สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

               นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งดำเนินการปรับมาตรฐานการระบายสารมลพิษจากเครื่องยนต์จากปัจจุบันที่ใช้มาตรฐานยูโร 4 ให้เทียบเท่ายูโร 5 ในปี 2564 และยูโร 6 ในปี 2565 เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า สมอ. อยู่ระหว่างจัดทำมาตรฐานยูโร 5 โดยกำหนดรายละเอียดการระบายสารมลพิษและฝุ่นละอองที่เข้มกว่ายูโร 4 คาดว่าจะสามารถลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในปีนี้ และบังคับใช้ในปี 2563  แต่ละบังคับใช้จริงปี 2564 เพื่อให้เวลาปรับตัว 1 ปี คาดว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นราว 3-4 % จะส่งผลกระทบกับรถยนต์อีโคคาร์และรถยนต์หรูต่างกันตามต้นทุน นายครรชิต ไชยสุโพธิ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่อยนต์โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่อาจจะต้องชดเชยเพราะหากต้นทุนเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะขายในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 มีนาคม 2562

                    สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีนเปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 1.48 ล้านคัน หรือลดลง 13.8% โดยลดลงเป็นเดอยที่ 8 ติดต่อกัน ดีมานด์รถยนต์ในประเทศจีนเพิ่มขึ้นในรอบหลายปีเนื่องจากจีนได้พัฒนาเศรษฐกิจจนทำให้มีชนชั้นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น แตยอดขายรายปีลดลงเป็นครั้งแรกประมาณ 2 ทศวรรษในปีที่ผ่านมาเนื่องจากเศรษฐกิจโตลดลงและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ดอยช์แบงก์คาดการณ์ว่าทางการจีนจะมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์หากไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาสงครามการค้า ในขณะที่ชิตี้แบงก์ กล่าวว่ายังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลดภาษีเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายหรือไม่ ดังนั้นน่าจะทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์จนกว่าจะมีมาตรการทางภาษี ยอดขายรถยนต์เป็นตัววัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคจีนและเศรษฐกิจจีนโดยรวมและยังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับบริษัทรถยนต์ต่างชาติที่หวังว่าดีมานด์ของจีนจะสามารถช่วยหนุนภาครถยนต์ทั่วโลกได้  ทางด้านบริษัทโฟร์กสวาเกนเปิดเผยเมื่อเช้าวันพุธว่าจะลดกำลังแรงงานถึง 7,000 คนเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและจะประหยัดเงินในส่วนของแบรนด์โฟร์กสวาเกนหลักๆ ให้ได้ปีละ 5,900 ล้านยูโรภายในปี 2566 เพื่อเพิ่มกำไรในการดำเนินงานเป็น 6% นอกจากนี้ บริษัทยังไม่ปฎิเสธที่จะลดพนังงานไปจนกว่าจะถึงปี 2568 แต่การเกษียณอายุก่อนกำหนดจจะช่วยให้บริษัทลดกำลังแรงงานได้ระหว่าง 5,000 – 7,000 คน มาตรการเพิ่มกำไรจะสามารถช่วยให้แบรนด์ของบริษัทมีระดับผลตอบแทนที่สามารถแข่งขันได้ 6% ในปี 2565

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 14 มีนาคม 2562

                  คงอาจกล่าวได้ว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” หรือ EV กำลังมาแรงอย่างฉุดไม่อยู่ทั่วโลก สะท้อนออกมาจากยอดขายอีวีทั่วโลก รวมถึงรถปลั๊กอินไฮบริดที่ทะลุ 2 ล้านคัน เมื่อปี 2018 เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปีก่อนหน้านี้ ตามข้อมูลของบริษัทวิจัย เอสแอนด์พี โกลบอล แพลตส์ โดยยอดขายรถอีวีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วน 54% ขอกยอดขายรถทั้งหมดภายในปี 2040 ซึ่งตลาดอีวีตัวท็อปคงหนีไม่พ้น จีน สหรัฐ และยุโรป “อาเซียน” เองก็นับเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่น่าจับตามองไม่น้อย เพราะมีศักยภาพในการก้าวขึ้นเป็นตลาดอีวีดาวรุ่งพุ่งแรงทั้งในแง่ของขนาดตลาดและการเป็นหมุดลงทุนพัฒนารถอีวีของนานาชาติ ในแง่ของตลาดอีวีนั้นจำนวนรถอีวีในอาเซียนคาดว่าจะคิดเป็นสัดส่วนราว 20% ของรถยนต์บนท้องถนนภายในปี 2025 แบ่งเป็นรถอีวี 4 ล้อ 8.9 ล้านคัน และรถไฟฟ้า 2 ล้อ หรือ 3 ล้อ อีกกว่า 59 ล้านคัน ตามการประเมินของหน่วยงานด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (iRENA) สำหรับปัจจัยหลักที่ผลักดันให้สัดส่วนอีวีอาเซียนเพิ่มขึ้นมาจากนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล โดย “สิงคโปร์” เริ่มมุ่งหน้าเข้าสู่เส้นทางรถยนต์ไฟฟ้ามานับตั้งแต่ปี 2011 ด้วยการออกแผนกลยุทธ์ลดการปล่อยคาร์บอนจากการคมนาคม และเมื่อเดือนธันวาคม 2017 สิงคโปร์เปิด Blue SG บริการแชร์อีวีเริ่มต้นด้วยจำนวนรถ 80 คัน และจุดชาร์จ 30 จุด ด้าน “มาเลเซีย” ประกาศเป้าหมายเพิ่มอีวีบนถนนเป็น 1 แสนคันภายในปี 2030 รวมถึงเปลี่ยนไปใช้รถเมย์ไฟฟ้า 2,000 คันและเพิ่มจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 1.25 แสนจุด ขณะที่ “อินโดนีเซีย” ระบุว่าจะเพิ่มสัดส่วนอีวีในตลาดรถเป็น 20% ภายในปี 2025 แบ่งเป็นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2.1 ล้านคัน และรถเก๋ง 2,200 คัน อีกทั้งก่อนหน้านี้ประกาศแบนการขายรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลภายในปี 2040 สำหรับ “ไทย” การผลักดันอีวีช่วงที่ผ่านมาอยู่ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกปี 2012-2021 ที่ได้รับการอนุมัติเมื่อปี 2015 โดยแผนดังกล่าวส่งผลให้จำนวนรถอีวีไฮบริด ทั้งแบบไฮบริด (HEV) และปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.02 แสนคัน ส่วนรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า (BEV) ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1,394 คัน ในปี 2017 จากจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดเพียง 6 หมื่นคันเมื่อปี 2014

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 13 มีนาคม 2562