นางปวีณา นันทิกุลวาณิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนมกราคม 2562 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 78,061 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 30,221 คัน เพิ่มขึ้น 17.4% รถยนต์เพื่อการพานิชย์ 47,840 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ มีจำนวน 39,674 คัน เพิ่มขึ้น 21% “ตลดรถยนต์เดือนมกราคม 2562 มีปริมาณการขาย 78,061 คัน เพิ่มขึ้น 17.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และความต่อเนื่องของกิจกรรมส่งเสริมการขายประกอบกับยังมีการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่จองไว้ในงาน Motor Expo ซึ่งจัดขึ้นในเดือนธันวาคมของปีที่ผ่านมา รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการเมืองในประเทศมีสัญญาณดีขึ้นจากการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ปัจจัยทั้งงหมดนี้ล้วนส่งผลบวกให้กับตลาดรถยนต์ในเดือนมกราคม สำหรับตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการบริโภคของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศ รวมถึงการยริโภคของภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ แนวหน้า ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2562
ชี้ส่วนใหญ่หนีภาษีฟอกเงิน-แถมรับลูกครม.แก้ฝุ่น พาณิชย์เดินหน้าแก้กฎหมายนำเข้ารถยนต์มือสองส่วนบุคคล ชี้ส่วนใหญ่เป็นรถหรู รถหนีภาษีและผิดกฎหมาย มักเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ยาเสพติด มักมีการสวมสิทธิ์ใช้ชื่อผู้อื่น นำเข้าแทน เตรียมเสนอครม.พิจารณา แถมแก้ปัญญามลพิษจากรถยนต์เก่าด้วย นางสาวชุติมา บุญยประภัศร รมช.พานิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพานิชย์(พณ.)อยู่ระหว่างปรับปรุงประกาศระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้ว(รถยนต์มือสอง) ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา เพื่อป้องกันปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน แก้ไขปัญหาการหลบเลี่ยงมาตรการคววบคุมเพื่อมาจำหน่ายในประเทศ รวมถึงการสวมสิทธิ์ใช้ชื่อผู้อื่นนำเข้าแทน การปลอมแปลงเอกสาร และสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง “รถยนต์มือสองอยู่ภายใต้การควบคุมนำข้าของกระทรวงพานิชน์ตั้งแต่พ.ศ.2496 จำนวน 9 ประเภท เบื้องต้นจะห้ามนำเข้ารถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อใช้เฉพาะตัว โดยส่วนใหญ่เป็นรถหรู ส่วนรถยนต์มือสองนำเข้าประเภทอื่นๆ ก็จะโอนหน้าที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณานำเข้า” สำหรับรถยนต์ที่ใช้แล้วเป็นสินค้าควบคุมการเข้า ครอบคลุมรถยนต์ที่ใช้แล้ว 9 ประเภท ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 87.01,87.02,87.03,87.04 และ 87.05 ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร อาทิ รถยนต์นั่งที่ใช้แล้วเพื่อใช้เฉพาะตัว รถลักษณะพิเศษที่ใช้แล้วเพื่อใช้ในกิจกรรมของตน รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อใช้ในกิจการของตน รถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดที่ได้รับการยกเว้นหรือชดเชยภาษี นอกจากนี้ยังมีรถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดโดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การสาธารณกุศล รถยนต์ที่ใช้แล้วทุกชนิดเป็นการชั่วคราว รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อเป็นต้นแบบผลิตหรือศึกษาวิจัยรถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อปรับสภาพแล้วส่งออก รถยนต์ที่ใช้แล้วเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2562
ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles : EV) เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนมาตั้งแต่ปี 2560 โดยได้วางแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านพลังงานเพื่อส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในระหว่างปี 2557-2562 การที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่เพราะนี่คือส่วนหนี่งของการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดย ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ นักวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฮิบายว่ายานยน๕ชต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฟฟ้ามีอัตราเร่งในการออกตัวสูงไม่ต้องทดเกียร์ไม่มีเสียงดังของเครื่องยนต์นอกจากนี้ยังประหยัดค่าซ้อมบำรุงและค่าเชื้อเพลิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างฝุนละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ยานยนต์ไฟฟ้ามีข้อด้อยที่นักขับไม่ค่อยปลื้มคือราคาที่ค่อนข้างสูงและการชาร์จพลังงาน 1 ครั้ง (ประมาณ 4 ชั่วโมง) จะวิ่งได้ประมาณ 400 กิโลเมตร ทำให้ไม่เหมาะแก่การใช้เดินทางไกล เพราะฉะนั้นต่อให้มีข้อดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายๆประเทศ อาทิ นอร์เวย์ เยอรมนี ญี่ปุ่น อเมริกาและจีน เริ่มนำมาใช้จริง แต่ความคุ้มค่าคุ้มราคาสำหรับคนไทย อาจจะต้องใช้เวลาในการวัดผลสักนิด สกว. จึงได้ทำงานวิจัยโครงหารประเมินมาตรการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าต่อการยอมรับของผู้บริโภคและประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาดูว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้รถตัดสินใจมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนยานยนต์ประเภทที่ใช้เชื้อเพลิง (เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal combustion engine : ICE )) ผลการวิจัยพบว่าสิ่งที่ต้องทำให้เกิดความชมัดเจนคือตัวชี้วัดเพื่อนเปรียเทียบให้เห็นชัดเจนทั้ง ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (Total cost Ownership : TCO) ต่อยานยนต์ 1 คันไม่ว่าจะเป็นราคารถมือหนึ่งและมือสอง รวมไปถึงค่าเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จะตามมา เช่น ดอกเบี้ยประกันและภาษี ซึ่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนที่ผู้ใช้ยานยนต์ต้องจ่ายหรือ ต้นทุนเอกชนแล้ว EV ยังมีความโดดเด่นจูงใจไม่มามกพอที่จะทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนมาซื้อ EV โดยเฉพาะเมื่อยานยนต์ในเซ็กเมนต์เดียวกันยานยนต์ประเภทสันดาปภายในมีราคาที่ถูกกว่าในขณะที่ ต้นทุนทางสังคม โดนเฉพาะต้นทุนที่เกิดจากมลพิษทางอากาศการใช้ EV ไม่ก่อให้เกิดต้นทุนนี้เลยและมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า
ที่มา : หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562