อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีมูลค่าถึง 5.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ทั้งจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนแนวโน้มเทคโนโลยีแต่จุดยืนที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ การส่งเสริมการผลิตและใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเพื่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดการถ่ายถอดเทคโนโลยีรวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรืออุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry ) นี่คือภารกิจหลักที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาวอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยึดถือมาโดยตลอด เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเปิดรับทุกเทคโนโลยีจากทุกภูมิภาคเรายังต้องเรียนรู้เทคโนโลยีจากต่างประเทศที่หลากหลายเหล่านั้น รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นตรงกันว่า ควรเปิดโอกาสให้มีการถ่ายถอดเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาในประเทศในรูปแบบอื่น เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันและต่อยอดการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกในประเทศไทยแม้ไม่มีรถยนต์แห่งชาติก็ตาม จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีแผนพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิม ที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และ 5 อุตสาหกรรมในอนาคต (New-S-Curve) และหนึ่งข้อสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ก็คือ The Next Generation Automotive Industry หรืออุตสาหกรรมยานยนต์สมันใหม่ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัฃญในการพัฒนาต่อยอดไปเป็น New S-Curve หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมนั้นเอง โดยภาพรวมขณะนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยมีความพร้อมมาก และมองเห็นว่า EEC เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงและมีความเหมาะสมหลายด้าน อาทิ เป็นที่ตั้งของผู้ผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญอละอุตสาหกรรมสนับานุนต่างๆจำนวนมาก รวมถึงศักยภาพด้านโลจิสติกส์ เช่น ท่าเรือน้ำลึกที่สามารถขนส่งรถยนต์หรือชิ้นส่วนต่างๆในปริมาณมากได้ รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automatic and Tyre Testing Research and Innovation Center – ATTRIC ) ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ณ บริเวณเขตสวนป่าลาดกระทิง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบกลาง ให้บริการทดสอบและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และยางล้อตามาตรฐานสากล อีกทั้งช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ สมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 มกราคม 2562
รัฐบาลฝรั่งเศสให้แจ้งกับญี่ปุ่นว่า จะหาทางทำให้เกิดการรวบกิจการกันระหว่าง เรโนลต์ – นิสสัน ภายหลัง คาร์ลาส โกส์น อดีตประธานนิสสันถูกแดนอาทิตย์อุทัยจับกุมอย่างสุดช็อค รายงานข่าวของสื่อญี่ปุ่นหลายรายที่ระบุในวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562 โกส์นซึ่งเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังคนหนึ่งในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลก เคยเป็นหัวหน้าของกลุ่มพันธมิตระหว่าง เรโนลต์ แห่งฝรั่งเศสและนิสสันกับมิตซูบิชิ แห่งญี่ปุ่น ก่อนที่เค้าจะถูกจับกุมอย่างกระทันหันขณะกลับมาถึงท่าอากาศยานกรุงโตเกียวในเดือนพฤศจิกายน ด้วยข้อหามีความประพฤติมิชอบทางการเงิน เวลานี้เค้ายังคงถูกคุมขังอยู่ โดยทีทั้งบอร์ดของนิสสันและมิตชูบิชิต่างมีมติปลดโกส์นออกจากตำแหน่งประธาน ขณะที่เรโนลต์ยังคงให้เค้าอยู่ในตำแหน่งประธานและซีอีโอของตนต่อไปเพียงแต่ตั้งผู้รักษาการแทน สำนักข่าวโตเกียวในประเทศญีปุ่น รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวหลายรายที่ใกล้ชิดกับเรื่องนี้ว่า คณะผู้แทนของฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ มาร์แตง เวียล กรรมการบริหารคนหนึงของบริษัท เรโนลต์ ที่ทางรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งชื่อเข้าไป ได้เสนอการควบรวมดังกล่าวในระหว่างการเจรจากับพวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว ในโครงสร้างผู้ถือหุ้นของเรโนลต์ รัฐบาลฝั่งเศสคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดโดยถือครองในสัดส่วนมากกว่า 15% ขณะเดียวกันเรโนลต์ก็เป็นเจ้าของหุ้นนิสสันอยู่ 43.4% ดดยเป็นหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงด้วย เกียวโดบอกว่า การควบรวมกิจการระหว่างเรโนลต์กับนิสสันนี้ ทางประธานาธิบดีเอมมานูแอล มาครอง ของฝรั่งเศส ก็ได้แสดงความชื่นชอบ ทางด้าน นิกเกอิ หนังสือพิมพ์ธุรกิจทรงอิทธิพลของญี่ปุ่น ได้รายงานข่าวขณะผู้แทนฝรั่งเศสเสนอเรื่องการควบรวมนี้เช่นกัน ดดยระบุด้วยว่านิสสันคัดค้านเรื่อยมาต่อการที่จะให้ฝ่ายฝรั่งเศสมีอำนาจในการกำหนดทิศทางของอนาคตเหนือนิสสัน บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันทำยอดขายได้สูงกว่าเรโนลต์มาก ตามข่าวนิกเกอิ คณะผู้แทนแดนน้ำหอมยังบอกด้วยว่า เรโนลต์ต้องการที่จะเสนอชื่อแต่งตั้งประธานคนใหม่ของนิสสัน ซึ่งตอนนี้ยังคงว่างอยู่หลังจากการปลดโกส์น มีรายงานว่า เมื่อเดือนที่แล้ว มาครงได้เจรจาหารือกับนายกรัฐมลตรีชินโอ อาแบะ ของญี่ปุ่น ในการประชุมข้างเคียงของซับมิตกลุ่ม จี 20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาเจนตืนา โดยที่ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องกันเพียงแค่รับประกันให้ภายในกลุ่มพันธมิตร เรโนลต์-นิสสัน-มิตซูบิชิ ยังคงความสัมพันธ์ที่มีความเสถีนรภาพ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2562
นิสสันรอบีโอไอเคาะส่งเสริมการลงทุน มั่นใจฐานผลิตไทยคุณภาพสูง ล่าสุดฉลองส่งออกครบ 1 ล้านคัน นายยูตากะ ชานาดะ รองประธานอาวุโสของนิสสันเอเซียและโอเชียเนีย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตรถยนต์ที่มคุณภาพระดับโลก และยังสามารถผลิตพร้อมทั้งส่งกลับไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) นอกญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก จากศักยภาพดังกล่าวที่มีของไทย โดยคาดว่าจะผลิตเพื่อรองรับตลาดในประเทศและรองรับการส่งออกในอนาคต “เราได้มีการพิจารณาจริงภายในบริษัท แต่ขณะนี้อาจจะยังไม่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้ ซึ่งเร็วๆนี้จะมีคำตอบที่กระจ่างชัด” นายชานาดะกล่าว นอกจากนี้ในช่วงสิ้นปีพ.ศ. 2560 บริษัทได้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในส่วนของเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งบริษัทจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีไฮบริด ซึ่งบริษัทจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีอี-เพาเวอร์ ลงสู่ตลาด นายอันดวน บาร์เตส ประธานนิสสัน มอเตอร์ ประทศไทย กล่าวว่า การสิ้นสุดระยะเวลาขอรับส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในส่วนของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมานั้นบริษัทได้ทำงานร่วมกับบีโอไออย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ซึ่งจะต้องรอการประกาศจากบีโอไอในเร็วๆนี้ สำหรับเทคโนโลยีรถอีวีในต่างประเทศของนิสสัน มีเทคโนโลยีที่พร้อมนำเสนอสู่ตลาดในรถนต์ทุกประเภท ซึ่งบริษัทมองว่าเทคโนโลยี อี-เพาเวอร์เป็นเทคโนโลยีเชื่อมโยงระหว่างเครื่องยนต์สันดาปภายในกับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ขณะที่การสนับสนุนของรัฐบาลเพื่อให้เทคโนโลยีรถอีวีเกิดขึ้นในไทยนั้น มีการส่งเสริมในภาคผู้ผลิตจากการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ แต่ในแง้ของผู้บริโภคนั้นยังไม่มีความชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ช่องทางพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ที่จอดรถพิเศษ เป็นต้น นายบาร์เดส กล่าวว่า การสนับสนุนที่ส่งผลให้ตลาดอีวีเกิดขึ้นนั้นจะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ 1 ภาคผู้ผลิต และ 2. ภาคผู้บริโภค ซี่งไทยได้ส่งเสริมภาคผู้ผลิตแล้ว แต่ถ้าหากมีการส่งเสริมในภาคผู้บริโภคจะยิ่งสนับสนุนให้ตลาดตลาดเกิดขึ้นโดยเร็ว โดยอาจจะต้องทำทั้งสองส่วนควบคู่กันไป ด้านยอดขายปีงบประมาณ 2561 (มี.ค. 2561 – เม.ษ. 2562) ของบริษัทคาดว่าจะเติบโตเหนือการคาดการณ์เดิมที่จะมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 6.9% เพิ่มขึ้นเป็น 7.5% จากสภาพรวมตลาดเติบโตและความมั่นใจของผู้บริโภค รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจเติบโต ทั้งนี้ ล่าสุดบริษัทได้จัดงานฉลองความสำเร็จในการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกรถยนต์ครบ 1 ล้านคัน นับตั้งแต่เริ่มส่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยตลาดที่ส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2561 บริษัทติดอันดับ 1 ใน 5 ของผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์ของอุตสาหกรรม
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 18 มกราคม 2562