สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

             นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต ว่า ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์โลกจะมุ่งสู่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ได้แก่ รถไฟฟ้าไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง ในประเทศไทยมีการผลิตรถไฟฟ้าแล้ว 2 ประเภทคือ รถไฟฟ้าไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน ซึ่งภาครัฐได้กำหนดนโยบายและ มาตรการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยได้เปิดกว้างรับทุกเทคโนโลยี เพราะผู้ผลิตแต่ละรายจะมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป      “ผู้ประกอบการไทยทั้งผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมที่จะปรับตัวให้เติบโตหรืออยู่รอดให้ได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ามาถึง ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนจำเป็นต้องเร่งพัฒนาในทิศทางที่สอดคล้องกับผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อก้าวไปพร้อมๆ กัน หากเปลี่ยนผ่านไม่ทันอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และอาจส่งผลให้ธุรกิจค่อยๆ ล้มหายไป ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลล่าสุดของสถาบันยานยนต์ พบว่า มีผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประมาณ 1,600 ราย โดยเป็นกิจการของคนไทยจำนวน 850 ราย ซึ่งรถยนต์นั่ง 1 คัน จะประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก จำนวน 800-2,200 ชิ้น และในการพัฒนาจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่นั้น จะส่งผลกระทบกับผู้ผลิตชิ้นส่วน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ชิ้นส่วนที่จะหายไป ได้แก่ เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง หม้อน้ำ กลุ่มที่สอง ชิ้นส่วนที่จะมีอยู่ ได้แก่ ระบบเกียร์ ระบบเบรก ชิ้นส่วนที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และด้านความปลอดภัย ระบบปรับอากาศที่ใช้ไฟฟ้า และกลุ่มที่ 3 ชิ้นส่วนใหม่ ได้แก่ แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และกล่องควบคุม (ECU) หรือชิ้นส่วนที่มีการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ไทยรัฐ  วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561

 

       ภาวะการเติบโตชะลอตัวเป็นปีที่ 2 ในตลาดยานยนต์สหรัฐ บีบให้บรรดาผู้ผลิตรถของญี่ปุ่นต้องมองปัจจัยอื่นนอกเหนือจากส่วนลด เพื่อสร้างการเติบโตให้กับส่วนแบ่งตลาด และให้ความสำคัญกับการกระตุ้นความสามารถทำกำไรในตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของตน    บรรดาผู้ผลิตรถทั่วโลกกำลังต่อสู้แย่งชิงเพื่อเป็นเจ้าตลาด ขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก ในขณะที่ยอดขายรายปียังคงลดลง ต่อเนื่องจากที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17.55 ล้านคันในปี 2559 ผู้ผลิต หลายรายให้ไปพึ่งการลดราคา เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในเซ็กเมนท์ ที่มีการเติบโตอย่างรถเอสยูวีและรถกระบะ พร้อมกับพยายามรักษายอดขายในเซ็กเมนท์รถซีดานที่กำลังดิ้นรนอย่างหนัก ต้นทุนของการลดราคาในสหรัฐทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงาน ลดลง สำหรับผู้ผลิตรถญี่ปุ่นส่วนใหญ่ รวมถึง "โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป" และ "มาสด้า คอร์ป" ซึ่งมีแนวโน้มทำกำไรในอเมริกาเหนือลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่ผลกำไรของ "นิสสัน มอเตอร์ โค" ในภูมิภาคนี้ ก็มีแนวโน้ม ลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
 

 

               นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ได้ประมาณการการผลิตรถจักรยาน ยนต์ปี 61 อยู่ที่ 2.12 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 3.15% หรือ 64,807 คัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศจำนวน 1.75 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 3.74% การผลิตเพื่อการส่งออกจำนวน 370,000 คัน เพิ่มขึ้น 0.45% จากที่ผ่านมาได้ตั้งเป้าหมายการผลิตรถยนต์ปีนี้ 2 ล้านคัน เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งรัฐเองมีนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเฟส 2 ราคาพืชผลเกษตรดีขึ้น จะทำให้รถจักรยานยนต์และรถกระบะขายดี  สำหรับการผลิตรถยนต์เดือน ม.ค. 61 มีทั้งสิ้น 166,196 คัน เพิ่มขึ้น 9.15% ผลิตเพื่อส่งออก 98,152 คัน คิดเป็นสัดส่วน 59.06% ของยอดการผลิตทั้งหมด ขณะที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือน ม.ค.  ผลิตได้ 68,044 คัน คิดเป็นสัดส่วน 40.94% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้น 23% ส่วนรถจักรยานยนต์ เดือน ม.ค.  61 ผลิตได้ 231,451 คัน เพิ่มขึ้น 4.06% ยอดขายภายในประเทศ 66,513 คัน เพิ่มขึ้น 16.2% ส่งออก 84,003 คัน ลดลง 1.91%
ที่มา: หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์  วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561