บีเอ็มดับเบิลยู มูลค่าการสั่งซื้อช่วงแรกประมาณ 4 พันล้านยูโร หรือประมาณ 155,000 ล้านบาท โดยจะป้อนเข้าไปติดตั้งในทั้งบีเอ็มดับเบิลยูและมินิ ภายใต้แบรนด์ไอเน็กซ์ (iNext) รถลิมูซีนไฟฟ้า จะเริ่มผลิตขึ้นมาภายในปี 2021
 
ที่มา :หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 2 สิงหาคม 2561

 

           นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้หารือในเบื้องต้นกับกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เห็นพ้องกันว่าควรจะต้องหามาตรการ เพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตรถยนต์ลงทุนต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เนื่องจากต้องการให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเกิดการเปลี่ยนถ่ายให้พร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต "ได้หารือกันกับกระทรวงการคลังและบีโอไอว่า ควรจะต้องหามาตรการทางภาษีใหม่ๆ เพิ่มเติมจูงใจให้เกิดการลงทุนและการบริโภครถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศ คาดว่ามาตรการใหม่น่าจะออกมาภายในปีนี้" นายณัฐพล กล่าว   ทั้งนี้ เบื้องต้นจะต้องส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิต 4 ส่วน คือ ตัวชาร์จไฟฟ้า มอเตอร์ แบตเตอรี่ แบตเตอรี่แมเนจเมนต์ และตัวคอนโทรลที่จะใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นภายในประเทศให้ได้ก่อนซึ่งหากสามารถส่งเสริมให้เกิดและเข้าไปอยู่ในฐานการผลิตรถยนต์ได้ก็จะทำให้ในอนาคตประเทศไทยสามารถพัฒนา ขับเคลื่อนไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์แบบไร้คนขับได้ ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกและจะทำให้ประเทศไทยยังสามารถเป็นฐานการผลิตรถยนต์ได้ต่อไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์  โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 1 สิงหาคม 2561

 

       นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน กรรมการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้านั้นมี 6 มาตรการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ มาตรการกระตุ้นภาครัฐ ในเรื่องของการแบ่งสัดส่วน ที่ต้องแยกอย่างชัดเจนว่า เป็นรถไฟฟ้ากี่เปอร์เซ็นต์ของการซื้อทั้งหมด แนวทางที่ทำคงต้องให้ทางภาครัฐที่เป็นกำลังซื้อหลักมาเป็นตัวนำในการใช้รถไฟฟ้าก่อน ตอนนี้เข้าใจว่าการผลิตยังอยู่ในระหว่างการเริ่มต้น และมีหลายค่ายรถยนต์ที่ได้รับการส่งเสริม และเริ่มการผลิตแล้ว จำนวนหนึ่ง ถือว่าการได้รับการส่งเสริมเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นด้านการผลิตให้มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น   "ช่วงเริ่มต้นนี้ คิดว่ามาตรการที่มีอยู่ถือว่ามาถูกทางแล้ว แต่ถ้าถามว่าพอหรือยัง คงจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนไปก่อน ตอนนี้ทั้งภาครัฐเริ่มตื่นตัวกับเรื่องนี้มากขึ้น ส่วนภาคเอกชน ก็เริ่มที่จะสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากนี้ไปคงต้องจับตาดูเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งผมเข้าใจว่าเรื่องสถานีชาร์จจะต้องลงลึกในรายละเอียดอีกที ตอนนี้คงเป็นเพียงการประกาศให้ทุกฝ่ายเริ่มเตรียมพร้อม" นายอดิศักดิ์กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่  1 สิงหาคม 2561