สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

           นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ได้หารือในเบื้องต้นกับกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เห็นพ้องกันว่าควรจะต้องหามาตรการ เพิ่มเติมเพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตรถยนต์ลงทุนต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เนื่องจากต้องการให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเกิดการเปลี่ยนถ่ายให้พร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต "ได้หารือกันกับกระทรวงการคลังและบีโอไอว่า ควรจะต้องหามาตรการทางภาษีใหม่ๆ เพิ่มเติมจูงใจให้เกิดการลงทุนและการบริโภครถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศ คาดว่ามาตรการใหม่น่าจะออกมาภายในปีนี้" นายณัฐพล กล่าว   ทั้งนี้ เบื้องต้นจะต้องส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิต 4 ส่วน คือ ตัวชาร์จไฟฟ้า มอเตอร์ แบตเตอรี่ แบตเตอรี่แมเนจเมนต์ และตัวคอนโทรลที่จะใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นภายในประเทศให้ได้ก่อนซึ่งหากสามารถส่งเสริมให้เกิดและเข้าไปอยู่ในฐานการผลิตรถยนต์ได้ก็จะทำให้ในอนาคตประเทศไทยสามารถพัฒนา ขับเคลื่อนไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์แบบไร้คนขับได้ ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกและจะทำให้ประเทศไทยยังสามารถเป็นฐานการผลิตรถยนต์ได้ต่อไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์  โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 1 สิงหาคม 2561

 

       นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน กรรมการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้านั้นมี 6 มาตรการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ มาตรการกระตุ้นภาครัฐ ในเรื่องของการแบ่งสัดส่วน ที่ต้องแยกอย่างชัดเจนว่า เป็นรถไฟฟ้ากี่เปอร์เซ็นต์ของการซื้อทั้งหมด แนวทางที่ทำคงต้องให้ทางภาครัฐที่เป็นกำลังซื้อหลักมาเป็นตัวนำในการใช้รถไฟฟ้าก่อน ตอนนี้เข้าใจว่าการผลิตยังอยู่ในระหว่างการเริ่มต้น และมีหลายค่ายรถยนต์ที่ได้รับการส่งเสริม และเริ่มการผลิตแล้ว จำนวนหนึ่ง ถือว่าการได้รับการส่งเสริมเป็นอีกหนึ่งตัวกระตุ้นด้านการผลิตให้มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น   "ช่วงเริ่มต้นนี้ คิดว่ามาตรการที่มีอยู่ถือว่ามาถูกทางแล้ว แต่ถ้าถามว่าพอหรือยัง คงจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนไปก่อน ตอนนี้ทั้งภาครัฐเริ่มตื่นตัวกับเรื่องนี้มากขึ้น ส่วนภาคเอกชน ก็เริ่มที่จะสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากนี้ไปคงต้องจับตาดูเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งผมเข้าใจว่าเรื่องสถานีชาร์จจะต้องลงลึกในรายละเอียดอีกที ตอนนี้คงเป็นเพียงการประกาศให้ทุกฝ่ายเริ่มเตรียมพร้อม" นายอดิศักดิ์กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่  1 สิงหาคม 2561

 

         China's light-vehicle exports continue to rise on demand from developing countries and jumped 30 percent to around 70,000 in June.  Roughly 374,000 vehicles were shipped overseas in the first half, a surge of 37 percent from a year earlier, according to the China Association of Automobile Manufacturers.  In the first six months, Chery, China’s largest car exporter, delivered 67,459 vehicles overseas, a rise of 24 percent from the same period last year. The company didn’t release export figures for June.  The main export destinations for Chinese automakers are all developing countries, including Russia, and markets in the Middle East and South America. To date, BYD Co. is the only Chinese automaker that has gained a toehold in mature markets such as Western Europe and North America with its electric buses.

ที่มา : www.autonews.com วันที่ 31 กรกฎาคม 2561