สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

                สแกนเนีย เสริมความแข็งเกร่งตลาดไทย-เอเชีย ผุดโรงงานประกอบรถบรรทุกในประเทศไทย มูลค่า 800 ล้านบาท ระบุเป็นการลงทุนใหญ่สุดนอกยุโรป-ละติน อเมริกา พร้อมเปิดตัวรถยูโร 6 ชูจุดขายประหยัด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายกุสต๊าฟ ชันเดล กรรมการผู้จัดการ สแกนเนีย กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า สแกนเนียเปิดโรงงานใหม่ในประเทศไทย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทั้งตลาดในประเทศเอเซีย โดยโรงงานใหม่ตั้งอยู่ในเขตการค้าเสรีกรุงเทพ รองรับการประกอบรถบรรทุก และแชสซีส์รถโดยสารรวมไปถึงสามารถทำการผลิตรถเก๋ง รถบรรทุกใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท เป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในสายงานการผลิตของสแกนเนียที่ดำเนินกิจการนอกทวีปยุโรปและละตินอเมริกา “การจัดตั้งโรงงานใหม่นี้เป็นความร่วมมือจากซับพลายเออร์ในประเทศสแกนเนีย สามารถสร้างรถบรรทุกและรถโดยสาร ได้ตามมาตรฐานระดับโลกโดยฝีมือคนไทย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับการเติบโตของเรา ในเขตการค้าเสรีอาเซียนเพราะการมีถิ่นฐานในภูมิภาคนี้ทำให้สามรถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ำด้อย่างรวดเร็ว และทำให้แน่ใจว่าเราจัดหาโซลูชั่นการขนส่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า นอกจากนี้สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในไทยยังสามารถสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจให้กับตัวแทนจำหน่ายของสแกนเนียในเอเชียและโอเชียเนีย นายซันเดล กล่าวว่านอกจากนี้ สแกนเนียยังเปิดตัวรถบรรทุกขนาดใหญ่ มาตรฐานยูโร 6 รุ่นแรกของไทย ซึ่งสามารถช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้มาก และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพอากาศโดยรถรุ่นนี้ได้เข้าสู่ตลาดยุโรปตั้งแต่เดือน ส.ค. 2559 และได้รับการายอมรับจากสื่อมวลชน ยืนยันผลการทดสอบคุณภาพ ด้วยรางวัลรถบรรทุกยอดเยี่ยนานาชาติแห่งปี รถบรรทุกรุ่นใหม่ที่ไม่ได้เป็นเพียงยานพาหนะ หากยังเป็นเหมือนเครื่องมือพิเศษในรูปแบบของโซลูชั่นสินค้าและบริการที่ยังยืนอย่างครบวงจร โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ลูกค้าของเรามีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืนในธุรกิจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562

               เตรียมทะยานขึ้นแท่นผู้นำธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ นายสัณหาวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท มาสเตอร์ กรุ๊ป คอณืเปอร์เรชั่น (เอเชีย) จำกัด หรือ “กลุ่มเอ็มจีซี – เอเชีย” หนึ่งในกลุ่มทุนยานยนต์ลายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยว่าในปีนี้กลุ่มเอ็มจีซี-เอเชียเดินหน้าเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ดิจิทัล 5.0 และขยายเครือข่ายด้านการบริการ โดยยึดหลักการ “ลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ” ตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ปี 2020 (พ.ศ. 2563) หรือ VISION 2020 เพื่อมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ พร้อมบริการครบวงจรในประเทศไทยและอาเซียน “โดยในช่วงเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา หลายธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบจาก Digital Disruption (สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เดิกจาดเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจขึ้นมาใหม่) ทางกลุ่มเอ็มจีซี-เอเชียตระหนัดและมองว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่องค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเดินหน้าเตรียมความพร้อมให้กลับทุกหน่วยธุรกิขในเครือเพื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัล 5.0 อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีการนำระบบมารเก็ตติ้งออโตเมชั่น มาใช้ฐานลูกค้าของเรากว่า 500,000 ราย รวมถึงลูกค้าผู้มุ่งหวังกว่า 700,000 ราย เพื่อวเคราะห์และยกระดับการสื่อสาร พร้อมสร้างประสบการณ์กับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อสร้างบริการแบบใหม่ที่ง่ายและสะดวก

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562

                  ฮอนด้าปิดโรงงานในเมืองสวินดอน ปรปะเทศอังกฤษตามแผนการปรับโครงสร้างทั่วโลกส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงาน 3,500 คน ขณะซีอีโอยืนยันไม่เกี่ยวกับกรณีเบร็กซิท นายทากาฮิโร ฮาชิโกะ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ยืนยันเมื่อวานนี้ ( 19 ก.พ. ) ว่า บริษัทจะปิดโรงงานผลิตรถยนต์ในเมืองสวินดอนในสหราชอาณาจักรในปี 2564 ซึ่งจะส่งผลให้มีการปลดพนักงาน 3,500 ตำแหน่ง นายทากาฮิโระ ระบุว่า การตัดสินใจปิดโรงงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างทั่วโลก และระบุด้วยว่า ฮอนด้าจะยังคงมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหราขอาณาจักรต่อไป ซึ่งถ้อยแถลงของนายทากาฮิโร สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่อีกคนของฮอนด้า ที่เปิดผยกับสำนักข่าวบีบีซี เรดิโอในวันเดียวกันว่า การปิดโรงงานไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิท)  ด้านเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอังกฤษแสดงความผิดหวังเกี่ยวกับการตัดสินใจของฮอนด้าที่จะปิดโรงงานเพียงแห่งเดียวในสหราขอาณาจักร ขณะที่ผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไลบ์นิช และมหาวิทยาลัย มาร์ติน ลูเธอร์ ฮอล วิทเทนเบิร์ก ระบุว่า การแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (เบร็กซิท) โดยไม่มีการทำข้อตกลงจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานจำนวนมากกว่า 100,000 ตำแหน่งในเยอรมนี

ที่มา : หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562