สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

       นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน กรรมการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้านั้นมี 6 มาตรการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ มาตรการกระตุ้นภาครัฐ ในเรื่องของการแบ่งสัดส่วน ที่ต้องแยกอย่างชัดเจนว่า เป็นรถไฟฟ้ากี่เปอร์เซ็นต์ของการซื้อทั้งหมด แนวทางที่ทำคงต้องให้ทางภาครัฐที่เป็นกำลังซื้อหลักมาเป็นตัวนำในการใช้รถไฟฟ้าก่อน ตอนนี้เข้าใจว่าการผลิตยังอยู่ในระหว่างการเริ่มต้น และมีหลายค่ายรถยนต์ที่ได้รับการส่งเสริม และเริ่มการผลิตแล้ว จำนวนหนึ่ง ถือว่าการได้รับการส่งเสริมเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นด้านการผลิตให้มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น   "ช่วงเริ่มต้นนี้ คิดว่ามาตรการที่มีอยู่ถือว่ามาถูกทางแล้ว แต่ถ้าถามว่าพอหรือยัง คงจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนไปก่อน ตอนนี้ทั้งภาครัฐเริ่มตื่นตัวกับเรื่องนี้มากขึ้น ส่วนภาคเอกชน ก็เริ่มที่จะสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากนี้ไปคงต้องจับตาดูเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งผมเข้าใจว่าเรื่องสถานีชาร์จจะต้องลงลึกในรายละเอียดอีกที ตอนนี้คงเป็นเพียงการประกาศให้ทุกฝ่ายเริ่มเตรียมพร้อม" นายอดิศักดิ์กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่  1 สิงหาคม 2561

 

         China's light-vehicle exports continue to rise on demand from developing countries and jumped 30 percent to around 70,000 in June.  Roughly 374,000 vehicles were shipped overseas in the first half, a surge of 37 percent from a year earlier, according to the China Association of Automobile Manufacturers.  In the first six months, Chery, China’s largest car exporter, delivered 67,459 vehicles overseas, a rise of 24 percent from the same period last year. The company didn’t release export figures for June.  The main export destinations for Chinese automakers are all developing countries, including Russia, and markets in the Middle East and South America. To date, BYD Co. is the only Chinese automaker that has gained a toehold in mature markets such as Western Europe and North America with its electric buses.

ที่มา : www.autonews.com วันที่ 31 กรกฎาคม 2561

 

          อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยผ่านมาครึ่งปี (ม.ค.-มิ.ย.61) มีแนวโน้มสดใส ทั้งยอดผลิตรถยนต์ 1,056,569 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 11.1% ส่วนยอดขายรถในประเทศ 489,261 คัน โต 19.3% นำโดย โตโยต้า  141,989 คัน อีซูซุ 86,363 คัน ฮอนด้า 59,838 คัน มิตซูบิชิ 41,101 คัน และมาสด้า 33,593 คัน   โดยค่ายที่มีอัตราเติบโตสูงต้องยกให้มาสด้าขายเพิ่มขึ้นถึง 40%  รวมถึงเอ็มจี ที่โตกว่า 100% ด้วยยอดขายรวม 12,028 คัน ขณะที่ค่ายใหญ่อื่นๆ ก็เป็นบวกกันถ้วนหน้า แต่มีหลุดไปเล็กน้อยคือฮอนด้า ที่ขายลดลง 2.6%   แม้จะมีผลกระทบจากราคาสินค้าการเกษตร และหนี้ภาคครัวเรือนสูง แต่ในภาพรวมของตลาดรถยนต์ยังมีกำลังซื้ออยู่พอสมควร สังเกตได้จากรถทุกเซ็กเมนต์ เช่นปิกอัพ ที่มียอดขาย  207,371 คัน เพิ่มขึ้น 20.2% เบอร์ 1 คืออีซูซุ ดีแมคซ์ ตามมาติดๆคือโตโยต้า ไฮลักซ์รีโว่ และฟอร์ด เรนเจอร์ ส่วนอันดับอื่นๆที่ตามมาก็ถือว่ายอดขายเติบโตทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็นมิตซูบิชิ ไทรทัน ,นิสสัน นาวารา ,เชฟโรเลต โคโลราโด และมาสด้า บีที -50  ด้านพีพีวี หรือ ปิกอัพดัดแปลงมียอดขายรวม 30,061 คัน เพิ่มขึ้น 5.3% ส่วนกลุ่มเอสยูวี หรือรถอเนกประสงค์ มียอดขายรวม 38,814 คัน เพิ่มขึ้น 57.1% และเมื่อรวมทั้ง 2 เซ็ก เมนต์พบว่ายอดขายมีทั้งสิ้น 68,875 คัน เพิ่มขึ้น 29.3%   ในกลุ่มบี-เอสยูวี ที่พัฒนาบนพื้นฐานรถยนต์นั่งถือว่าแข่งขันกันรุนแรง ทั้งโตโยต้า ซี-เอชอาร์ ใหม่ การไมเนอร์เชนจ์ของฮอนด้า เอชอาร์วี และมาสด้า ซีเอ็กซ์-3 รุ่นที่ขายมากที่สุดเป็นของ เอ็มจี แซดเอส 7,565 คัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์  ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561