The German government wants carmakers to offer mechanical modifications to engine and exhaust systems for some models, Der Spiegel reported on Saturday. The new government position was agreed to by experts and civil servants of the German transport ministry in an effort to prevent bans on diesel cars in some cities. The move would be a break with a less costly software-only overhaul agreed to just months ago. In August, German politicians and car bosses agreed to overhaul engine software on 5.3 million diesel cars to cut pollution and try to repair the industry's battered reputation. Politicians stopped short of demanding more expensive hardware adaptations. Environmentalists have said that agreement two years after Volkswagen Group admitted to cheating diesel emissions tests was too little, too late, and have vowed to press ahead with legal action aimed at banning polluting vehicles. The German transport ministry was not immediately available for comment.
ที่มา : www.autonews.com วันที่ 10 ตุลาคม 2560
"ค่ายรถ"เดินหน้าปูทางรับรถยนต์ไฟฟ้า "นิสสัน"หวังเปิดตัว"บีอีวี"ค่ายแรก ขณะ"บีเอ็มฯ-วอลโว่ร่วมพันธมิตรต่างธุรกิจ ผุดจุดชาร์จ "เบนซ์"ชี้กระแสปลั๊ก-อิน ไฮบริด มาแรง ขณะสนพ.ชี้ต่างชาติ 4 ค่ายหลัก ผนึก ผู้ประกอบการไทย ลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้า พร้อมเร่งวิจัยพัฒนาแบตเตอรี่ ด้านสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า แจงเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดใน 5-10 ปี รัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ที่ขับเคลี่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหรืออีวี ครอบคลุมรถพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว(BEV) รถ ไฮบริด และปลั๊ก-อิน ไฮบริด ทั้งมาตรการส่งเสริม การลงทุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุนหรือบีโอไอ และมาตรการด้านภาษีจาก กรมสรรพสามิตที่ลดภาษีกึ่งหนึ่งสำหรับไฮบริดและ ปลั๊ก-อินไฮบริด และภาษี 2% สำหรับบีอีวี ให้สอดคล้อง กับทิศทางโลกที่มุ่งมาทางยานยนต์ไฟฟ้า โดยเริ่มมี บางประเทศประกาศเลิกจดทะเบียนรถที่ใช้เครื่องยนต์น้ำมันภายในปี 2573
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 9 ตุลาคม 2560
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ ขอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 2-4 ต.ค. 2560 ประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยเฉพาะการหารือด้านการค้าและการลงทุน และพร้อมที่จะร่วมมือเพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน โดยได้ก้าวข้ามปัญหาการขาดดุลการค้า เน้นการจับมือเป็นพันธมิตรเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างกัน ทั้งนี้ ผู้นำทั้งสองได้เห็นพ้องกันว่า นโยบายอเมริกันมาก่อน (America First) และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สามารถเกื้อกูลกันได้ โดยสินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่สหรัฐนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าสำเร็จรูปในอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีคุณภาพสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้า ซึ่งจะนำไปสู่การขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้ขอให้สหรัฐอำนวยความสะดวกการลงทุนของไทยในสหรัฐ เพราะในปีนี้นักธุรกิจไทยมีแผนจะเพิ่มการลงทุนในสหรัฐอีก 8,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างงานเพิ่มอีกกว่า 1 หมื่นตำแหน่ง จากในปี 2559 ไทยลงทุนในสหรัฐเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ในสาขาต่างๆ เช่น อาหาร พลังงาน ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น มีมูลค่าลงทุน 5,600 ล้านดอลลาร์
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์ วันที่ 6 ตุลาคม 2560