สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

            นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) แสดงความเห็นกรณีที่ บริษัท ทาทามอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เตรียมหยุดการผลิตรถในประเทศไทยว่า ในช่วง 4 ปีก่อนหน้านี้ บริษัท ทาทามีความต้องการขยายตลาดในประเทศไทยอย่างมาก โดยทาทา เข้ามาอยู่ในหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย ทั้งอุตสาหกรรมเหล็กและรถยนต์   “การประกาศเตรียมยุติการผลิตของทาทา ถือเป็นเรื่องการตลาดที่แข่งขันกับรถยนต์จากผู้ผลิตจากญี่ปุ่น เกาหลี และรถยนต์จากประเทศอื่นๆ ไม่ดีนัก จึงพิจารณาอาจถอยออกจากตลาดประเทศไทย แต่เรื่องนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมและความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่ปัจจุบันตลาดยังเติบโตทั้งยอดขายในประเทศและยอดส่งออกรถยนต์ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์มากที่สุดอันดับที่ 12 ของโลก” นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติ่มถึงนโยบาย กระทรวงอุตสาหกรรมว่า กำลังเดินหน้าต่อยอดการผลิตรถยนต์ไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV โดยการประกาศมาตรการส่งเสริมการลงทุนระยะที่ 2 จะลงลึกในส่วนของการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการผลิตรถสามล้อและรถบัสไฟฟ้าด้วย  มีรายงานแจ้งว่า ทาทา มอเตอร์ส ได้เข้ามาทำตลาดและเปิดโรงงานผลิตในประเทศไทยเป็นระยะเวลาถึง 12 ปีด้วยกัน จนกระทั่งบริษัทแม่ที่อินเดียตัดสินใจยุติการผลิตในไทย โดยจะนำเข้ารถยนต์จากอินเดียแทน
ที่มา : หนังสือพิมพ์  แนวหน้า วันที่ 14 สิงหาคม 2561

 

          กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์วานนี้ (9 ส.ค.)ว่า ซูซูกิ มอเตอร์ มาสด้า มอเตอร์ และยามาฮ่า มอเตอร์ ยอมรับว่าปลอมผลทดสอบค่ามลพิษในยานพาหนะบางประเภท ถือเป็นกรณีอื้อฉาวล่าสุด ที่ทำลายความ น่าเชื่อถืออุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น ซึ่ง คำสารภาพจากค่ายรถทั้ง 3 แห่งมีขึ้นหลังจากที่ กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่นมีคำสั่งเมื่อเดือนที่แล้วให้ผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ 23 ราย ดำเนินการตรวจสอบภายใน สืบเนื่องจากกรณีที่ นิสสันและซูบารุ ถูกพบว่าโกงผลทดสอบ ไอเสียและการประหยัดเชื้อเพลิง    ทั้งนี้ ผู้ผลิตทั้ง 3 รายยอมรับว่า มีการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพยานพาหนะอย่างไม่เหมาะสม และเจ้าหน้าที่ของบริษัทได้ออกใบรับรองคุณภาพให้แก่ยานพาหนะบางรุ่น ทั้งที่การทดสอบค่ามลพิษยังไม่สมบูรณ์ โดยซูซูกิ ยอมรับว่ามียานพาหนะ 6,401 คัน ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างเหมาะสม หรือเกือบครึ่งหนึ่งของการสุ่มตรวจในช่วงปี 2555-2561  ขณะที่ มาสด้า เปิดเผยว่า มีรถยนต์ 72 คัน หรือ 3.8% ของกลุ่มตัวอย่าง ที่ไม่ผ่านการทดสอบอย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับ ยามาฮ่า มอเตอร์ ที่ยอมรับว่า 2.1% ของตัวอย่าง รถจักรยานยนต์ไม่ผ่านการตรวจสอบอย่างที่ควรจะเป็น โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่จากอีก 20 ราย ที่เหลือ รายงานว่าไม่พบความบกพร่องในการดำเนินงาน ขณะที่บางรายยังตรวจสอบไม่เสร็จ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 10 สิงหาคม 2561
 

 

            วานนี้ (8 ส.ค.) สถาบันยานยนต์ กระทรวง อุตสาหกรรม จัดสัมมนาเรื่อง "โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการสู่อุตสาหกรรมอากาศยาน" นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากโอกาสของอุตสาหกรรมอากาศยานที่มี เพิ่มขึ้นประกอบกับนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับการผลิตจากอุตสาหกรรมเดิมที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพอยู่แล้วให้สามารถต่อยอดการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมมูลค่าสูงตามการส่งเสริมอุตสาหกรรม S curve ใหม่ กระทรวงอุตสาหกรรมมองว่า ในส่วนของผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยซึ่งมีจำนวนมากและมีผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องถึง 1-2 หมื่นราย หากสามารถส่งเสริม ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้สามารถก้าวเข้าไปสู่การ เป็นผู้ประกอบการชิ้นส่วนในซัพพลายเชนของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานได้ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมนี้ได้อีกหลายเท่าตัว   นำร่อง 10 รายทดลองผลิตตามออร์เดอร์   นายธนวัฒน์ คุ้มสิน รองผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่อุตสาหกรรมอากาศยาน ในปีงบประมาณ 2561 สถาบันได้มีการเข้าไปประเมินศักยภาพและ ความพร้อมของผู้ประกอบการที่มีความพร้อม ที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมอากาศยานโดยประเมินผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 ราย มีบริษัทที่ผ่านการประเมินความพร้อมเบื้องต้นที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมอากาศยาน 10 ราย ซึ่งในขั้นตอนต่อไปต้องเพิ่มเติมการให้ความรู้กับผู้ประกอบการและให้ทดลองการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานตาม ออเดอร์ที่มีผู้ประกอบการทยอยป้อนให้
ที่มา: หนังสือพิมพ์  กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 9 สิงหาคม 2561