สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

               ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตรถยนต์หลักของภูมิภาคจะมีบทบาทอย่างไรในห่วงโซ่การผลิตรถยนต์อนาคตของโลก ย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย บริษัทแม่เป็นสำคัญ เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ไทยทั้งหมดเป็นบริษัทในเครือ ของผู้ผลิตรถยนต์ต่างชาติ นโยบายบริษัทแม่จึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือก ที่ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์อนาคตและชิ้นส่วน     การวางแผนลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์จำเป็นต้องคำนึงถึง ห่วงโซ่อุปทานชิ้นส่วนรถยนต์ ประเทศที่มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศสูง ทั้งชิ้นส่วนรถยนต์และชิ้นส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ จะมีความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน ช่วยลดต้นทุนการขนส่งและเพิ่มความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบ อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยในปัจจุบันใช้ชิ้นส่วนประเทศระดับปานกลาง เมื่อเทียบกับภูมิภาค การเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศจึงเป็น ความท้าทายในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์อนาคตของภูมิภาค
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561
 

 

 

 

          เจโทรดึงเอกชน 44 ราย ร่วมงานเมทัลเล็กซ์จับคู่ธุรกิจในไทย เชื่ออีอีซี กระตุ้นภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักรคึกคักจับคู่ธุรกิจในไทย เชื่ออีอีซีกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักรคึกคัก นายเคนจิ ยามากุจิ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า เจโทรได้นำผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่เน้นเอสเอ็มอีของญี่ปุ่น ในกลุ่มเครื่องจักรอุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรขึ้นรูปโลหะ ชิ้นส่วนยานยนต์แห่งอนาคต เทคโนโลยีอัตโนมัติในโรงงานจำนวน 44 ราย มาร่วมงานเมทัล เล็กซ์ (Metalex2018) ในประเทศไทย ซึ่งเอสเอ็มอีของญี่ปุ่นต่างมีความสนใจขยายธุรกิจและเข้ามาศึกษาตลาดในประเทศไทย        ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการญี่ปุ่นต่างรับรู้นโยบายประเทศไทย 4.0 และการจัดทำเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมถึงให้ความสนใจในนโยบายดังกล่าวของประเทศไทย พร้อมประเมินโอกาสที่จะสามารถขยายตลาดกลุ่มสินค้าเครื่องจักรดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและคนเกิดใหม่น้อยลง จึงมีความต้องการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติและระบบหุ่นยนต์ของไทยสูงมากขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561

 

       เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 11,172 คัน เพิ่มขึ้น 5,142 คัน หรือ 85.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และนำเข้ารถยนต์ไม่เกิน 9 ที่นั่ง ส่วนใหญ่จากอาเซียน คิดเป็น 93.5% ของการนำเข้ารถยนต์ทั้งหมด โดยมากกว่า 51% นำเข้าผ่านท่าเรือในนครโฮจิมินห์ และได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรีของอาเซียน (ATIGA)    ทั้งนี้ กรมศุลกากรเวียดนามประกาศว่าชิ้นส่วน อุปกรณ์ และส่วนประกอบรถยนต์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์คัสซี (Chassis) และเทคโนโลยีพิเศษที่ ไม่สามารถผลิตในเวียดนามได้ เว้นแต่ ผู้ผลิตลงทุนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ในเวียดนาม โดยบริษัท โตโยต้า ฟอร์ด และนิสสัน นำเข้าสายไฟฟ้าและเหล็กจากไทย อินเดีย และอินโดนีเซีย เพื่อผลิตรถยนต์ในเวียดนาม

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561

'