สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

             ไม่หวั่นค่ายใหญ่ล็อกสเปก มาสด้า ซูซูกิ จ้องถกบีโอไอหลังยื่นแพ็กเกจลงทุน แต่ยังไม่สรุปเรื่องเทคโนโลยีว่าจะเป็น "ฟูลไฮบริด" หรือ "ไมลด์ ไฮบริด" หวังอัตราภาษีสรรพสามิต 4% เท่าเทียมกัน ด้านเมอร์เซเดส-เบนซ์ เล็งระบบ 48 โวลต์ หลังตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ในไทย หลังจาก"โตโยต้า" ชิงธงนำลงทุนโครงการไฮบริดมูลค่า 2 หมื่นล้านบาทในไทย และมีแผนนำเทคโนโลยีลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าใส่ในรถยนต์ที่ตนเองทำตลาดทุกรุ่นหลัก  โตโยต้าจริงจังกับการพัฒนาและทำตลาดรถยนต์ไฮบริดมากว่า 20 ปี หรือคิดเป็นยอดขายสะสมทั่วโลกจากรถ 34 โมเดลกว่า 10 ล้านคัน สำหรับเมืองไทยมี คัมรี่ พริอุส (ยุติการทำตลาดแล้ว) และล่าสุดกับ ซี-เอชอาร์ ที่เพิ่งเริ่มทยอยส่งมอบรถตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป
ที่มา: หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ   วันที่ 22 มีนาคม 2561

 

     นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รักษาการรองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านผลิตได้ ทั้งสิ้น 178,237 คัน เพิ่มขึ้นจาก 15.37% จากการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกและเพื่อจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้นทุกประเภท และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 7.25% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง ผลิตได้ 72,411 คัน เพิ่มขึ้น12.52% รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ผลิตได้ 28 คัน เพิ่มขึ้น 366.67%    รถยนต์บรรทุก ผลิตได้ทั้งหมด 105,798 คัน เพิ่มขึ้น 17.38%รถกระบะขนาด 1 ตัน ผลิตได้ทั้งหมด 103,197 คัน เพิ่มขึ้น 17.49%          รถยนต์บรรทุก ผลิตได้ทั้งหมด 105,798 คัน เพิ่มขึ้น 17.38%
ที่มา : หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 21  มีนาคม 2561
 

 

           ความเสียหายใหญ่หลวงต่อค่ายรถเอเชีย และยุโรปจากแผนขึ้นภาษีนำเข้าเหล็ก และอะลูมิเนียมใหม่  เว็บไซต์นิคเกอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า นโยบายอเมริกาต้องมาก่อนของรัฐบาล สหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์กลายเป็นดาบสองคม หลัง ทำให้ผู้ผลิตรถอย่าง "โตโยต้า มอเตอร์" ของญี่ปุ่น "ฮุนได มอเตอร์" ของเกาหลีใต้ "บีเอ็มดับเบิลยู" ของเยอรมนี และ "วอลโว่" แบรนด์รถสวีเดนในเครือบริษัทจีลี่ ออโตโมบิล โฮลดิ้งส์ของจีน พากันขยาย การผลิตในสหรัฐในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา          บริษัทวิจัยไอเอชเอส มาร์คิต คาดการณ์ว่า กำลังการผลิตในสหรัฐของผู้ผลิตรถต่างชาติจะแตะที่ 6.9 ล้านคันภายใน ปี 2565 ใกล้เคียงกับกำลังการผลิตของค่ายรถสหรัฐซึ่งจะอยู่ที่ 7.5 ล้านคัน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนนายทรัมป์เข้าบริหาร ประเทศในปี 2559 กำลังการผลิตรถ จะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคัน แม้ว่ายอดขายรถ คันใหม่ในสหรัฐอยู่ในช่วงชะลอตัว     อย่างไรก็ตาม แผนล่าสุดของ นายทรัมป์ที่จะจำกัดการนำเข้าเหล็ก และอะลูมิเนียม อาจสร้างความเสียหาย มหาศาล อย่างโตโยต้าใช้เหล็กและ อะลูมิเนียมในสหรัฐกว่า 90% ของวัตถุดิบ ทั้งหมด แต่ก็ยังต้องนำเข้าวัตถุดิบบางส่วน จากนอกสหรัฐ     มาตรการภาษีนำเข้าใหม่อาจจะทำให้ วัตถุดิบนำเข้าเหล่านี้มีราคาแพงขึ้น และหนุนราคารถที่จำหน่ายในสหรัฐ พุ่งพรวดหลังรัฐบาลประกาศมาตรการนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหน่วยธุรกิจในสหรัฐ ของโตโยต้า เผยว่า แผนเก็บภาษีนำเข้า ดังกล่าวจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อ อุตสาหกรรมยานยนต์และผู้บริโภค
ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 20 มีนาคม 2561