สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                      นายณัฐพล รังสิตพล ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) ประจำเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ 112.54 ขยายตัวต่อเนื่องที่ 0.75% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 111.70 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่การผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เอ็มพีไอปี 2561 อยู่ที่ 115.08 ขยายตัว 2.80% ขยายตัวเพิ่มจากปี 2560 อยู่ที่ระดับ 111.94 ที่ขยายตัว 2.50% ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนธันวาคมอยู่ที่ 66.88% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 67.77% และเทียบกับเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 69.31% ซ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 68.4% จากปี 2560 อยู่ที่ 67.12% ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัว 9.65% น้ำตาลทรายขยายตัว 30.46% ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผงวงจรขยายตัว 6.96% โซดาและน้ำดื่มบรรจุขวดขยายตัว 14.43% กระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือขยายตัว 189.74% ที่เร่งผลิตและส่งมอบช่วงเทศกาลปีใหม่จากคำสั่งซื้อของตลาดในประเทศเป็นหลักที่เพิ่มขึ้น 685.59% แม้ยอดขายรถยนต์เดือนธันวาคม 2561 ที่ 113.581 คัน สูงสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า เอกชนคาดการณ์ยอดขายในปี 2562 ยอดส่งออกรถยนต์ลดลง ขณะที่ยอกจำหน่ายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานรถยนต์ของไทยไม่สอดคล้องกับมาตรฐานรถยนต์ของต่างประเทศหรือไม่ เนื่องจากแนวโน้มการใช้รถยนต์ทั่วโลก มีทิศทางเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี ที่พัฒนาไปสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายณัฐพลกล่าวว่า อาจจะมีผลกระทบต่อเป้าหมายที่ไทยจะเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของโลก อีกทั้งล่าสุด สินค้าที่โดดเด่น (โปรดักส์ แชมป์เปี้ยน) ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและเวียดนามแล้ว ไทยจึงต้องพิจารณาว่าสินค้าที่ส่งออกลดลง เป็นไปตามความต้องการของตลาดโลกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สศอ.ยังคงคาดการณ์ เอ็มพีไอปี 2562 อยู่ที่ 2-3% ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) อุตสาหกรรมคาดอยู่ที่ 2-3%

ที่มา : หนังสือพิมพ์  ข่าวสด  ฉบับวันที่ 30 มกราคม 2562

                  ก.ล.ต.สหรัฐเปิดฉากสอบนิสสัน กรณีความถูกต้องของค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง บลูมเบิร์ก รายงานอ้างว่าแหล่งข่าวว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (เอสอีซี) กำลังสอบสวนบริษัท นิสสัน มอเตอร์ ค่ายรถใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในสหรัฐ ว่าเข้าข่ายละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐหรือไม่หลังเกิดเรื่องอื้อฉาวจากกรณี คาร์ลอส กอส์น อดีตประธานนิสสัน ถูกจับกุมตัวเนื่องจากประพฤติผิดร้ายแรงด้านการเงิน แหล่งข่าวระบุว่า เอสอีซีกำลังสอบสวนนิสสันใน 2 กรณี คือเปิดเผยค่าตอบแทนที่นิสสันจ่ายให้ผู้บริหารมีความถูกต้องหรือไม่ และบริษัทมีมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวหือไม่ โดยขณะนี้การสอบสวนดังกล่าวยังอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น ด้าน คริสตินา อดัมสกี โฒษกของนิสสัน ได้ออกม่ยืนยันว่า นิสสันกำลังถูกสอบสวนจากเอสอีซีจริง และบริษัทก็ได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งหลังข่าวนี้ได้เผยแพร่ออกไป หุ้นของนิสสันได้ร่วงลงมากถึง 2.7% ระหว่างการซื้อขายวานนี้ นับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์ ทั้งนี้หุ้นนิสสันซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐผ่านใบรับฝากหุ้นที่ออกดดยสถาบันการเงินในสหรัฐ (เอดีอาร์) ทำให้เอสอีซีมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบได้ แม้กรณีของนิสสันส่วนใหญ่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นและยุโรป แต่แหล่งข่าวเกี่ยวข้องเปิดเผยว่าเอสอีซีอาจสามารถลงโทษทางการเงินและมีคำสั่งห้ามมิให้ละเมิดกฎหมายของสหรัฐหรือกฎของเอสอีซีได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 29 มกราคม 2562

ประเทศไทยถือว่ามีความสามารถก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนสำหรับความจริงจังและการดำเนินการเพื่อให้เกิดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง นี่คือคำยืนยันที่ชัดเจนของ นายวิเวก ไวทยะ ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน จำกัด ที่กล่าวในงานสัมมนาทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าปี 2562 จัดโดย บีเอ็มดับเบิ้ลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ย้ำให้เห็นถึงการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและภาคเอกชน ที่มีความพยายามขับเคลื่อนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ไปในทิศทางเดียวกับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ยิ่งถ้ามองจากนโยบายและการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมแล้วในหลายๆประเทศอาเซียนนั้น เป็นการสร้างในเชิงของนโยบายมากกว่า แต่ขณะที่ประเทศประเทศไทยนั้นแอดวานซ์กว่าประเทศอื่นและเป็รอีกหนึ่งความท้าทายของประเทศไทย ทั้งนี้ เชื่อว่าอนาคตทิศทางของรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์การขยายตัวของภาครัฐจะเห็นได้ชัดเจนว่าวันนี้แม้ยังคงมีความไม่สอดคล้องกันระหว่างสถานีชาร์จไฟและจำนวนของรถยนต์ไฟฟ้า แต่จากความตื่นตัวของค่ายรถยนต์ ภาคเอกชนที่ได้เริ่มมการลงทุนในส่วนของสถานีชาร์จ ไม่ว่าจะเป็นค่ายอีเอ เอนี่แวร์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือบีเอ็มดับเดิลยู ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะเพิ่มการลงทุนในส่วนนี้ เชื่อว่าความต้องการของตลาดรถยนต์เมืองไทยในปีพ.ศ. 2561 อยู่ที่ 1.050 ล้านคันแบ่งเป็นรถปิกอัพ 560,700 คัน รถยนต์ 489,300 คัน เป็นเป้าหมายภายใต้ปัจจัยบวกที่มีการเติบโตของจีดีพที่ระดับ 4.3% ภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและการลงทุนของภาครัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้าความเร็วสูง รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ดี ตลาดโดนรวมมีทิศทางที่ดี แต่ทั้งนี้ก็ยังคงต้องจับตาภาวะหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 มกราคม 2562