สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                   EA เตรียมให้เปิดจองรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MINE MVP ในงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 40 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน คาดยอดขายกว่า 4000-5000 คัน เดินหน้าโรงงานแบตเตอรี่ตามแผนเล็งเปิดดำเนินการเชิงพานิชย์ปลายปีนี้ พร้อมทุ่ม 1,000 ล้านบาท ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าไฮบริดในเมียนมา-เวียดนาม ลั่นชัดเจนภายในปีนี้ นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า บริษัทจะนำรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น MINE MVP ราคาเฉลี่ยไม่เกิน 1 ล้านบาท ไปแสดงในงาน Bangkok international Motor Show 2019 (มอเตอร์ โชว์ ครั้งที่ 40 ) ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน 2562 และเปิดให้จองก่อน คาดว่าจะสามารถขายรถยนต์ไฟฟ้าได้กว่า 4,000-5,000 คัน ส่วนรุ่นอื่นจะออกในปีถัดไป ทั้งนี้สอดคล้องกับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับลดภาษีสรรพสามิตเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รถยนต์กระบะ และรถยนต์กระบะ 4 ประตู ที่ปล่อยค่า PM2.5 ไม่เกิน 0.005 หรือสามารถใช้ B20 ได้ ให้เก็บภาษีลดลง 1-2% และลดอัตราภาษีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนการผลิต มองว่าจะช่วยกระตุ้นตลาดรถยนต์ด้านจิตวิทยามากกว่า เช่น ทำให้ผู้บริโภคอยากใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งในระหว่างนี้บริษัทจะเร่งเดินหน้าขยายจุดบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานีชาร์จไฟฟ้า เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ MINE และแบรนด์อื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทยังสนใจพัฒนารถยนต์ในรูปแบบอื่นๆเช่น รถกระบะ รถบรรทุก และยานพาหนะอื่นๆ ในอนาคต ส่วนการขยายจุดบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือสถานีชาร์จไฟฟ้า ปัจจุบันขยายไปมากกว่า 300 จุดแล้ว ซึ่งมีแผนจะดำเนินากรขยายจุดชาร์จให้ครบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2563

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2562

                 การที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มั่นคงได้นั้น เราจะต้องเก่งกว่าเดิมและจำเป็นต้องมีโนว์ฮาว จุดแข็งในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์สำคัญๆอยู๋ในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่พอประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถยิ่งๆขึ้น “อดิศักดิ์ โรหิตศุน” กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทำการแทยผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ยังหมายรวมและมองไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การรองรับเทคโนโลยีอัตโนมัติจะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน ปิกอัพ-พีพีวี สดใส จะเห็นว่ายอดการผลิตรถยนต์ในปี 2561 ที่ผ่านมา มียอดผลิตทะลุ 2,167,694 คัน โต 9% แบ่งเป็นการผลิตในประเทศ 1,041,739 คัน โต 20% ส่งออก 1,140,640 คัน ทรงตัว 4% ในปีที่ผ่านมา ส่วนในปีนี้ค่ายรถต่างคาดการณ์ยอดผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา สำหรับตลาดในประเทศ ส่วนส่งออกนั้นคาดว่าจะลดลงไปเล็กน้อย ลดไป 4-5% คาดปีนี้ยอดผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่สัดส่วนการผลิต 58% นั้นจะเป็นรถในกลุ่มปิกอัพและพีพีวี ที่เหลือจะเป็นกลุ่มรถยนต์นั่ง แบ่งตามขนาดเครื่องยนต์หลัก เป็นรถเครื่องยนต์น้อยกว่า 1,500 ซีซี อยู่ที่ 30% รถขนาด 1,500-2,000 ซีซี อยู่ที่ 9% และรถมากกว่า 2,000 ซีซี มีอยู่ 2% โดยแทรนด์ความต้องการใช้รถยนต์ของปีนี้จะเป็นไปได้ทิศทางนี้สำหรับตลาดในประเทศนั้นปี 2561 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ 3 ที่ประเทศไทยมียอดขายรถยนต์เกินกว่า 1 ล้านคัน ห่วงการเมืองกระทบ ปัจจัยลบที่ต้องจับตามองมีหลายตัวเหมือนกัน เช่น การครบกำหนดอายุของรถยนต์คันแรกที่ครบอายุ 5 ปี ยังมีอยู่ และกลุ่มรถยนต์ xEV ซึ่งมีทั้งไฮบริด ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และอื่นๆที่มีมอเตอร์ที่ค่ายรถยนต์ต่างๆจะทยอยส่งออกสู่ตลาด ทั้งญี่ปุ่นและยุโรปน่าจะมีออกสู่ตลาดมากขึ้น และช่วยกระตุ้นความต้องการในตลาดรถยนต์ได้ ส่วนปัญหาเรื่องไฟแนนซ์ สถาบันการเงิน ทั้งจากค่ายรถยนต์เองและจากสถาบันการเงินทั่วไป น่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ซื้อรถยนต์คันใหม่ได้ แต่เชื่อว่าทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคจะสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ แต่ปัจจัยที่ต้องจับตาคือ สถานการณ์การเลือกตั้ง รถใหม่ในปัจจุบันซื้อโดยวิธีการผ่อนชำระ 80-90% ผู้ที่ผ่อนรถเอาเงินเดือนส่วนพิเศษ เงินโอทีมาผ่อนรถ ถ้าเศรษฐกิจดีก็จะมีเงินมาผ่อน ทำให้วงจรเดินตามปกติ แม้ว่าดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นบ้างแต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี หากลดโอทีก็จะส่งผลกระทบ ทั้งนี้ หากการเลือกตั้งราบรื่นก็ไม่น่าจะมีปัญหาหรือผลกระทบทแต่อย่างใด แต่หากการเลือกตั้งผ่านไปแล้วแต่ยังไม่แข็งแรง อาจจะส่งผลกระทบได้ กลุ่มเกษตรกรเองก็ยังต้องจับตาราคาพืชผล ที่ปัจจุบันยังถือว่าเป็นปัจจัยที่ต้องจับตา

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2562

              นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักงานแผนภาษีในฐานะริงโฆษกกรมสรรพสามิต แดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 ได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ในการลดภาษีสรรพสามิตให้กับรถยนต์ที่สามารถลดฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) คือลดอัตราภาษีรถกระบะ(ปิกอัพ) และรถกระบะ 4 ประตู (ดับเบิลแค็บ) ที่ใช้น้ำมันดีเซลบี 20 และยกระดับมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ดีเซล เป็นมาตรฐานยูโร 5 หรือรถที่มีค่า PM ไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกิโลเมตร ซึ่งได้รับการลดภาษีให้ประมาณ 1-2% ขณะนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่ 5 ยี่ห้อ ซึ่งมีรถกระบะและรถกระบะ 4 ประตู  มีความพร้อมที่จะใชชัน้ำมันบี 20 และสามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณืต่างๆของรถยนต์ อาทิ เปลี่ยนท่อไอเสีย เป็นต้น เพื่อให้รองรับน้ำมันบี 20 ได้แล้ว โดยคาดว่า ไม่เกินปีนี้จะเห็นรถกระบะปี 20 คันแรกออกวางจำหน่าย “ทั้งนี้ คาดว่ามาตราการภาษีดังกล่าว จะจูงใจให้ผู้ผลิตปรับเปลี่ยนรถยนต์ให้เป็นบี 20 ได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีลดภาษีให้ต่ำมากและมาตรการที่ออกมาเป็นมาตรการมีประโยชน์ต่ผู้ประกอบการและผู้ใช้รถยนต์โดยเฉพาะเรื่องของการลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นนโยบายมี่สำคัญของรัฐ” นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบให้ลดอัตราภาษีรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า (อีวี)  ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จากปัจจุบันภาษี 2% ลดลงหลือ 0% สำหรับรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2565 ระยะเวลาทั้งสิน 3 ปี เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเร่งผลิตรถอีวีออกมาเร็วขึ้น โดยหากรถอีวี ราคา 1 ล้านบาท จะไดรับส่วนลดภาษีประมาณ 20,000 บาทต่อคัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 8  มีนาคม 2562