สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

           นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานสัมมนาเปิดโครงการสนับสนุนการเปลี่ยนรถตุ๊กตุ๊กให้เป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ที่โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์กรุงเทพฯ ว่ากระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างหารือกับผู้ผลิตรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าและเครื่องยนต์ปกติคือน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี)ทั่วประเทศ จำนวน 7 ราย ถึงความเป็นไปได้ ในการกำหนดให้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนในการส่งออกไปขายทั่วโลก   เนื่องจากปัจจุบันรถตุ๊กตุ๊กไทยเป็นที่นิยมของผู้ใช้รถและมีการจำหน่ายแล้วใน 3 ประเทศทวีปยุโรป คือ ฝรั่งเศส สวีเดน เดนมาร์ก ขณะที่การผลิตในประเทศเพื่อใช้ส่วนบุคคลก็มีแพร่หลาย ผู้ผลิตไทยมีความสามารถ แต่ติดปัญหาแบตเตอรี่ราคาแพงประมาณ 100,000 บาทต่อลูกและต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลักซึ่งในแผนการสนับสนุนโปรดักส์แชมเปี้ยนจะรวมถึงการสนับสนุนให้มีการลงทุนตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในไทย ซึ่งจะต้องประสานกับความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์แนวหน้า วันที่ 5 ตุลาคม 2560

 

 

      นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ที่ประชุมรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานผลดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างอุปทาน (Supply) โดยกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขข้อผูกพันภายใต้ข้อตกลงเขตเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) สำหรับอัตราภาคีนำเข้าภายใต้พิกัด 8703.80 ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม การแก้ไขข้อผูกพันดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศภาคีจึงยังไม่สามารถระบุเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้โดยจะขึ้นอยู่กับผลการเจรจาระหว่างไทยกับจีน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า วันที่ 4 ตุลาคม 2560

 

       นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมเปิดเจรจากับจีนเพื่อขอทบทวนข้อตกลงการค้า (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-จีนในเรื่องของการปรับอัตราภาษีเหลือ 0% สำหรับสินค้านำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ซึ่งเป็น 1 ใน 703 รายการมีอัตราภาษีนำเข้า 0% เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เห็นว่าจะส่งผลกระทบทั้งในแง่การจัดเก็บภาษีและการดึงนักลงทุนเข้ามาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ  "ข้อตกลงเอฟทีเอไทย-จีนเกิดขึ้นระหว่างการเจรจาราวปี 2546-2547 ซึ่งขณะนั้นไทยยังไม่มีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า และปัจจุบันรัฐบาลมีแผนจะส่งเสริมให้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ในสัปดาห์หน้า นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ จะเป็นประธานประชุมหาทางแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม" นายกุลิศกล่าว และว่า หากการเจรจาไม่เป็นผล อัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจะอยู่ในระดับ 0% ทันทีนายกุลิศกล่าวว่า กรมกำลังประเมินผล กระทบของการปรับลดอัตราภาษีดังกล่าวต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมว่าจะมีจำนวนเท่าใด ขณะเดียวกันได้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บโดยนำระบบไอทีเข้ามาช่วยเพื่อลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ โดยปีงบประมาณ 2561 ถือเป็นอีกปีที่น่าจะมีหลายปัจจัยเข้ามากระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรม ทั้งเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายฉบับใหม่ของกรมสรรพสามิตที่ใช้ฐานราคาขายปลีกแนะนำมาคำนวณภาษี ซึ่งขณะนี้ยังติดขัดในเรื่องของการนำส่งข้อมูลราคาขายปลีกของสินค้านำเข้าต่างๆ มายังกรมศุลกากรประเมินอัตราภาษีนำเข้า คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน กว่าระบบจะเรียบร้อย ซึ่งอาจจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 3 ตุลาคม 2560