สมัครสมาชิกวันนี้

  • Silver
  • สมาชิกระดับ Silver
  • ฟรี
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานได้
  • ข้อมูลผู้ประกอบการต่างประเทศ
  • ข้อมูลสถิติในประเทศและต่างประเทศ
  • มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ
  • กฎ ระเบียบ นโยบายในประเทศ
  • เทคโนโลยี และงานวิจัย
  • สมัครสมาชิก

            BMW and Mercedes-Benz maker Daimler face a double whammy of trade risks in an intensifying spat between the European Union and the U.S. Both carmakers ship significant numbers of vehicles from the E.U., and also export from U.S. plants. U.S. president Donald Trump renewed threats to impose tariffs on auto imports, hitting out at the bloc’s standard 10 percent import tariff on cars  higher than a 2.5 percent American duty on auto imports and 25 percent on sport utility vehicles. With Trump extending tariffs on steel and aluminum imports to include the EU on June 1, and a heated meeting of G7 leaders in Canada over the weekend, Germany said Monday that retaliatory action on U.S. products could be ready by July 1. As a result, German carmakers have to worry not only about the potential for higher costs when they ship cars to the U.S., but also any retaliatory measures that affect the cars they produce in North America and send to the EU.
ที่มา:www.autonew.com  วันที่  11 มิถุนายน 2561

 

         น.ส.บงกช อนุโรจน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมและสัมมนาอุตสาหกรรมอากาศยานและการซ่อมบำรุง และการจับคู่ธุรกิจ ว่า มีบริษัทชั้นนำทั้งในและจากต่างประเทศ อาทิ โบอิ้ง แอร์บัสกรุ๊ป โรลส์รอยซ์ ไทร อัมพ์กรุ๊ป และซีเนียร์ แอโรสเปซ เข้าร่วมพบปะและเจรจากับบริษัทรับช่วงการผลิตของไทย จำนวน 145 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้คัดเลือกมาจากบริษัทที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสูงในการก้าวเข้ามาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในอนาคต อาทิ บริษัทไทยรุ่ง ยูเนียนคาร์ บริษัท แม่น้ำ แสตนเลส บริษัท โชคนำชัย ไฮเทค บริษัท สมบูรณ์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี และบริษัท ศรีไทย ออโตซีท น.ส.บงกชกล่าวว่า การรับช่วงผลิตชิ้นส่วนอากาศยานมีเงื่อนไขและมาตรฐานสูงมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดการซื้อขายชิ้นส่วนของผู้ผลิตกับผู้ซื้อรายใหญ่ โดยปัจจุบันมีผู้ผลิตไทยที่พัฒนาศักยภาพ จนสามารถเดินหน้าไปสู่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานเพื่อรองรับความต้องการของตลาดบ้างแล้ว อาทิ บริษัท ซีซีเอส แอดวานซ์ ผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างเครื่องบินและชิ้นส่วนใบพัดเครื่องยนต์ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่หนุนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยได้มีโอกาสแสดงความพร้อม และศักยภาพการก้าวไปสู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานได้เพิ่มขึ้น

 
ที่มา : หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 8  มิถุนายน 2561

 

           อุตสาหกรรมคาด ปีนี้ค่ายรถยื่นลงทุนปลั๊กอินไฮบริดหลายราย สศอ.ประเมินค่ายรถพร้อมลงทุนผลิต ความต้องการรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2561-2563 มีแนวโน้มขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับคาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดในช่วงหาเสียงเลือกตั้งในปี 2562 อย่างไรก็ดี ภาวะที่รายได้ภาคเกษตรยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง อาจกดดันให้ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศเติบโตอย่างจำกัด และผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์บางรายที่ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์อาจยังมีความเสี่ยงจากภาวะหนี้เสียของกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อย  การส่งออกรถจักรยานยนต์ในปี 2561 คาดว่าทรงตัวจากการเปรียบเทียบกับฐานสูงในปี 2560 จากกรณีที่สหรัฐฯ มีการเร่งนำเข้ามากจากความกังวลในด้านนโยบายกีดกันทางการค้าและการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ส่วนในปี 2562-2563 คาดว่าการส่งออกจะเติบโตเร่งขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก คือ ยุโรป และสหรัฐฯ และคาดว่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ (BigBike) จะขยายตัวดีหลังมีการขยายกำลังการผลิตในไทย
ที่มา : หนังสือพิม ท้องถิ่น  วันที่ 8  มิถุนายน 2561