ครม.เคาะปัญหาฝุ่น 3 ระยะ เผย 11 หน่วยงานเกาะติดแก้ปัญหา ชงขึ้นภาษีรถยนต์เก่า ห้ามนำเข้าเครื่องยนต์เก่าจากต่างประเทศ ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า หนุนแผนผลิตน้ำมันยูโร 5 นายกฯเผย 600 โรงงานหยุดปรับปรุง รับมือฝุ่นอีกระลอกวันนี้ “ปตท.-บางจาก” นำร่องลดดีเซลพรีเมียม 1 บาท สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆนำมาสู่การออกมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 11 หน่วยงานเพื่อแก้ปัญหาตั้งแต่ระยะสั้นถึงระยะยาว รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลระบุว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีแนวโน้มสูงขึ้นและเกินมาตรฐานหลายพื้นที่ โดยมีแนวทางการปฎิบัติ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมการ(ช่วงดก่อนเกิดสถานการณ์ : ก.ย. – พ.ย. ) เพื่อพร้อมรับมือเมื่อฝุ่นละอองสูงขึ้น ขั้นปฎิบัติการ (ช่วงเกิดสถานการณ์ : ธ.ค. – เม.ย.) ซึ่งได้ปรับปรุงแผนปฎิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและจังหวัดต่างๆ โดยยกระดับความเข่มข้นของมาตรการตามความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง รวมถึงปรับเปลี่ยนใช้น้ำมัน B20 ในรถโดยสารดีเซล และเร่งผลิตน้ำมันดีเซลเทียบเท่ามตรฐานยูโร 5 (กำมะถัน ไม่เกิน 10 พีพีเอ็ม) มาจำหน่ายในพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงงดกิจกรรมที่ส่งผลทำให้เกิดฝุ่นละออง ห้ามเผาในที่โล่งแจ้ง ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด ห้ามรถยนต์ที่มีมลพิษสูงสัญจรในกรุงเทพฯชั้นกลางและชั้นนอก
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562
“บ้านปู” ลุยธุรกิจผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ทุ่ม 635 ล้าน เข้าถือหุ้น 21.5% ใน “ฟอมม์ คอร์ปอเรชั่น” หวังขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดต่อยอดธุรกิจแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ถาคเอกชน เริ่มขยายธุรกิจแตกไลน์ลุยตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นโดยก่อนหน้านี้ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC เปิดตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าอีวีสกูดเตอร์ ช่วยลดมลพิษ ล่าสุด บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ส่งบริษัทย่อยซื้อหุ้นในบริษัท ฟอมม์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ออกแบบและผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก (Compact EV) จากประเทศญี่ปุ่นมูลค่าลงทุน 20 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 635 ล้านบาท นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ได้กล่าวว่า บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด (BPIN) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ได้ลงนามสัญญาเพื่อเข้าซื้อหุ้นจำนวน 21.5% ในฟอมม์ คอร์ปอเรชั่น การลงทุนครั้งนี้เป็นการขยายการลงทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดที่ทันสมัยในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ซึ่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอีกหนึ่งโซลูชั่นที่บริษัทได้ศึกษา และเชื่อว่าเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตได้ดีถือเป็นการต่อยอดธุรกิจจากการลงทุนในบริษัทผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และเป็นการต่อยอดความพร้อมในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต นอกจากการลงทุนดังกล่าวแล้วหน่วยงาน BANPU Innovation & Ventures หรือ BIV ซึ่งกลุ่มบ้านปูได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อรองรับรูปแบบการใช้พลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดดยได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างกันในการถ่ายทอดวิทยาการ ความรู้ต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาและการลงทุนในธุรกิจ โรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power plants) , การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Micro-grids), รถยนต์ไฟฟ้า (EV), สถานีชาร์จรถไฟฟ้า และแบตเตอรี่ ซึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว ยานพาหนะไฟฟ้าภายใต้การพัฒนาของ FOMM ได้มีการใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไออน ที่พัฒาและผลิตโดยบริษัท Durapower Technology (Singapore) Pte.Ltd. ซึ่งบ้านปูเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น 47.68%
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562
รถยนต์มายด์ไฮบริด (Mild Hybrid) เล็งปลดเงื่อนไขภาษีสรรพสามิต ไม่จำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 60 โวลต์ ส่งผลอัตราภาษีเท่ากับรถยนต์ไฮบริดที่อัตรา 4% แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่ากระทรวงการคลังเตรียมเสนอปลดล็อคเงื่อนไขภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ประเภท มายด์ไฮบริด ที่อาจไม่จำเป็นต้องผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 60 โวลต์อีกต่อไป การปลดล็อคในครั้งนี้ เนื่องจากจะสามารถได้รับอัตราภาษีสรรพสามิตเท่ากับรถยนต์ไฮบริด คืออัตรา 4% ทั้งนี้ ฟลูไฮบริด จะสร้างกระแสไฟฟ้าเกิน 60 โวลต์และสามารถขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยไฟฟ้าได้ การเสนอประเภทรถยนต์ใหม่เป็นมายด์ไฮบริด ดังกล่าว เนื่องจากบางค่ายรถยนต์ ยังมองเห็นว่า รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ยังไม่สามารถทำตลาดได้ในประเทศไทย เนื่องจากยังมีราคาแพงกว่ารถยนต์ที่สันดาปภายในเครื่องยนต์ โดยเฉพาะตัวแบตเตอรี่ที่เก็บกระแสไฟฟ้าราคาเป็นหลักแสนบาท รวมทั้งการชาร์ตไฟต่อครั้งใช้เวลานาน 8 ชั่วโมงจึงเต็ม แต่วิ่งได้เพียง 160 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ราคาขายต่อจะตกลงมากกว่ารถที่ใช้น้ำมัน ดังนั้นการทำรถประเภท มายด์ไฮบริด น่าจะเป็นทางเลือกในระหว่างประเทศยังไม่มีความพร้อมที่จะไปสู่รถยนยต์ประเภท EV อย่างเต็มตัว ซึ่งปัจจุบันสถานีเติมไฟฟ้าก็ยังมีไม่แพร่หลาย อย่างไรก็ตามหากอนุมัติให้มีมายด์ไฮบริด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของโครงสร้างภาษีสรรพสามิต โดยให้อัตราภาษีเท่ากับรถยนต์ประเภท ฟลู ไฮบริด คือที่อัตรา 4% อาจทำให้การพัฒนสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ของประเทศไทยสะดุดเนื่องจาก ยังเป็นการส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้ระบบสันดาปภายใน ด้วยอัตราภาษีที่ต่ำเท่ากับรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนด้วย EV ไม่สามารถมุ่งสู่ทิศทางที่เป็นแนวโน้มของโลกที่มุ่งสู่รถยนต์ EV ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้สาเหตุที่ค่ายรถยนต์บางค่ายเสนอให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีบีโอไอและกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเพิ่มประเภทรถยนต์มายด์ไฮบริด นั้นนอกจากปัญหาด้านการตลาดดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเรื่องการลงทุนที่สูงกว่าซึ่งค่ายรถยนตยังไม่ต้องลงทุน ซึ่งค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในแระเทศไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการสนับสนุน และได้เสนอความเห็นมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว
ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562