สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

      นายณัฐพล รังสิตพล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เปิดเผยว่า ข้อตกลงเขตการค้าอาเซียน - จีน (เอซีเอฟทีเอ) จะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2561 นี้ โดยขณะนี้มีความกังวลประเด็นการนำเข้ารถยนต์นั่งไฟฟ้าที่ภาษีจะเหลือ 0% อาจส่งผลกระทบต่อแผนส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย เนื่องจากราคารถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จากประเทศจีนถูกกว่า  ประเด็นนี้ สมอ.ต้องขอหารือกับผู้บริหาร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ก่อน โดยก่อนหน้านี้ ทางกรมศุลได้แจ้งมามายังสมอ.แล้วว่า มีความประสงค์หารือร่วมกับสมอ.ถึงแนวทางการดูแลเรื่องนี้  นายณัฐพลกล่าวว่า สำหรับบทบาทของสมอ.ต่อการกำกับดูแลรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)ได้กำหนดแผนงานอย่างชัดเจนในการกำหนดมาตรฐาน ปลั๊กสำหรับชาร์จรถอีวี แบตเตอรี่ ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดมาตรฐานทั่วไปปลั๊กแล้ว 6 ประเภท ขณะนี้ทราบว่า กระทรวงพลังงาน เตรียมเสนอให้กำหนดเหลือ 2 ประเภท เพื่อให้การจัดตั้งสถานีชาร์จมีความคล่องตัวมากขึ้น ขณะที่แบตเตอรี่จะมีการจัดตั้งห้องทดสอบ(แล็บ)ภายในปี 2562 มีสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ดูแล ซึ่งแบตเตอรี่จะกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับเพราะหากไม่ได้มาตรฐานจะเป็นระเบิดขนาดใหญ่ ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้รถ โดยจะมีการประกาศหลังปี 2562  นอกจากนี้ สมอ. อยู่ระหว่างการกำหนดมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวและบริการ เช่น มาตรฐานด้านความสะอาด สารที่ใช้ปรุงแต่ง ฯลฯ ตลอดจนการกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรมสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว อาทิ กลุ่มของฝาก ของที่ระลึก ที่อยู่อุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ โดยกลุ่มนี้จะมี 2 มาตรฐานหลักดูแล คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ(เอสเอ็มอีไลท์) ซึ่งสมอ.กำลัง จัดทำคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ช่วงต้นปี 2561 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว

ที่มา : หนังสือพิมพ์  แนวหน้า วันที่ 20 ตุลาคม 2560

 
 

 

       นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่าดัชนีเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนกันยายน 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่2อยู่ที่ระดับ 86.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 85.0 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนจากเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 86.4 ส่วนดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 101.9 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ การส่งออก การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจาก ต่างประเทศเพื่อส่งมอบในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับการบริโภคภายในประเทศเริ่มมีสัญญาณที่ดี เห็นได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 80.3 จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 77.8 โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดย่อม ที่ดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก ในรอบ 6 เดือน อยู่ที่ระดับ 70.6 หลังจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมาปรับลดลงติดต่อกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 19 ตุลาคม 2560

 

 

   Brussels, 17 October 2017 – In September 2017, passenger car registrations across the European Union fell by 2.0%, totalling 1,427,105 units. In September 2017, passenger car registrations across the European Union fell by 2.0%, totalling 1,427,105 units. However, it must be noted that September 2016 figures (the highest total on record to date) constituted a high basis of comparison. Momentum in some of the EU’s five key markets is starting to slow, especially in the United Kingdom (‐9.3%) and Germany (‐3.3%). However, these declines were partially offset by the solid performance of the Italian and Spanish markets (up 8.1% and 4.6% respectively). Over the first nine months of 2017, demand for passenger cars remained positive in the EU, with almost 11.7 million new vehicles registered – an increase of 3.7% compared to the same period last year. Italy (+9.0%), Spain (+6.7%), France (+3.9%) and Germany (+2.2%) performed well so far in 2017, although UK car demand fell by 3.9%. Noteworthy is the strong performance of the new EU member states, where registrations went up by 13.8% during the period.

ที่มา : acea.be วันที่ 18 ตุลาคม 2560