สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

              กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซียเตรียมพิจารณายกเว้นภาษี ให้กับบรรดาผู้ผลิตแบตเตอรี่ หวังเพิ่มการผลิตรถพลังงานไฟฟ้าในประเทศ โดยนายฮาร์จันโต อธิบดีกรมเหล็ก เครื่องจักร การขนส่ง และอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงฯ คาดว่า มาตรการนี้จะจูงใจให้บรรดานักลงทุนเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมแบตเตอรี่      นายฮาร์จันโต เสริมว่า นักลงทุน จำนวนมากจาก จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แสดงความสนใจเข้ามาสร้างโรงงานแบตเตอรี่ในอินโดนีเซีย แต่เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยชื่อนักลงทุน อินโดนีเซียตั้งเป้าเลิกใช้ยานพาหนะ ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2573
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 12 กรกฎาคม 2561

 

            China is considering a further reduction in electric-vehicle subsidies next year as the government pushes automakers to innovate rather than rely on fiscal policy to spur demand for alternative-energy cars, people familiar with the plan said. The average sales incentive per EV may be lowered by more than a third from the 2018 levels, said the people, who asked not to be identified disclosing information that isn’t public.  Vehicles may be required to be able to go at least 200 kilometers (125 miles) on a single charge to be eligible for incentives, up from 150 kilometers currently, said the people. The plan is still under discussion and subject to changes, they said. Subsidies have been key to making plug-in hybrids and EVs from companies such as BYD Co., backed by Warren Buffett, more affordable to Chinese consumers and helping the country surpass the U.S. as the world’s biggest in 2015.
ที่มา:www.autonews.com วันที่  11 กรกฎาคม 2561

 

    นายอภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ในโอกาสนายสมชาย หาญหิรัญ รมช.อุตสาหกรรม เดินทางมาติดตามโครงการที่ จ.ฉะเชิงเทรา ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างสนามทดสอบและอาคารของศูนย์ทดสอบฯ แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ส่วนทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 ประกอบด้วยสนามทดสอบยางล้อ และเครื่องมือทดสอบ ทดสอบรายการเสียงจากยางล้อที่สัมผัสผิวถนน (Noise) การยึดเกาะถนนบนพื้นเปียก (Wet Grip) และความต้านทานการหมุน (Rolling Resistance) ของยางล้อ คาดเริ่มทดสอบได้ในปี 2561 พร้อมห้องปฏิบัติการทดสอบจะแล้วเสร็จในปี 2561  ระยะที่ 2 ส่วนทดสอบยานยนต์และชิ้นส่วน มีสนามทดสอบกลางแจ้ง 5 สนาม คือ 1.สนามทดสอบสมรรถนะยานยนต์ 2.สนามทดสอบระบบเบรก 3.สนามทดสอบระบบเบรกมือ 4.สนามทดสอบเชิงพลวัต 5.สนามทดสอบการยึดเกาะถนนขณะเข้าโค้ง แล้วเสร็จปี 2564.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด วันที่  11 กรกฎาคม 2561