สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

        สมชาย หาญหิรัญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย ถึงแนวทางการเชื่อมโยงเอสเอ็มอี ไปสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย ว่า ขณะนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ไปประสานงานกับบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้ามาอยู่ในซัพพลายเชนระดับโลกมากขึ้น  โดยขณะนี้ได้มี "บริษัทขนาดใหญ่" ในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลายรายแสดงความสนใจที่จะร่วมมือในแนวทางดังกล่าว เช่น บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ ซึ่งจะเข้ามาเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ไทยให้สามารถยกระดับการผลิตเพิ่มขึ้น

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 31 ตุลาคม 2560

 
 

 

    กระแส รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ที่กำลังค่อยๆกลืนกินรถยนต์ที่ใช้แก๊สและน้ำมันให้หายไปเรื่อยๆ โดยขณะที่หลายประเทศทั่วโลกได้ตั้งเป้านโยบายส่งเสริมการใช้รถอีวี พร้อมๆกับประกาศยกเลิกการผลิตและการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีการประเมินว่า นอร์เวย์ จะเป็นประเทศแรกของโลกที่บรรลุเป้าหมายผลักดันการใช้รถยนต์อีวีแบบ 100% ในปี 2025  รัฐบาลหลายประเทศเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายที่เกื้อหนุนตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมากขึ้น ตัวอย่างจาก เยอรมนี ที่ประกาศนโยบายเมื่อปีก่อนโดยรัฐบาล จะออกมาตรการทางภาษีเพื่อบังคับให้ผู้ผลิตรถยนต์ยุติการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง แล้วหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานที่ไม่ปล่อยมลพิษแทนภายในปี 2030 ทั้งยังเสนอให้กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) หันมาพิจารณามาตรการดังกล่าวร่วมกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 ตุลาคม 2560

 
 

 

    วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป จีนจะสามารถส่งรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาขายในเมืองไทยโดยไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงการค้าอาเซียน-จีน หรือ "เอฟทีเอ" เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า พยายามจูงใจให้ค่ายรถต่างๆ มาตั้งโรงงานผลิตหวังให้ไทยเป็นศูนย์กลาง หรือฮับ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค แต่เมื่อมีเงื่อนไขในข้อตกลงการค้าอาเซียนจีน กรณีรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ ส.อ.ท. เรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งทบทวนข้อตกลงดังกล่าว          โดยให้เหตุผลว่าอัตราภาษี 0% อาจส่งผลกระทบต่อแผนส่งเสริมต่างชาติใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค เนื่องจากราคารถยนต์อีวีที่นำเข้าจากประเทศจีนตามข้อตกลงจะถูกกว่าการลงทุนผลิตในประเทศมาก  นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. ออกโรงแนะแนวทางว่า อยากให้ถอดรถยนต์ไฟฟ้าออกมาจากกรอบเอฟทีเอ แลกกับสินค้าประเภทอื่นแทน หรือไม่เช่นนั้นต้องหาแนวทางอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น การออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ชั้นสูง เป็นต้น   ความห่วงใยของเอกชนในเรื่องนี้ไม่เพียงแค่ ส.อ.ท. เท่านั้น หากแต่บรรดาค่ายรถยนต์เองก็กังวลในระดับหนึ่ง

ที่มา : หนังสือพิมพ์  มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 27 ตุลาคม 2560