นายชาญชัย ตระการอุดมสุข ประธานบริหาร บริษัทมาด้าเซลล์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่าในปี พ.ศ. 2562 บริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายไว้มากกว่า 75000 คัน หรือเติบโตประมาณ 5-10% และมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 6.7% เป็นอันดับ 3 ของตลาดรถยนต์นั่งแบบมั่นคงซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากปีพ.ศ. 2561 ที่ถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจสามารถทำยอดขายได้สูงสุดถึง 70000 คัน เติบโตถึง 37% นับว่าเป็นการเติบโตสูงสุดของมาสด้าทั่วโลก และส่งผลให้ในระยะ 5 ปี มาสด้ามียอดขายสะสมในไทยรวม 2 แสนคัน ผลักดันให้ไทยเป็นตลาดหลักที่สำคัญ “ในปีพ.ศ. 2561 ตลาดรถยนต์แข่งขันสูงมาก แม้มาสด้าจะไม่มีรถยนต์รุ่นใหม่มาทำตลาดเลย มีแต่รุ่นปรับโฉม แต่สร้างยอดขายและทำลายสถิติ มาจากลูกค้ามั่นใจในตัวสินค้าทุกรุ่น โดยมาสด้า 2 ทำยอดขายให้ได้มากที่สุด 45,972 คัน เติบโตถึง 45% ตลอดจนกิจกรรมการตลาดที่เข้าถึงทุกพื้นที่ ในปีพ.ศ. 2562 ถือเป็นปีทอง ที่จะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาทำตลาดรวม 6 รุ่น มีทั้งรุ่นใหม่และรุ่นปรับโฉม อาทิ CX 8 , CX 3 และมาสด้า 3 ที่มาพร้อมรูปลักษณ์ดีไซต์จากไคโดะดีไซต์ เจเนอเรชั่น 2 และเทคโนโลยีสกายแอ๊กทีฟ” ส่วนภาพรวมตลาดรถยนต์ในปีนี้ จะเติบโตเล็ดน้อย หรือทรงตัวประมาณการที่ 1.03-1.06 ล้านคัน จากปีที่แล้วยอดขายรวมทั้งปี 1,040,000 คัน เติบโต 19% ความเสี่ยงที่น่ากังวล สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และภาระหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีผลต่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ในขณะที่การเลือกตั้งมองว่าเป็นปัจจัยบวกที่จะส่งผลดีด้วย นายธีร์ เพิ่มพงษ์พันธ์ รองประธานบริหารฝ่ายการตลาดและรัฐกิจ สัมพันธ์ มาสด้าเซลล์ กล่าวว่า ปีนี้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารกับการสร้างแบรนด์สไตล์ของมาสด้า สื่อสารให้ครบทุกช่องทาง โดยเฉพาะออนไลน์ ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่ปูทางไปสู่การมาของรถยนต์มาสด้าเจเนอเรชั่นที่ 7 มาสด้ายังเดินหหน้าสู่นโยบาย Sustainable Zoom-Zoom 2030 โดยในปีค.ศ. 2030 รถยนต์ทุกรุ่นของมาสด้าจะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว
ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 61 พุ่ง 1.6 พันโครงการ มูลค่ากว่า 9 แสนล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 25 เป็นคำขอลงทุนในพื้นที่อีอีซีกว่า 6.8 แสนล้าน ค่ายรถยนต์แห่ยื่นขอลงทุนผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการทำงานและการลงทุนในปี 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า บีโอไอได้รายงานสถานการณ์การลงทุนในปี 2561 ที่ผ่านมา มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,626 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 901,770 ล้านบาท สูงกว่าปี 2560 โดยจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และมูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 ทั้งนี้ยอดคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในปี 2561 มีมูลค่า 720,000 ล้านบาท ร้อยละ 25 โดยภาพรวมของโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนปี 2561 พบว่าอย่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 84 หรือมูลค่าการลงทุนกว่า 758,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ( New S-curve) ได้แก่ ดิจิทัลการแพทย์ ปิโตเคมีและเคมีภัฒฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติและอากาศยาน เงินลงทุนรวม 539,000 ล้านบาท และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S-curve) ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ท่องเที่ยว และอาหารแปรรูป เงินลงทุนรวม 219,000 ล้านบาท ในช่วงไตรมาตรสุดท้ายของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกลุ่มยานยนต์หลายรายมายื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ซึ่งมาตรการส่งเสริมจะสิ้นสุดในปี 2561 จึงทำให้มูลค่าคำขอในปีที่ผ่านมาสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 25 นาย สมคิด กล่าว สำหรับการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี พบว่า มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 422 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมากที่สุดจำนวน 193 โครงการ เงินลงทุนรวม 576,910 ล้านบาท ตามด้วยจังหวัดระยอง 156 โครงการ เงินลงทุนรวม 58,700 ล้านบาทและจังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 73 โครงการ เงินลงทุนรวม 48,300 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ส่งหนังสือไปยังผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ หรือเกรย์มาร์เก็ต 120 ราย ซึ่งครอบครองรถนำเข้ามากกว่า 5,000 คัน ให้นำรถยนต์นำเข้ามาตรวจสอบเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. ด้านมลพิษเทียบเท่ากับมาตรฐานกลุ่มประเทศยุโรประดับยูโร 4 ก่อนที่จะขายให้ผู้ที่ต้องการซื้อ เนื่องจากผู้ที่ผ่านมามีผู้นำเข้าบรถยนต์อิสระหลายรายไม่นำรถยนต์มาตรวจสอบขอใบอนุญาตถือว่าผิดกฎหมายหากว่าใน 30 วันยังไม่นำเอกสารหรือนำรถเข้ามาตรวจสอบ ถือว่าฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและจะส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดีเพราะอาจเข้าข่ายฟอกเงิน “ผู้ประกอบการนำรถมาตรวจสอบเพียง 1,000 คันจากทั้งหมด 5,000 กว่าคัน ทั้งที่ขั้นตอนกาตรวจสอบระบบใหม่มีความสะดวกขึ้นมากและมีค่าใช้จ่ายใบอนุญาตคันละ 3,000 บาท ค่าทดสอบมลพิษ 50,000 บาท ซึ่งใช้เวลาไม่นาน บางรายก็อ้างว่าปล่อยรถออกไปแล้วตามกลับมาไม่ได้ ทั้งที่ผิดเงื่อนไขตั้งแต่ต้นเรื่องที่ไม่ขอใบอนุญาต