สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                        รถยนต์มายด์ไฮบริด (Mild Hybrid) เล็งปลดเงื่อนไขภาษีสรรพสามิต ไม่จำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 60 โวลต์ ส่งผลอัตราภาษีเท่ากับรถยนต์ไฮบริดที่อัตรา 4% แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่ากระทรวงการคลังเตรียมเสนอปลดล็อคเงื่อนไขภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ประเภท มายด์ไฮบริด ที่อาจไม่จำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 60 โวลต์อีกต่อไป การปลดล็อคในครั้งนี้ เนื่องจากจะสามารถได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตเท่ากับรถยนต์ไฮบริด คืออัตรา 4% ทั้งนี้ ฟลูไฮบริด จะสร้างกระแสไฟฟ้าเกิน 60 โวลต์และสามารถขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยไฟฟ้าได้ การเสนอประเภทรถยนต์ใหม่เป็นมายด์ไฮบริด ดังกล่าว เนื่องจากบางค่ายรถยนต์ ยังมองเห็นว่า รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ยังไม่สามารถทำตลาดได้ในประเทศไทย เนื่องจากยังมีราคาแพงกว่ารถยนต์ที่สันดาปภายในเครื่องยนต์ โดยเฉพาะตัวแบตเตอรี่ที่เก็บกระแสไฟฟ้าราคาเป็นหลักแสนบาท รวมทั้งการชาร์ตไฟต่อครั้งใช้เวลานาน 8 ชั่วโมงจึงเต็ม แต่วิ่งได้เพียง 160 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ราคาขายต่อจะตกลงมากกว่ารถที่ใช้น้ำมัน ดังนั้นการทำรถประเภท มายด์ไฮบริด น่าจะเป็นทางเลือกในระหว่างประเทศยังไม่มีความพร้อมที่จะไปสู่รถยนยต์ประเภท EV อย่างเต็มตัว ซึ่งปัจจุบันสถานีเติมไฟฟ้าก็ยังมีไม่แพร่หลาย อย่างไรก็ตามหากอนุมัติให้มีมายด์ไฮบริด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของโครงสร้างภาษีสรรพสามิต โดยให้อัตราภาษีเท่ากับรถยนต์ประเภท ฟลู ไฮบริด คือที่อัตรา 4% อาจทำให้การพัฒนสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ของประเทศไทยสะดุดเนื่องจาก ยังเป็นการส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้ระบบสันดาปภายใน ด้วยอัตราภาษีที่ต่ำเท่ากับรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วย EV ไม่สามารถมุ่งสู่ทิศทางที่เป็นแนวโน้มของโลกที่มุ่งสู่รถยนต์ EV ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้สาเหตุที่ค่ายรถยนต์บางค่ายเสนอให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีบีโอไอและกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเพิ่มประเภทรถยนต์มายด์ไฮบริด นั้นนอกจากปัญหาด้านการตลาดดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเรื่องการลงทุนที่สูงกว่าซึ่งค่ายรถยนตยังไม่ต้องลงทุน ซึ่งค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในแระเทศไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการสนับสนุน และได้เสนอความเห็นมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562

                    เมื่อวันที่ 30 มกราคม นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สศอ.ได้เร่งรัดให้มีการบังคับใช้มาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ให้เร็วยิ่งขึ้น หลังเกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่กลายมาเป็นปัญหาใหญ่ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการสะสมของรถยนต์มาตรฐานยูโร 4 กว่า 10 ล้านคัน ปล่อยฝุ่นควันจำนวนมาก โดย สศอ. เตรียมกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ผลิตรถยนต์ใหม่ในประเทศ ต้องผ่านมาตรฐานยูโร 5 เป็นขั้นต่ำภายใน 1-2 ปี หรือเริ่มผลิตมาตรฐานยูโร 5 ทุกคันในปี 2561 และกำหนดให้โครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ต้องผลิตรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานยูโร 6 แนวทางนี้ คาดว่าการยกระดับมาตรฐานตามสหภาพยุโรป (อียู) จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กลงได้ถึง 37,391 ตัน หรือลดลงจากเดิมประมาณ 80% ภายในปี 2564 นายณัฐพลกล่าวว่า แนวทางเร่งรัดคือการประสานกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในการออกมาตรฐานบังคับสำหรับรถยนต์มาตรฐานยูโร 5 ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ รวมทั้งนำเข้ารถยนต์ประมาณ 171 รุ่น การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน โดยประชาชนสามารถเลือกซือรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานใหม่ยูโร 5 ขึ้นไปที่ปล่อยมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 เพียง 1 ใน 5 ของมาตรฐานยูโร 4 เดิม และประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6 ผ่านฉลากอีโค สติ๊กเกอร์ ที่ติดอยู่บนตัวรถยนต์ หรือสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.car.go.th นายณัฐพลกล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน (ตจว.) ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562

                นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่าการส่งออกรถยนต์ของไทย เริ่มต้องจับตา เนื่งจากลดลงต่อเนื่อง 3 ปีติด ตั้งแต่ปี 59 ติดลบ 1.5% ปี 60 ติดลบ 4.11% ปี 61 ติดลบ 0.08% ส่วนปี 62 ภาคเอกชนประเมินว่า จะติดลบ 3.56% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ประกอบการค่ารถยนต์ ที่มีการย้ายฐานการผลิตบางสินค้าออกไปในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซียแล้ว อาจจะมาจากข้อเจรจาในประเทศไทยที่ยังไม่ม่ความชัดเจน และสินค้าไทยไม่สอดคล้องกับตลาด ขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศมีการขยายตัวที่ดีต่อเนื่องในปี 61 ขยายตัว 0.79% ทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยจะพึ่งพาตลาดในประเทศมากขึ้น “ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์มีการผลิตเพื่อใช้ในประเทศมากขึ้น ทำให้การส่งออกลดลงต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปีแล้วและประเมินว่าในปีนี้จะลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 มาจากผลิตภัณฑ์รถยนต์ของไทยไม่สอดคล้องกับตลาดในต่างประเทศ ซึ่งเราต้องมีมาตรการในเรื่องนี้ออกมา เพราะประเทศไทยมีจุดยืน เป็นฐานการผลิตรถยนต์ของโลก” ส่วนภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือเอ็มพีไอ ทั้งปี 61 ขยายตัว 2.8% ถือว่า อยู่ในกรอบที่วางไว้ทั้งปี จะขยายตัว 2.5-3% ส่วนเดือนธันวาคม่ 61 ขยายตัว 0.75% มีปัจจัยบวกจากภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ทั้ง รถยนต์ น้ำตาลทราย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแผ่นวงจร โซดาและน้ำดื่มบรรจุขวด กระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือ ส่วนอุตาหกรรมที่ดัชนีลดลง คือ ยางรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในส่วนของเครื่องซักผ้า สำหรับในปี 62 คาดว่า ดัชนีเอ็มพีไอ จะขยายตัว 2-3% โดยเดือน มกราคมนี้ มีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ทั้งผลกระทบต่อเนื่องจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐ โดยทั้ง 2 ประเทศกำลังอยู่ระหว่างเจรจาเป็นเวลา 90 วัน จนถึงเดือนมีนาคม นี้ ซึ่งต้องหารือในหลายด้าน สถานการณ์คุณภาพอากาศและฝุ่นละออง ที่เริ่มมีผลกะทบมากขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ (บ่าย) ฉบับวันที่ 31 มกราคม 2562