สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

    "รถเมล์ไฟฟ้า" ที่ไม่ปล่อยไอเสียในระหว่างสัญจร ออกมาวิ่งทั่วเมืองมากยิ่งขึ้นเพื่อลดมลพิษในอากาศ  ในขณะนี้กรุงปักกิ่งของจีนนับว่ามีความก้าวหน้ามากที่สุดในการใช้รถเมล์ไฟฟ้า โดยล่าสุดทางรัฐบาลท้องถิ่นได้เปิดตัวรถเมล์ไฟฟ้าพร้อมเครื่องฟอกอากาศอีก 10 คัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อใช้ลดปริมาณอากาศเสียบริเวณใจกลางเมืองโดยเฉพาะ โดยเครื่องฟอกอากาศบนรถจะช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศได้ นอกจากนี้ ทางการยังเตรียมใช้งานรถเมล์ไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 4,500 คัน ภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1,300 คัน ทั้งนี้ กรุงปักกิ่งเป็นเมืองที่มีปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซึ่งสามารถเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ อยู่ที่ 73 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรแล้วเมื่อปี 2016 สูงกว่าคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (ดับเบิ้ลยูทีโอ) ที่ไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ ทูเดย์วันที่ 26 ตุลาคม 2560

 

 

   In September 2017, commercial vehicle registrations across the EU remained stable (+0.6%) compared to one year ago. Performances were diverse across the CV segments, with registrations of vans showing a modest increase (+2.1%) but demand for new trucks and buses falling (-6.5% and -9.9% respectively). Spain and Germany were the only markets among the big five to post growth (up 7.8% and 5.5%), while the United Kingdom (-6.0%) and Italy (-1.0%) performed less well than in September last year. Over nine months in 2017, demand for new commercial vehicles remained positive in the EU, with almost 1.8 million new vehicles registered – up 3.3%. Spain continued to drive growth (+14.4%), followed by France (+6.5%), Germany (+2.2%) and Italy (+1.6%). By contrast, CV registrations declined in the United Kingdom (-3.3%) so far in 2017.

ที่มา : acea.be วันที่ 25 ตุลาคม 2560

 

 

     รถยนต์พระที่นั่งองค์แรกแห่งราชสำนักไทยมีการบันทึกไว้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ที่รู้จักกันว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” พระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จฯทรงรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศส ได้ซื้อรถเดมเลอร์ เบนซ์ (Daimler Benz)มาไว้ใช้งาน และเมื่อเสด็จฯกลับสยาม ก็ได้ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ใช้เป็นราชยานยนต์ส่วนพระองค์เป็นคันแรก  รถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมัยประทับอยู่เมืองโลซานประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ คือ“เมอร์เซเดส-เบนซ์ นูร์เบิร์ก 500 (Mercedes-Benz Nurburg 500)” ซึ่งเป็นรถยนต์พระที่นั่งที่รัฐบาลไทยจัดถวาย รถยนต์ฝรั่งเศสที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดและเสด็จฯทอดพระเนตร ยี่ห้อเดอลาเฮย์ (Delahaye)ผลิตในกรุงปารีส โดยทรงซื้อรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์จากเดอลาเฮย์ถึง 4 คัน คือเดอลาเฮย์ โมเดล 135สองประตูเปิดประทุน คาบริโอเล่ต์,เดอลาเฮย์ โมเดล 178เครื่องยนต์หกสูบ สามคาร์บิวเรเตอร์แบบรถแข่ง ตัวถังซาลูน,เดอลาเฮย์โมเดล 178เครื่องยนต์หกสูบ คาร์บิวเรเตอร์เดี่ยว เดิมเป็นตัวถังซาลูน ต่อมาปรับปรุงเป็นแวก้อนติดซันรู้ฟโดยบริษัท ไทยประดิษฐ์, และเดอลาเฮย์ โมเดล 180ตัวถังลีมูซีน เครื่องยนต์หกสูบ สามคาร์บิวเรเตอร์ ฐานล้อยาว มีกระจกกั้นกลางห้องโดยสารกับห้องคนขับ   

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 24 ตุลาคม 2560